ชาวออสเตรเลียราวร้อยละ 60 นั้น มีอัตรารู้เท่าทันด้านสุขภาพต่ำ (Low health literacy)” ซึ่งนั่นหมายความว่า พวกเขาไม่สามารถเข้าใจข้อมูลต่างๆ จากแพทย์และบุคคลากรด้านสุขภาพ ผู้ที่เกิดจากประเทศที่ภูมิหลังไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษนั้น จะพบกับอุปสรรค์ในเรื่องนี้มากกว่าใคร
อัตรารู้ด้านสุขภาพจะยิ่งต่ำลงไปอีก ในหมู้ผู้ที่เกิดในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ โดยร้อยละ 75 ของผู้ที่เดินทางมายังออสเตรเลียจากประเทศที่ภูมิหลังไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ พบว่า มีปัญหาในการเข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพของออสเตรเลีย
นางดานา มอววอด (Dana Mouwad) ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับรู้ข้อมูลด้านสุขภาพ กล่าวว่า การย้ายมาอยู่ในประเทศใหม่ เรื่องภาษาก็ยากพอแล้ว การเรียนรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพใหม่จะยิ่งเพิ่มความสับสน
“ในบางชุมชน เราพบปัญหาด้านอัตรารู้หนังสือ การคำนวณ และภาษาจากพื้นเพวัฒนธรรมเดิมอยู่แล้ว เรื่องระบบสุขภาพซึ่งเป้นเรื่องใหม่นั้นสร้างความซับซ้อนให้มากขึ้นไปอีก” นางมอววอดกล่าว
3 ใน 4 ของผู้ที่มาจากพื้นเพที่ภูมิหลังไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ มีอัตรารู้เท่าทันด้านสุขภาพที่ต่ำ จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้จัดทำวิดิโอและเอกสารให้ความรู้ด้านสุขภาพใน 19 ภาษา
นางลิซา วูดแลนด์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารด้านสุขภาพหลากวัฒนธรรม จากหน่วยงานสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า สื่อที่ได้มีการจัดทำนั้นจะเป็นการให้ความรู้กับสมาชิกใหม่ในชุมชน
“บ่อยครั้งที่มีการแปลข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ เราจะแปลเป็นภาษาที่มีชุมชนขนาดใหญ่ มีข้อมูลมากมายให้กับผู้คนในชุมชนเหล่านี้ แต่สำหรับชุมชนที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งรวมถึงชุมชนที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่และชุมชนที่กำลังขยายตัว เราไม่มีข้อมูลที่ได้รับการแปลเป็นภาษาของพวกเขามากนัก” นางวูดแลนด์บอกกับเอสบีเอส นิวส์
ข้อมูลด้านสุขภาพใน 19 ภาษา
ข้อมูลด้านสุขภาพได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ อย่างภาษาอารบิก ภาษาอัสซีเรีย ภาษาเบงกอล ภาษาพม่า ภาษาดารี ภาษาอังกฤษ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาเกาหลี ภาษาเคิร์ดเหนือ ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษาเนปาล ภาษามองโกลเลีย ภาษาแมนดาริน ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ ภาษาไทย ภาษาทิเบต และภาษาอูรดู
นางวูดแลนด์กล่าวว่า ข้อมูลในภาษาเหล่านี้ ได้สะท้อนกับภาษาของชุมชนที่เติบโตอย่างรวดเร็วในแต่ละเขตพื้นที่สุขภาพของรัฐนิวเซาท์เวลส์
“มันเป็นเรื่องสำคัญเมื่อคุณเดินทางมายังประเทศใหม่ ในการรู้วิธีการเข้าถึงบริการในระบบสุขภาพ” นางวูดแลนด์กล่าว
สัปดาสุขภาวะในหลากวัฒนธรรม (Multicultural Health Week) ซึ่งเป้นกิจกรรมที่จัดขึ้นในรัฐนิวเซาท์เวลส์ทุกเดือนกันยายน ได้ให้ความสนใจในเรื่องความรู้เท่าทันด้านสุขภาพขอสมาชิกในชุมชนใหม่และชุมชนที่กำลังขยายตัวที่เพิ่งเดินทางมาถึงออสเตรเลีย เช่นเดียวกับชุมชนที่มีขนาดเล็กและมีหลักแหล่งน้อยกว่าชุมชนผู้อพยพย้ายถิ่นอื่นๆ
มีชาวนิวเซาท์เวลส์ที่เกิดในต่างประเทศ 1 ใน 3 คน และทุกๆ 1 ใน 5 คน พูดภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
อบูลลา อักวา (Abulla Agwa) นักทำงานด้านสุขภาพ ซึ่งจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนด้านสุขภาพ ที่สมาคมชุมชนชาติพันธุ์ภูเขาดรูอิท (Mt Druitt Ethnic Communities) ทางตะวันตกของนครซิดนีย์ กล่าวว่า สำหรับผู้ที่เดินทางมาถึงออสเตรเลียใหม่ๆ การรู้เรื่องบริการด้านสุขภาพในชุมชนของพวกเขาสามารถสร้างแตกต่างได้อย่างมาก
“เราอาจไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องสำคัญอะไรมากนักหากเราอยู่ในออสเตรเลียอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้จักระบบสุขภาพของออสเตรเลียมาก่อนเลย มันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกเขา” นายอักวากล่าว
นายจอห์น โวล (John Wal) เข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมสัปดาห์ละครั้ง บอกว่า เขาเรียนรู้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากมาย แต่กลุ่มนี้ได้ให้อะไรมากกว่านั้น
“มันช่วยผมได้มาก ไม่ใช่แค่วันนี้ แต่ในทุกๆ วัน ผมมาเจอเพื่อนๆ ผมมาที่นี่และได้เรียนรู้อะไรมากมาย ทั้งวัฒนธรรมที่แตกต่าง ประเทศที่แตกต่าง ผมเรียนรู้ได้มากมายไปกับเพื่อนๆ ของผม” นายโวลกล่าว
รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
หมอฟันไขข้อข้องใจทำฟันที่ไทยหรือที่ออสเตรเลียดี