Exclusive

เอ็นโดมาออสฯ ครั้งแรกในชีวิต แต่ถูก ตม.ส่งกลับหลังตอบคำถามนี้

เอ็นโด สิมานจันตัก (Endo Simanjuntak) เดินทางมาถึงออสเตรเลียในทริปแรกของชีวิต เพื่อมาพบกับสมาชิกครอบครัวของเขา แต่ตอนนี้เขาถูกแบนเป็นเวลา 3 ปี หลังการตอบคำถามกับเจ้าหน้าที่กองกำลังพิทักษ์พรมแดนที่สนามบินไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น

Endo Simanjuntak wearing a dark t-shirt and cap backwards

Endo Simanjuntak says he wanted to come to Australia for a holiday to see family, but after an interrogation from Australian Border Force his tourist visa was cancelled. Source: Supplied / Endo Simanjuntak

แอนดรูว์ ไจลส์ (Andrew Giles) รัฐมนตรีหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองออสเตรเลีย ถูกหน่วยงานกิจการภายในขอให้สรุปเหตุการณ์ว่า เพราะเหตุใดชายชาวอินโดนีเซียคนนี้จึงถูกกักตัวเป็นเวลา 3 วัน หลังเดินทางมาถึงออสเตรเลียด้วยวีซ่าท่องเที่ยว ก่อนที่จะถูกส่งกลับประเทศไปในเวลาต่อมา

วันหยุดในฝันที่ต้องจบลงอย่างกะทันหัน สร้างความบอบช้ำสำหรับ เอ็นโด สิมานจันตัก ขณะที่ตัวเขาเองและครอบครัวต่างตั้งคำถามว่าการเดินทางของเขาต้องจบลงแบบนี้ได้อย่างไร

ชาวอินโดนีเซียวัย 27 ปีคนนี้ เดินทางมาถึงออสเตรเลียที่สนามบินนานาชาติเพิร์ธ ในไฟลท์กลางดึกของวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยความตื่นเต้นที่จะได้พบกับเจฟรีย์ (Jefrie) พี่น้องของเขา และเอลลี (Ellie) พี่สะใภ้ พร้อมลูกสาวของพวกเขาอีก 4 คน

หลานของเอ็นโดกำลังรอต้อนรับเขาเมื่อมาถึง พร้อมกับป้ายชื่อที่เขียนด้วยมือซึ่งมีข้อความว่า “ยินดีต้อนรับ อุดา (ลุง) เอ็นโด” อักษรแต่ละตัวถูกวาดด้วยดินสอสี
Endo's four-year-old niece holds a hand drawn sign meant to welcome him to Australia.
หลานสาวของคุณเอ็นโด ขณะกำลังถือกระดาษที่วาดรูปไว้เพื่อต้อนรับเขามาออสเตรเลีย Source: Supplied
แต่ครอบครัวของเขากลับไม่มีโอกาสได้ต้อนรับการมาถึง เมื่อกองกำลังพิทักษ์พรมแดนตัดสินใจยกเลิกวีซ่าท่องเที่ยวของเขา ซึ่งทำให้คุณเอ็นโดต้องเดินทางกลับบ้านในอีก 3 วันต่อมา

การตัดสินใจดังกล่าวยังหมายความว่า คุณเอ็นโดถูกห้ามไม่ให้เดินทางมาออสเตรเลียเป็นเวลา 3 ปี

“(ผม) ยังคงเสียใจมากเพราะวีซ่าถูกแบน” คุณเอ็นโด ซึ่งพูดภาษาอังกฤษได้ไม่คล่อง กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ ผ่านเจฟรีย์ พี่น้องของเขา ซึ่งเป็นล่ามแปลภาษาให้
(ผม) รู้สึกเศร้ามาก เพราะผมไม่ได้เจอครอบครัวของผม
เอ็นโด สิมาจันตัก
คุณเอ็นโดถูกส่งตัวออกจากประเทศด้วยเหตุผลที่หน่วยงานกิจการภายในออสเตรเลียอธิบายว่า เป็นการยอมรับโดยการส่วนตัวว่าเขาตั้งใจ “จะทำงานเป็นช่างฉาบปูน” ระหว่างพำนักอยู่ในออสเตรเลีย ซึ่งขัดต่อเงื่อนไขวีซ่าท่องเที่ยว (subclass 600) ที่มีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว
(left to right) A woman, a small girl and a man sitting on a bench.
คุณเอ็นโด เดินทางมาออสเตรเลียเพื่อที่จะมาเยี่ยมเอลลี (Ellie) สะใภ้ของเขา เจฟรีย์ (Jefrie) และหลานสาววัย 4 ขวบ Source: Supplied
เอสบีเอส นิวส์ ได้พบเห็นเหตุผลในการยกเลิกวีซ่า จากเอกสารที่หน่วยงานกิจการภายในออสเตรเลียออกให้กับผู้ยื่นขอวีซ่ารายดังกล่าว ภายใต้กฎหมายเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร (Freedom of Information laws)

คุณเอ็นโดและครอบครัวโต้แย้งเหตุผลดังกล่าวอย่างแข็งขัน ซึ่งเขาบอกว่าไม่เคยต้องการจะทำงานในออสเตรเลีย และไม่ได้รับโอกาสให้เข้าถึงบริการล่ามแปลภาษา ในระหว่างการเจรจาที่เกิดขึ้นในสนามบินโดยเจ้าหน้าที่กองกำลังพิทักษ์พรมแดน
A Department of Home Affairs document outlining Endo Simanjuntak's visa cancellation.
เอกสารจากหน่วยงานกิจการภายในของออสเตรเลีย ทีระบุเหตุผลว่าเพราะเหตุใดวีซ่าท่องเที่ยวของคุณเอ็นโดจึงถูกยกเลิก Source: Supplied
วีซ่าของคุณเอ็นโดถูกเพิกถอนตามอำนาจในมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายการย้ายถิ่นฐาน (Migration Act) ซึ่งระบุว่า วีซ่าถูกยกเลิกได้ หากพบว่าผู้ถือวีซ่า “ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข”

โฆษกรัฐบาลระบุกับ เอสบีเอส นิวส์ ผ่านแถลงการณ์ว่า แอนดรูว์ ไจลส์ รัฐมนตรีด้านการอพยพย้ายถิ่นได้ติดตามข้อมูลของกรณีดังกล่าวแล้ว

“ระหว่างที่รัฐมนตรียังให้ความเห็นเป็นรายกรณีไม่ได้เนื่องด้วยข้อผูกมัดความเป็นส่วนตัว เขาทราบแล้วถึงปัญหาที่มีการหยิบยกขึ้นมาในบทความนี้ และกำลังต้องการข้อสรุปจากหน่วยงานกิจการภายในในกรณีดังกล่าว” โฆษกรัฐบาลระบุ

“รัฐบาลอัลบานิซีมุ่งมั่นในการทำให้โครงการอพยพย้ายถิ่นปราศจากการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภาษา เพศสภาพ เพศวิถี หรือศาสนา”

ช่วงเวลาวันหยุดในฝันที่พังครืน

คุณเอ็นโด เดินทางมายังนครเพิร์ทจากหมู่บ้านของเขาบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เขาทำงานอยู่ในร้านอาหารที่นั่น และการเดินทางมาออสเตรเลียของเขาถือเป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรก

ก่อนเดินทางมาถึง วีซ่าท่องเที่ยวของเขาได้รับการอนุมัติแล้วโดยเจ้าหน้าที่ในออสเตรเลีย และมีพี่น้อง และพี่สะใภ้ของเขาเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

วีซ่าผู้มาเยือน หรือ Visitor visa (subclass 600) มีไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนทางธุรกิจ หรือผู้ที่ต้องการมาเยี่ยมครอบครัวเป็นเวลา 3,6 และ 12 เดือน มีค่าใช้จ่ายในการทำวีซ่าสูงสุด $380 ดอลลาร์
Endo with his niece in Indonesia.
คุณเอ็นโดกับหลานสาวของเขาในอินโดนีเซีย Source: Supplied
เว็บไซต์ของหน่วยงานกิจการภายในออสเตรเลีย ได้กำหนดว่า ผู้ยื่นสมัครวีซ่าดังกล่าว “จะต้องมี หรือสามารถเข้าถึงจำนวนเงินที่เพียงพอในการสนับสนุนตนเองระหว่างพำนักอยู่ในออสเตรเลีย”

คุณเอ็นโดวางแผนที่จะพำนักอยู่ในออสเตรเลียเป็นเวลา 3 เดือน

หน่วยงานกิจการภายในระบุว่า Visitor visa (Subclass 600) แตกต่างจาก Visitor visa (Subclass 651) โดยอย่างหลังจะอนุญาตให้พำนักอยู่ในออสเตรเลียได้ไม่เกิน 3 เดือน แต่ไม่มีให้สำหรับพลเมืองสัญชาติอินโดนีเซีย

คุณเอ็นโด บอกว่า เขาเริ่มพบกับคำถามจากเจ้าหน้าที่กองกำลังพิทักษ์พรมแดนถึงเหตุผลในการเดินทางเข้าประเทศ เมื่อเดินทางมาถึงที่นครเพิร์ท

“เมื่อ (ผม) ถึงสนามบิน เจ้าหน้าที่กองกำลังพิทักษ์พรมแดนถาม (ผม) ทันทีว่า คุณมาที่นี่เพื่ออะไร” คุณเอ็นโดเล่า โดยเขาบอกเจ้าหน้าที่ไปว่า “เขามาเพื่อใช้เวลาวันหยุด”

คุณเอ็นโดเล่าต่อว่า เจ้าหน้าที่ได้ขอดูยอดเงินในบัญชีธนาคาร เพื่อดูว่าเขาจะสนับสนุนตนเองระหว่างพำนักอยู่ในออสเตรเลียได้อย่างไร
Nine adults standing in a line on a beach. Two women are holding young children.
คุณเอ็นโด (คนที่สองจากด้านขวา) พร้อมสะใภ้ เอลลี (Ellie) และเจฟรีย์ (Jefrie) พี่น้องของเขา (ซ้ายสุด) ที่เกาะสุมาตรา Source: Supplied
เว็บไซต์ของหน่วยงานกิจการภายในออสเตรเลียระบุว่า ผู้เป็นสปอนเซอร์ให้ผู้มาเยือนอาจต้องจ่ายเงินประกันระหว่าง $5,000-$15,000 ดอลลาร์ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเดินทางมายังออสเตรเลีย ซึ่งพี่น้องและพี่สะใภ้ของคุณเอ็นโดไม่ได้รับการขอให้จ่ายเงินส่วนนั้น แต่มีการขอสเตทเมนท์ธนาคารของทั้งสอง เพื่อยืนยันแหล่งรายได้สำหรับการยื่นขอวีซ่าของคุณเอ็นโด

คุณเอ็นโดกล่าวว่า เขาบอกกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์พรมแดนว่าครอบครัวของเขาตั้งใจที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตลอดเวลาที่เขาพำนักอยู่ที่นี่

“(ผม) บอกกับพวกเขาว่า ‘(ผม) ไม่ต้องการเงิน เพราะว่าพี่น้อง (ของผม) และพี่สะใภ้จะจ่ายให้สำหรับทุกอย่างเมื่อผมมาถึงที่นี่’” คุณเอ็นโดกล่าว

จากคำพูดของคุณเอ็นโด เขาเล่าว่า เจ้าหน้าที่พิทักษ์พรมแดนซึ่งไม่พอใจกับคำตอบของเขาในการถามคำถามในตอนแรก ได้นำตัวเขาเข้าไปในห้องเพื่อสอบถามเพิ่มเติม
“เขาพา (ผม) เข้าไปในห้อง และถามคำถามเดิมกับผมอีกครั้งว่า ‘คุณมาที่นี่ทำไม’” คุณเอ็นโดเล่า

“เขาบอกว่า คุณต้องมาที่นี่เพื่อทำงานแน่ ๆ’ และผมก็บอกว่า ‘ไม่ใช่อย่างนั้น ผมมาที่นี่เพื่อใช้เวลาวันหยุด’”

คำถามสำคัญ

จากจุดนี้ เหตุการณ์ที่เอ็นโดระลึกได้ระหว่างการเจรจากับเจ้าหน้าที่ นั่นคือการพูดคุยว่ามีสิ่งใดที่ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยทางหน่วยงานสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับวีซ่า

จากเอกสารระบุว่า “ระหว่างการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการกับกองกำลังพิทักษ์พรมแดนออสเตรเลีย คุณระบุว่าคุณมาที่นี่เพื่อที่จะใช้เวลาวันหยุด และจะทำงานเป็นช่างฉาบปูนอีกด้วย”

“จากการยอมรับทางวาจาของผู้ถือวีซ่ารายนี้ ข้าพเจ้าแน่ใจว่าผู้ถือวีซ่ารายนี้ไม่ได้เดินทางมาเพื่อจุดประสงค์ในการท่องเที่ยวตามที่วีซ่าได้รับการอนุมัติ”
คุณเอ็นโดกล่าวว่า เขาไม่ได้กล่าวสิ่งนั้นออกไป และอ้างว่าแม้ได้บอกกับเจ้าหน้าที่ไปแล้วว่าตนพูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง แต่ก็ไม่ได้รับการจัดหาล่ามแปลภาษาให้เพื่อช่วยเหลือ

เขาบอกว่า เขาถูกถามซ้ำ ๆ ว่าตั้งใจจะมาทำงานในออสเตรเลียหรือไม่

“พวกเขาถามคำถามเดียวกันแล้วก็ผลัก (ผม) จากนั้น (ผม) ก็เริ่มกลัว” คุณเอ็นโดเล่า

“พวกเขาบอก (ผม) ว่า ... ไม่ คุณต้องมาทำงานที่นี่ให้พี่น้องคุณแน่ ๆ ใช่ไหม”

“ตอนนั้นผมพูดว่า ... ใช่ พี่น้อง (ผม) เป็นช่างฉาบปูน”

คุณเอ็นโดบอกว่า เขาบอกกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์พรมแดนว่า “เขาจะทำอะไรอยู่แถวบ้าน ทำความสะอาด และดูแลลูกสาวของพี่ชาย” โดยเขาไม่เคยพูดเลยว่าเขาอยากจะทำงานเป็นช่างฉาบปูน

ทั้งนี้ คุณเอ็นโดไม่มีคุณวุฒิใด ๆ ในการเป็นช่างฉาบปูน

“(ผม) รู้สึกสับสน เพราะ (ผม) ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ” คุณเอ็นโดกล่าว

เอกสารการยกเลิกวีซ่าจากหน่วยงานกิจการภายในของออสเตรเลียระบุว่า “ไม่มีการใช้ล่ามแปลภาษา” ในการสัมภาษณ์กับคุณเอ็นโด

ทำไมเขาจึงถูกเพ่งเล็ง

ระหว่างที่คุณเอ็นโดกำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่ เอลลี (Ellie) พี่สะใภ้ของเขาบอกว่า ครอบครัวที่มารออยู่ในสนามบินเริ่มวิตกกังวลเมื่อเวลาผ่านไปแต่ก็ไม่เห็นว่าเขาจะปรากฏตัว เธอกล่าวว่า เจ้าหน้าที่พิทักษ์พรมแดนได้ออกมาถามพวกเขาตรง ๆ เกี่ยวกับการเดินทางมาออสเตรเลียของคุณเอ็นโด การปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่สร้างความกังวลให้กับครอบครัวของคุณเอ็นโด

ในตอนนั้นเองที่คุณเอลลีกล่าวว่า ทางครอบครัวยังได้กล่าวกับกองกำลังพิทักษ์พรมแดนอย่างตรงไปตรงมาถึงความจำเป็นในการใช้ล่ามแปลภาษาของคุณเอ็นโด

“ฉันบอกพวกเขาว่า ‘มีล่ามแปลภาษาไหม’” คุณเอลลีกล่าว

“พวกเขาบอกว่า ‘ไม่มีล่ามแปลภาษา’ ฉันบอกว่า ‘แต่เขาพูดภาษาอังกฤษไม่ได้’”
A group of men, women and children standing outside
คุณเอ็นโดพร้อมสะใภ้ พี่น้อง และหลานสาวที่อินโดนีเซีย Source: Supplied
เมื่อเวลาผ่านไป จนเข้าสู่รุ่งสางของเช้าวันรุ่งขึ้น เอลลีและเจฟรีย์เดินทางออกจากสนามบินเพื่อพาลูกสาวไปส่งที่บ้าน เธอกล่าวว่า หลังจากนั้นไม่นานทางครอบครัวได้รับโทรศัพท์สายหนึ่ง

“พวกเขาโทรหาฉันและบอกว่า ‘วีซ่าของเขาถูกยกเลิกแล้ว และนั่นคือจุดสิ้นสุด’” คุณเอลลีกล่าว

เอลลีบอกว่า ครอบครัวรู้สึก ‘สะเทือนใจ’ จากการตัดสินใจดังกล่าว

“ทำไมต้องเป็นเขาที่ถูกเพ่งเล็ง ทำไมเขาจึงไม่ได้รับการจัดหาล่ามแปลภาษาให้ และทำไมพวกเขาถึงไม่ฟังเขาเลย ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับผู้คน” คุณเอลลีกล่าว

หลังจากที่วีซ่าของเขาถูกยกเลิก คุณเอ็นโดได้ถูกนำตัวส่งไปยังสถานกักกันในโรงแรมอลอฟท์ เพิร์ท (Aloft Perth) เป็นเวลา 3 วันจนสามารถส่งตัวเขากลับอินโดนีเซียได้ คุณเอลลีกล่าวว่า ทางครอบครัวเดินทางไปที่โรงแรมเพื่อโบกมือให้เขาผ่านทางหน้าต่าง แต่ไม่เคยได้รับอนุญาตให้พบกันตัวต่อแม้จะมีการร้องขอก็ตาม

การยกเลิกวีซ่าท่องเที่ยวในอดีต

เอสบีเอส นิวส์ ได้รับข้อมูลจากหน่วยงานกิจการภายใน เกี่ยวกับจำนวนการยกเลิกวีซ่าท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่กองกำลังพิทักษ์พรมแดน โดยพบว่าตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2017 - 30 มิ.ย. 2022 มีการตัดสินใจเพื่อยกเลิกวีซ่าเกิดขึ้น 8,079 ครั้งในวีซ่าท่องเที่ยวทุกชนิด จากการถูกกล่าวหาว่าละเมิดเงื่อนไขวีซ่า
A graph showing the top 10 nationalities to have tourist visas cancelled.
Source: SBS
ในการยกเลิกวีซ่าตามที่กล่าวมานั้น พบ 3 ประเทศต้นทางที่ถูกยกเลิกวีซ่ามากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย (2,700 ครั้ง) จีน (2,100 ครั้ง) และอินเดีย (400 ครั้ง) โดยในช่วงเวลาเดียวกัน พบการยกเลิกวีซ่า 100 ครั้งสำหรับอินโดนีเซีย

จำนวนการยกเลิกวีซ่าลดลงมาอย่างมีนัยยะสำคัญจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีงบประมาณ 2017-18 พบการยกเลิก 3,844 ครั้ง ในปี 2019-2022 ลดลงมาอยู่ที่ 1,467 ครั้ง และลดลงมาเหลือไม่ถึง 5 ครั้งในปีงบประมาณ 2020-21 และน้อยกว่า 70 ครั้งในปีงบประมาณ 2021-22

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 - กุมภาพันธ์ 2022 ผู้เดินทางจากต่างประเทศถูกห้ามไม่ให้เข้าออสเตรเลียหากไม่มีข้อยกเว้นการเดินทางจากมาตรการปิดพรมแดน

ข้อกล่าวหาเหยียดเชื้อชาติ

ในกรณีซึ่งไม่เกี่ยวกันกับเรื่องนี้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา หน่วยงานกิจการภายในออสเตรเลียได้ถูกบังคับให้ยอมรับ “ความผิดพลาดในอำนาจตัดสิน (jurisdictional error)” ในความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้รับแจ้งว่า ชายเหล่านั้นถูกยกเลิกวีซ่าแล้ว เนื่องจากไม่ได้เดินทางมากับ “ผู้ร่วมเดินทางที่กำหนดไว้” ตามที่ระบุไว้ในใบยื่นขอวีซ่า แต่ในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ยอมรับต่อหน้าศาลสหพันธรัฐในเมลเบิร์นว่า การตัดสินใจยกเลิกวีซ่าดังกล่าวเป็นผลมาจาก “ความผิดพลาดในอำนาจตัดสิน”

สุเรช ราจัน (Suresh Rajan) ประธานสภาชุมชนชาติพันธุ์แห่งเวสเทิร์นออสเตรเลีย กล่าวว่า เขามีความกังวลเกี่ยวกับ “แนวโน้มที่น่ากังวล” จากกองกำลังพิทักษ์พรมแดนออสเตรเลีย ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการยกเลิกวีซ่าท่องเที่ยว

“มันไม่ปรากฏว่าพวกเขาใช้กฎเหล่านี้กับผู้ที่มีผิวขาวจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมแองโกล-เซลติก (Anglo-Celtic” คุณราจันกล่าว

“ดูเหมือนว่าพวกเขาจะใช้กฎเกณฑ์เหล่านี้กับผู้คนที่อาจมีสีผิวคล้ำกว่า หรือมาจากภูมิหลังหลากวัฒนธรรม”

“นี่เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างแท้จริง มันจำเป็นต้องได้รับจัดการแก้ไขอย่างรวดเร็ว”

ในการให้สัมภาษณกับ เอสบีเอส นิวส์ แอนดรูว์ ไจลส์ กล่าวว่า เขาต้องการให้สิ่งตกทอดในฐานะรัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองกลายเป็นโครงการอพยพย้ายถิ่นที่มี “ความชัดเจน” ของ “มูลค่าการสร้างชาติ” จากการอพยพย้ายถิ่นมายังออสเตรเลีย และการสนับสนุน “อย่างใหญ่หลวง” ที่มันจะมอบให้ให้

เช่นเดียวกับหลาย ๆ ครอบครัวที่มีญาติอยู่ในต่างแดนในช่วงการระบาดของโควิด-19 คุณเอ็นโดไม่สามารถเดินทางพบกับพี่น้อง รวมถึงน้องและหลานพี่สะใภ้ของเขาในออสเตรเลียได้ เนื่องจากมาตรการจำกัดห้ามการเดินทางในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่

คุณเอลลี กล่าวว่า เธอยังมีปัญหาทางสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุนเรื้อรัง ทำให้เธอรู้สึกท้อแท้จากการขึ้นเครื่องบิน ทำให้การเดินทางมายังอินโดนีเซียนั้นยากลำบาก

คุณเอ็นโด กล่าวว่า เขาเพียงหวังให้วีซ่าท่องเที่ยว และการแบนจากการเดินทางมาออสเตรเลีย 3 ปีเป็นอย่างอื่น เพื่อให้เขาใช้เวลากับครอบครัวได้

“(ผม) หวังว่า (ผม) จะกลับมาได้ใหม่อีกครั้งเหมือนปกติ เพื่อให้ (ผม) ได้มาเที่ยวออสเตรเลีย” คุณเอ็นโดกล่าว

Share
Published 19 October 2022 7:05pm
By Tom Stayner
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends