เลือกตั้งออสฯ 2019: พรรคหลักๆ มีจุดยืนเรื่องการรับชาวต่างชาติอย่างไรบ้าง

NEWS: การร้องเรียนเรื่องความแออัดในตัวเมืองทำให้จำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นในเมืองใหญ่ๆ ของออสเตรเลียนั้นตกเป็นที่สนใจ แล้วพรรคใดจะมีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องการตรวจคนเข้าเมือง?

Image of an Asian family with luggage on an airport trolly

การร้องเรียนเรื่องความแออัดในตัวเมืองทำให้เกิดความสนอกสนใจต่อการเพิ่มจำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .
การร้องเรียนเรื่องความแออัดในตัวเมืองทำให้จำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นในเมืองใหญ่ๆ ของออสเตรเลียนั้นตกเป็นที่สนใจ แล้วพรรคใดจะมีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องการตรวจคนเข้าเมือง?
Graphic
Source: SBS News
เมื่อเดือนที่แล้ว พรรคร่วมเตรียมพร้อมต่อสู่การเลือกตั้งด้วยนโยบายการปกป้องพรมแดน โดยเตือนถึงการทะลักเข้ามาของผู้ขอลี้ภัย

รัฐมนตรีหลายคนแนะว่า “พวกใคร่เด็กและอาชญากร” จะเดินทางกันมาจากเกาะมานัสและนาอูรูสู่ออสเตรเลียหากพรรคแรงงานและ สส. อิสระรวมตัวกันเพื่อผ่านกฎหมายเพื่อให้อานาจเพิ่มแก่แพทย์ในเรื่องการส่งตัวเข้าประเทศเนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์

แต่กลยุทธ์ดังกล่าวก็ถูกทอดทิ้งไป เมื่อเกิดเหตุการณ์ยิงกราดที่มัสยิดในนครไครสต์เชิร์ช
Prime Minister Scott Morrison poses for photographs on Christmas Island.
Prime Minister Scott Morrison toured the reopened Christmas Island in March. It will now be closed by July. Source: AAP
หลังจากที่เปิดใช้ศูนย์กักกันบนเกาะคริสต์มาสอีกครั้งเมื่อเดือนมีนาคม โดยนายกรัฐมนตรีนั้นได้ไปเยี่ยมเยือนด้วยตนเอง ขณะนี้รัฐบาลก็วางแผนที่จะปิดศูนย์ดังกล่าวภายในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นไปได้อย่างมากว่าจะไม่มีผู้ขอลี้ภัยแม้แต่หนึ่งรายที่จะมาเหยียบเกาะแห่งดังกล่าว

ทว่าการดำเนินการนี้จะมีค่าใช้จ่าย $185 ล้านดอลลาร์จนถึงสิ้นปีนี้

แทบจะไม่มีการกล่าวถึงเรื่องความมั่นคงของพรมแดนเลยตั้งแต่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้เริ่มต้นขึ้น และนั่นก็เป็นประโยชน์ต่อพรรคแรงงานด้วยเช่นเดียวกัน

เมื่อปีที่แล้วการโต้เถียงภายในเกี่ยวกันเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ขอลี้ภัยนั้นคุกคามต่อเสถียรภาพของฝ่ายค้าน แต่ก็มีการตกลงกันได้ในนาทีสุดท้ายที่ทำให้ทางพรรคหวนกลับมาผูกมัดอีกครั้งหนึ่งต่อการสนับสนุนให้หันหัวเรือกลับออกทะเล และต่อการมีศูนย์กักกันอยู่นอกประเทศ

อย่างไรก็ตาม พรรคแรงงานกำลังวางแผนเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่รับเข้าประเทศจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมให้มากขึ้น เพื่อรับผู้ลี้ภัยจำนวน 27,000 คนต่อปี ซึ่งเป็นแผนการที่ทางพรรคร่วมได้อ้างว่าจะมีค่าใช้จ่าย $6 พันล้านดอลลาร์สำหรับอีก 10 ปีข้างหน้า แต่พรรคแรงงานก็ปฏิเสธตัวเลขดังกล่าว

แผนการของพรรคแรงงานยังรวมไปถึงการเพิ่มจำนวนของผู้ที่ชุมชนเป็นผู้รับรอง(เป็นสปอนเซอร์) จาก 1,000 รายเป็น 5,000 ราย โดยจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต่องบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด

ส่วนพรรคกรีนส์นั้นเป็นเสียงคัดค้านที่สำคัญดังที่สุดต่อการกักกันตัวนอกชายฝั่งของประเทศ และพรรคจะดำเนินการเพื่อนำผู้ขอลี้ภัยทั้งหมดมายังแผ่นดินใหญ่ และจำกัดการกักกันภายในประเทศให้อยู่ที่ไม่เกินเจ็ดวัน

ในขณะเดียวกัน พรรครองพรรคดังกล่าวซึ่งอาจเป็นผู้มีอำนาจชี้ชะตาในการตัดสินใจต่างๆ ของวุฒิสภา ต้องการที่จะเพิ่มจำนวนผู้ที่ออสเตรเลียรับเข้าประเทศจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมขึ้นเป็น 50,000 รายต่อปี และยังผลักดันให้มีการไต่สวนหาความจริงสาธารณะรอยัลคอมมิชชันต่อการกักกันการตรวจคนเข้าเมืองโดยออสเตรเลีย

การอพยพย้ายถิ่นฐานและความแออัด

“การแก้ไขความแออัด” ได้กลายเป็นเสียงเรียกร้องหลักของรัฐบาล และก็ได้ทำให้ตัวเลขจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานในนครซิดนีย์และเมล์เบิร์นนั้นตกเป็นเป้าความสนใจ

หลังเกิดการจู่โจมที่นครไครสต์เชิร์ช นายสกอตต์ มอร์ริสันได้เลือกใช้คำพูดของเขาอย่างระมัดระวัง เมื่อประกาศการลดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่รับเข้าประเทศเป็นการถาวร ลงจาก 190,000 รายลงเป็น 160,000 ราย เพื่อจงใจปัดไม่ให้เกิดข้อกล่าวหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาติ
Image of a diverse and busy shopping street in a city in Australia.
รัฐบาลต้องการสนับสนุนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานให้ย้ายออกไปยังพื้นที่ส่วนภูมิภาค (Image source: AAP) Source: AAP
“เพียงเพราะว่าชาวออสเตรเลียนั้นวิตกกังวลต่อการจราจรที่ติดขัดและคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองซึ่งมีขนาดใหญ่เช่นซิดนีย์หรือเมลเบิร์น ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาต่อต้านผู้อพยพย้ายถิ่นฐานหรือเหยียดเชื้อชาติ” เขากล่าวในการปราศรัยเมื่อเดือนมีนาคม

กลยุทธ์ของพรรคร่วมนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วประสบความสำเร็จ โดยมีสาเหตุที่สำคัญส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการที่พรรคแรงงานนั้นก็ได้ยอมรับต่อการลดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานลง

แม้ว่าจะยอมตกลงต่อการจำกัดจำนวนใหม่ดังกล่าวโดยทันที ฝ่ายค้านก็ชี้ให้เห็นว่ามันจะไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากมายแต่อย่างใด เพราะจำนวนที่รับเข้ามาในปีนี้ตามความเป็นจริงนั้นก็อยู่ที่เพียง 162,000 รายเท่านั้น

พรรคร่วมยังจะจัดให้มีสิ่งจูงใจต่างๆ สำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายใหม่ เช่นเหล่านักเรียนนานาชาติ ให้ย้ายไปยังพื้นที่ส่วนภูมิภาค ในรูปแบบของทุนการศึกษา วีซ่าชนิดใหม่ๆ และช่องทางสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร

ด้านพรรคกรีนส์นั้น ชูความหลากหลายของประเทศออสเตรเลีย และเรียกร้องให้มีการเริ่มใช้พระราชบัญญัติความหลากหลายทางวัฒนธรรมระดับสหพันธรัฐ และให้มีโครงการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติระดับประเทศ

วีซ่าต่างๆ

ในขณะเดียวกันกับที่รัฐบาลกำลังควบคุมการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นการถาวร จำนวนวีซ่าชั่วคราวต่างๆ กลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

รัฐบาลยืนยันว่า ธุรกิจต่างๆ จำเป็นจะต้องพยายามเสาะหาชาวออสเตรเลียเพื่อทำตำแหน่งงานเสียก่อน แต่ก็กล่าวว่าหากไม่ประสบความสำเร็จ  รัฐบาลก็จะเร่งขั้นตอนการประเมิน(วีซ่า)ในพื้นที่ซึ่งขาดแคลนทักษะ

พรรคแรงงานต้องการจะระงับการเพิ่มจำนวนวีซ่าทำงานประเภทชั่วคราวต่างๆ แต่ก็ไม่ได้กล่าวว่าให้อยู่ที่จำนวนเท่าใด โดยจะมีการจัดตั้งองค์กรด้านทักษะแห่งออสเตรเลีย (Australian Skill Authority) ขึ้นเพื่อตรวจสอบความต้องการแรงงาน

ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับครอบครัวของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานก็คือระยะเวลาการรอคอยอันยาวนานสำหรับวีซ่าบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวีซ่าบิดามารดา

ด้านรัฐบาลนั้นได้นำวีซ่าชนิดใหม่ระยะห้าและ 10 ปีมาใช้ แต่วีซ่าเหล่านี้ก็มีราคาแพงและจำกัดให้เฉพาะบิดามารดาเพียงคู่เดียวเท่านั้น

พรรคแรงงานได้สัญญาที่จะอนุญาตให้บิดามารดาทั้งสองคู่สามารถเข้าใช้วีซ่าดังกล่าวได้ ในขณะที่พรรคกรีนส์ได้สัญญาที่จะปรับปรุงวีซ่าเพื่อการกลับมาอยู่ร่วมกันของครอบครัว (Family reunion visa) แต่ก็ไม่ได้ประกาศในรายละเอียดว่าจะเป็นเช่นใด
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 22 April 2019 11:58am
Updated 22 April 2019 12:14pm
By SBS News
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News


Share this with family and friends