เมื่อนินูมล อับราฮัม คุณแม่ลูกสองเริ่มทำงานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในกรุงแคนเบอร์รา เธอกล่าวว่า เธอได้รับแจ้งให้ต้องจ่ายเงินสำหรับการลาป่วยและลาหยุดพักผ่อน
ยิ่งไปกว่านั้น นางอับราฮัม กล่าวว่า เธอต้องทำงานเกือบ 70 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์ ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งเพื่อส่งเสียลูกๆ ของเธอ
“ฉันไม่สามารถมีเวลาดูแลลูกๆ และครอบครัวของฉันได้” นางอับราฮัม กล่าว
บินนี จอห์น บาบู นายจ้างของเธอที่ร้านอาหารอินเดีย Binny's Kathitto ถูกกล่าวหาว่าปฏิเสธคำร้องขอของเธอที่จะลดชั่วโมงการทำงาน
หลังจากลาป่วยไป 2-3 วัน นางอับราฮัมยื่นใบรับรองแพทย์ให้แก่นายบาบูตามคำขอ
แต่ต่อมาในวันนั้น นางอับราฮัมกล่าวว่านายบาบูไล่เธอออกจากงาน
นางโชจิน โทมาส เป็นอดีตเพื่อร่วมงานของนางอับราฮัมและเป็นผู้จัดการร้านกล่าวว่า เธอถูกขอให้ต้องจ่ายเงินกว่า 5,000 ดอลลาร์ ก่อนที่เธอจะลาพักร้อนได้ สำหรับจ่ายภาษีและจ่ายลูกจ้างที่มาทำงานแทนเธอ
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ร้านอาหารไทยในบริสเบนถูกตรวจพบเอาเปรียบลูกจ้าง
แต่หลังจากนางโทมาสสอบถามกับทนายความผู้หนึ่ง เธอจึงได้ตระหนักว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ถูกต้อง
นางโทมาส และนางอับราฮัม กล่าวว่า พวกเธอทั้งสองคนทำงานคนละ 6 วัน 12 ชั่วโมงต่อวัน โดยได้รับค่าจ้าง 55,000 ดอลลาร์ต่อปี และยังมีการหักเงินออกไปจากค่าจ้างนั้นสำหรับการลาป่วยและลาพักร้อน
สหภาพแรงงาน ยูไนเต็ด วอยซ์ (United Voice) ซึ่งเป็นตัวแทนลูกจ้างในอุตสาหกรรมการให้บริการต้อนรับ (hospitality) กำลังช่วยเหลือนางอับราฮัมและนางโทมาสในการยื่นร้องเรียนสำหรับแต่ละคนต่อร้านอาหารดังกล่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (5 ก.ย.) มีการประท้วงขนาดย่อยเกิดขึ้นที่หน้าร้านอาหารอินเดียดังกล่าว อดีตลูกจ้างทั้งสองกล่าวว่า นายบาบู บอกพวกเธอว่าวีซ่าของพวกเธอจะถูกยกเลิก หากพวกเธอไม่ยอมจ่ายเงินสดเพื่อ ‘ซื้อ’ วันลาพักร้อนและวันลาป่วย
นายบาบูกล่าวว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ที่อดีตลูกจ้างทั้งสองกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง
“เราจ่ายทุกอย่างอย่างถูกต้อง” เขาบอกกับ เอเอพี เมื่อวันพฤหัสบดี
นางลินเดล ไรอัน เลขาธิการยูไนเต็ด วอยซ์ สาขาเอซีที กล่าวว่า เธอต้องการเห็นการโจรกรรมค่าจ้างนั้นหมดสิ้นไปเสียทีในประเทศนี้
นางไรอัน กล่าวว่า กรณีของนางโทมาสและนางอับราฮัมเป็นเรื่องราวการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างที่เลวร้ายที่สุดที่สหภาพแรงงานยูไนเต็ด วอยซ์ สาขาเอซีที เคยได้ยินมา
“สถานการณ์ที่ขำไม่ออกที่สุดของเรื่องนี้อาจเป็นการที่ร้านอาหารแห่งนี้ตั้งอยู่แทบจะติดกับกระทรวงกลาโหมเลยทีเดียว” นางไรอัน กล่าว
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ปลดแอกจากการถูกโกงค่าแรง
เธอกล่าวว่า เห็นได้ชัดเจนว่าการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างได้เกิดขึ้น ‘ต่อหน้าต่อตาพวกเรา’
นางอับราฮัม ได้ยื่นข้อกล่าวหาต่อตุลาการเพื่อพลเมืองและหน่วยงานบริหารแห่งเอซีที ACT Civil and Administrative Tribunal ขณะที่นางโทมาสได้ยื่นคำร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรม (Fair Work Ombudsman)
ก่อนหน้านี้ นายแอนโทนี อัลบานีซี ผู้นำพรรคแรงงานได้พบกับลูกจ้างที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในนครบริสเบนเมื่อวันพฤหัสบดี เขาบอกกับผู้สื่อข่าวที่นั่นว่า จากการคาดการณ์พบว่าลูกจ้างควีนสแลนด์ได้รับค่าจ้างต่ำกว่ากฎหมายกำหนดราว 1 พันล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว
“สิ่งที่เกิดขึ้นหมายความว่า มีลดลงเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ในเศรษฐกิจของเรา” นายอัลบานีซี กล่าว
นายอัลบานีซี กล่าวว่า รัฐบาลพรรคร่วมจำเป็นต้องแก้ไขเรื่องการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง เพื่อช่วยเศรษฐกิจที่กำลังชะงักงัน
เขากล่าวว่า เมื่อธุรกิจต่างๆ จ่ายค่าจ้างลูกจ้างต่ำกว่ากฎหมายกำหนด ทำให้ธุรกิจเหล่านั้นมีความได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรมเหนือธุรกิจอื่นๆ ที่กำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ร้านดังของนีล แพร์รี ถูกเชฟฟ้องให้ทำงานยาว 20 ชม. แลกค่าจ้าง $12 ต่อชม.
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
ญี่ปุ่นมองออสฯเป็นตัวอย่างเปิดรับลูกจ้างต่างชาติ