จากเหตุการณ์เที่ยวบินของสายการบินของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ส ที่ออกเดินทางจากลอนดอนไปสิงคโปร์ เผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรงและต้องลงจอดฉุกเฉินที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชายผู้หนึ่งหนึ่งเสียชีวิตด้วยสาเหตุที่คาดว่ามาจากโรคหัวใจ และยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคน
เราสำรวจรายชื่อเส้นทางการบินและสนามบินที่คุณมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับสภาวะความแปรปรวนอากาศมากที่สุด
เส้นทางการมีที่มีความแปรปรวนอากาศมากที่สุด
จากข้อมูลของการตรวจจับความแปรปรวนอากาศในอากาศปี 2023 พบว่า เส้นทางการบินระหว่างเมืองซานติอาโกในในชิลีและซานตาครูซในโบลิเวียมีสภาพอากาศแปรปรวนโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก
เครื่องมือการตรวจจับระดับความแปรปรวนอากาศดังกล่าวมีชื่อว่า Turbli ซึ่งใช้เก็บฐานข้อมูลของสภาวะความแปรปรวนอากาศ
เครื่องมือพยากรณ์นี้สร้างขึ้นโดยอ้างอิงจากการพยากรณ์อากาศในแต่ละวันของสำนักงานพยากรณ์อากาศแห่งสหราชอาณาจักร (UK Met Office) และสำนักงานมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (US' National Oceanic and Atmospheric Agency)
มีการวิเคราะห์และจัดอันดับเส้นทางบินประมาณ 150,000 เส้นทางโดยใช้อัตราการกระจายของลมหมุนวน (EDR) ซึ่งเป็นการวัดความรุนแรงของสภาวะการตกหลุมอากาศ
โดยที่ EDR 0-20 ถือเป็นความแปรปรวนอากาศเพียงเล็กน้อย 20-40 คือภาวะปานกลาง 40 -80 หมายถึง ความแปรปรวนอากาศรุนแรง และ 80-100 คือระดับรุนแรงมาก
ซึ่งในปีที่แล้วเส้นทางระหว่างการบินระหว่างเมืองซันติอาโกและเมืองซานตาครูซมีค่า EDR เฉลี่ยอยู่ที่ 17.568
Source: SBS
เส้นทางเข้าและออกจากนครบริสเบนอีกสามเส้นทางก็ติดอยู่ใน 10 อันดับแรก เช่นเดียวกับเส้นทางการบินจากนครเมลเบิร์นไปยังนครซิดนีย์
Source: SBS
สนามบินที่เผชิญกับความแปรปรวนอากาศอากาศบ่อยที่สุด
มีการสำรวจจากสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก 500 แห่ง พบว่าสนามบินเมืองซานติอาโกเป็นสนามบินที่เผชิญกับความแปรปรวนอากาศบ่อยที่สุด
จากข้อมูลของ Turbli พบว่าเที่ยวบินเข้าและออกจากเมืองหลวงของชิลี ในปีที่แล้ว มีค่า EDR เฉลี่ยอยู่ที่ 17.137
ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนสนามบินที่มีรายชื่อติดในการสำรวจครั้งนี้มากที่สุดใน 10 อันดับแรก โดยมีสนามบิน 5 แห่งอยู่ในกลุ่มที่เผชิญความแปรปรวนอากาศบ่อยที่สุดด้วย
Source: SBS
สนามบินแห่งเดียวในออสเตรเลียที่ไม่อยู่ใน 10 อันดับแรกคือสนามบินนครโฮบาร์ตและสนามบินกรุงแคนเบอร์รา
Source: SBS
ความแปรปรวนอากาศในอากาศเกิดจากอะไร
รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ศาสตราจารย์ท็อดด์ เลน อธิบายว่า ความแปรปรวนอากาศ มักเกิดจากสาเหตุของระบบสภาพอากาศ 3 ประการหลักๆ คือ
ประการแรกคือพายุฝนฟ้าคะนอง
“พายุฝนฟ้าคะนองทำให้เกิดสภาวะปั่นป่วนทั้งภายในบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองและสามารถมีความแปรปรวนอากาศแม้ว่าอากาศแจ่มใสที่อยู่โดยรอบบริเวณที่พายุฝนฟ้าคะนอง”
อีกประการหนึ่งคือกระแสลมเหนือภูเขา
“เทือกเขาขนาดใหญ่จะก่อให้เกิดการรบกวนการไหลของอากาศอย่างมีนัยสำคัญ และนั่นอาจทำให้เกิดความแปรปรวนอากาศเหนือภูเขาได้”
“เทือกเขา เช่น เทือกเขาแอลป์ตอนใต้ของนิวซีแลนด์ เทือกเขาร็อกกี้ในสหรัฐอเมริกา และเทือกเขาหิมาลัย จะก่อให้เกิดความแปรปรวนอากาศบ่อยที่อาจส่งผลกระทบต่อเครื่องบิน”
ประการสุดท้ายคือกระแสลมความเร็วสูง (jet stream)
“กระแสลมความเร็วสูงเป็นบริเวณที่มีลมแรงมากในชั้นบรรยากาศชั้นบน ซึ่งเกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณเดียวกับที่เครื่องบินบิน”
"เมื่อคุณเจอกับกระแสลมความเร็วสูง ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงความเร็วและหรือทิศทางของลมในระยะสั้นๆ(ฉับพลัน)”
หากมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วและหรือทิศทางของลมที่รุนแรง มันก็สามารถสร้างความแปรปรวนอากาศได้มากรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ศาสตราจารย์ท็อดด์ เลน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลต่อความถี่และความรุนแรงของความแปรปรวนอากาศหรือไม่?
ศาสตราจารย์เลน กล่าวว่าการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในขณะที่สภาพอากาศยังคงเปลี่ยนแปลง กระแสน้ำจะแรงขึ้น ซึ่งหมายความว่าความแปรปรวนอากาศรุนแรงจะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น แต่อาจจะไม่ใช่ทุกที่
“การเพิ่มระดับความรุนแรงของกระแสลมความเร็วสูง เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเฉพาะในภูมิภาคที่มีกระแสลมความเร็วสูง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในละติจูดกลาง นอกเขตอากาศร้อนชื้น”
“มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับเที่ยวบินจากอเมริกาเหนือไปยังยุโรปในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับกระแสลมความเร็วสูง และผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับความแปรปรวนอากาศอากาศมีแนวโน้มที่จะเกิดสูงขึ้นในเส้นทางบินเหล่านั้น
ในขณะที่มีการวิจัยไม่มากนักที่ศึกษาเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลต่อความแปรปรวนอากาศที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนองมากขึ้นอย่างไร แต่จากการศึกษาเหล่านั้นพบว่ามีข้อสรุปบางประการ ศาสตราจารย์เลน ชี้ว่า
“สิ่งที่เรารู้คือในโลกที่ร้อนขึ้น ซึ่งบรรยากาศสามารถกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่พายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงจะเกิดมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่พายุเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความแปรปรวนอากาศที่รุนแรงมากขึ้นในอนาคต”
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่