การเลือกตั้งของประเทศไทยในวันที่ 24 มีนาคม จะเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในระยะเวลาแปดปี และเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อปีพุทธศํกราช 2557
สำหรับประเทศซึ่งมีประชากร 69 ล้านคน การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคน
“มันสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าคนไทย[ไม่]ได้เลือกตั้งมาหลายปีแล้ว มันเป็นเวลา เนิ่นนาน นานมากๆ” คนไทยคนหนึ่งในนครซิดนีย์กล่าว
“ประเทศไทยไม่มีประชาธิปไตยมาเป็นเวลาห้าหรือหกปีแล้ว ตอนนี้ก็เป็นเวลาที่จะได้เกิดขึ้นเสียที ประชาธิปไตยมาแล้ว มันเป็นข่าวดีสำหรับคนไทย” อีกท่านกล่าว
แม้การเลือกตั้งจะได้รับการป่าวประกาศว่าเป็นการกลับมาสู่ประชาธิปไตย มันก็จะอยู่ภายใต้กฎของการเลือกตั้งระบบใหม่ ซึ่งผู้วิพาษ์วิจารณ์กล่าวว่าได้รับการออกแบบไว้เพื่อพยายามให้แน่ใจว่ารัฐบาลทหารนั้นยังคงรักษาอำนาจไว้อย่างทรงพลังหลังจากที่ยึดอำนาจ รัฐบาลได้สัญญาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในหนึ่งปีเพื่อมอบประเทศคืนให้กับการปกครองโดยพลเรือน แต่ก็มีการเลื่อนออกอย่างซ้ำๆ จนทำให้พลเอกประยุทธ์ ซึ่งเกษียณอายุออกจากราชการทหารออกมานั้น ปกครองเป็นเวลาเกือบห้าปี
Women hug Thai Prime Minister Prayuth Chan-Ocha. Source: AAP, AP
การลงคะแนนเสียงในวันอาทิตย์ จะยุติความไม่แน่นอนทางการเมืองอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี แต่ผู้เชี่ยวชาญก็กล่าวว่า การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญนั้นทำให้พลเอกประยุทธ์น่าจะยังคงรักษาอำนาจเอาไว้ได้
ทหารยังคงเป็นกลุ่มที่มีอำนาจ
ในการทำประชามติเมื่อปี 2559 ชาวไทยได้ลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ซึ่งร่างขึ้นโดยรัฐบาลทหาร
ดร. เกร็ก เรย์มอนด์ นักวิจัย ณ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศแห่งมหาวิทยาลัยเอเอ็นยู (ANU’s Strategic and Defence Studies Centre) กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า “มันไม่ใช่สิ่งที่พวกเราในโลกตะวันตกจะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตย มีการจำกัดอำนาจของรัฐบาลใหม่เป็นอย่างมาก”
รัฐสภาของประเทศไทยจำนวน 750 ที่นั่งนั้น มี 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) และ 250 ในวุฒิสภา ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ชาวไทยจะมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกเฉพาะสภาล่างเท่านั้น
การเลือกตั้งไทยปี 2019: วิดิโออธิบายระบบการเลือกตั้ง
วุฒิสภาทั้งหมดจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่อย่างใด โดยทั้ง 250 ที่นั่งจะถูกแต่งตั้งโดยนายพลทหาร ผู้ใช้อำนาจผ่านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือ National Council for Peace and Order (NCPO)
ผู้ที่จะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้นั้นจะต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง หรืออย่างน้อย 376 เสียงจากทั้งสองสภาฯ ซึ่งก็หมายความว่า แม้พรรคใดก็ตามได้รับชัยชนะเนื่องจากมีคะแนนนิยม ก็อาจไม่สามารถก่อตั้งรัฐบาลได้
ยังมีประเด็นอื่นๆ อะไรอีกบ้าง?
มีการปราบปรามผู้ที่ขัดขืนทางการเมืองในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมาระหว่างการปกครองโดยทหาร และบางคนก็ตั้งความหวังไว้ว่า การเลือกตั้งจะเป็นการเข้าสู่ยุคใหม่ที่จะมีเสรีภาพในการพูด
“สำหรับคนไทยจำนวนมาก คุณไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นอะไรได้เลย เพราะว่าทหารไทยจะยับยั้งทุกอย่าง” ชาวไทยในประเทศออสเตรเลียคนหนึ่งกล่าว
“คิดว่าทหารนั้นไม่ดี เพราะหากใครก็ตามต้องการจะแสดงความคิดเห็น ก็ไม่สามารถทำได้”เศรษฐกิจซึ่งตกต่ำลงหลังจากเกิดรัฐประหารเมื่อปี 2557 ก็เป็นอีกเรื่องที่อยู่ในใจของชาวออสเตรเลียเชื้อสายไทยเป็นจำนวนมาก
People queue to cast their ballots during early voting in Bangkok on 17 March. Source: AFP, Getty
“ในปีแรก ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย และหลังจากระยะนั้นก็ไม่สามารถที่จะฟื้นตัวได้อย่างมากมาย โดยมีระดับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งก็ไม่มากเท่าไรสำหรับประเทศกำลังพัฒนา” ดร. เกร็ก เรย์มอนด์ กล่าว
“ฉันเพิ่งจะกลับไปที่ประเทศไทย และเศรษฐกิจก็ไม่ดี มีคนจำนวนมากไม่มีงานทำ” ผู้ออกเสียงเลือกตั้งคนหนึ่งกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์
“มูลค่าของเงินนั้นไม่ดีอย่างมากๆ เลย” อีกคนกล่าว
ใครที่คาดว่าจะเป็นผู้ชนะ?
พลเอกประยุทธ์ก็เข้าชิงตำแหน่งผู้นำภายใต้พรรคพลังประชารัฐซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ฝักใฝ่ทหาร และผู้เชี่ยวชาญก็คาดว่าการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้ทำให้เขานั้นได้เปรียบเป็นอย่างมาก
ดร. เรย์มอนด์ กล่าวว่า สามารถทึกทักได้เลยว่าตำแหน่งวุฒิสมาชิกเกือบทุกตำแหน่ง หรือมิเช่นนั้นก็ทุกตำแหน่ง จะแต่งตั้งขึ้นจากตัวแทนผู้สนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ หรือไม่ก็อาจเป็นไปได้ว่าจะแต่งตั้งขึ้นจากพรรคเล็กๆ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทหาร
“ผมคิดว่า คุณก็คงจะวางเงินเดิมพันได้ว่าพลเอกประยุทธ์จะจัดตั้งรัฐบาลในสมัยต่อไป สิ่งกีดขวางสำหรับเขานั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากมีเหล่าวุฒิสมาชิกที่ทุกๆ คนก็คาดว่าจะลงคะแนนเสียงให้กับเขา” ดร. เรย์มอนด์ กล่าว
“หากท่านนับว่า 250 ที่นั่งในวุฒิภาเป็นกลุ่มของทหารและพร้อมที่จะเลือกนายรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาก็ต้องการเสียงอีกแค่ 126 ที่นั่ง จากทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะได้ถึงจำนวน 376”
แต่เขาก็กล่าวว่า ในการทำโพลหยั่งเสียง พรรคพลังประชารัฐนั้นไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก จึงเป็นไปได้ที่พวกเขาก็อาจไม่สามารถที่จะยึดที่นั่งในสภาฯ ได้มากเพียงพอเพื่อจัดตั้งรัฐบาล
“มันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีพรรคใดพรรคหนึ่งที่จะได้เสียงข้างมากในรัฐสภา และพรรคของรัฐบาลเอง พรรคของพลเอกประยุทธ์เอง ในขณะนี้ก็ไม่น่าจะได้เสียงถึง 126 เสียงจากพรรคของตนเองล้วนๆ เท่านั้น”
และหากเป็นเช่นนั้น ดร. เรย์มอนด์ก็กล่าวว่า พวกเขาก็จำเป็นจะต้องมีพรรคร่วม
แล้วพรรคอื่นๆ มีพรรคอะไรบ้าง?
แม้ว่าจะมีอิทธิพลของทหารอย่างกว้างขวางในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงก็ได้รับอำนาจกลับคืนมาอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากที่อยู่ภายใต้รัฐบาลซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาเป็นเวลาห้าปี
“ครั้งนี้เป็นการกลับคืน[สู่ประชาธิปไตย]ที่สำคัญ” ดร. เรย์มอนด์ กล่าว
การเลือกตั้งครั้งนี้ดูเหมือนจะกลายเป็นการต่อสู้กันระหว่างสามกลุ่ม ซึ่งในนั้นได้แก่พรรคต่างๆ ที่หนุนหลังโดยทหาร ผู้สนับสนุนให้พลเอกประยุทธ์หวนคืนสู่อำนาจ
พรรคพลังประชารัฐนั้นเป็นพรรคที่โดดเด่นที่สุด แต่ก็มีพรรคเล็กๆ เช่นพรรคประชาชนปฏิรูปและพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่ก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มนี้นอกจากนั้นยังมีพรรคอื่นๆ ซึ่งเป็นขั้วของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ผู้ตัดสินใจไปใช้ชีวิตอยู่นอกประเทศที่นครดูไบ โดยยังคงมีฐานเสียงที่บ้านอย่างกว้างขวาง
A woman rides past campaign posters in the city of Nakhon Ratchasima, Thailand. Source: AAP, AP
ทักษิณถูกล้มล้างด้วยการทำรัฐประหารในปี 2006 ในขณะที่น้องสาวของเขา อดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ถูกล้มล้างในปี 2014
พรรคการเมืองซึ่งเชื่อมโยงกับชินวัตรได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทุกๆ ครั้งตั้งแต่ปี 2544
พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่สำคัญที่สุด แต่พรรคเล็กๆ รวมทั้งพรรคเพื่อธรรม พรรคเพื่อชาติ และพรรคไทยรักษาชาติซึ่งถูกยุบพรรคไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ โดยต้องออกจากการลงแข่งขันหลังจากเสนอชื่อพระเชษฐภคินีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ธิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ รองศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กรุงเทพมหานครกล่าวว่า การยุบพรรคไทยรักษาชาติ หรือ TRCP ไม่ได้ทำให้สมการในการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดนัก
“แม้พรรคเพื่อไทยน่าจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นหลังจากการยุบพรรคไทยรักษาชาติ ผู้ที่ได้ผลประโยชน์หลักนั้นน่าจะเป็นกลุ่มต่อต้านทหารอื่นๆ คะแนนเสียงที่จะลงให้กับพรรคไทยรักษาชาตินั้น ไม่น่าจะไปลงที่พรรคซึ่งฝักใฝ่ทหารหรือฝักใฝ่ประยุทธ์”
นอกจากนั้นยังมีพรรคที่เปลี่ยนไปมา เช่นพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองอันเก่าแก่ที่สุดของไทย ผู้อาจเป็นกุญแจต่อผลลัพธ์สุดท้ายของการเลือกตั้งก็เป็นได้
“ในขณะนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะมีจำนวนเสียงที่มากพอประมาณ เป็นไปได้ว่าอาจมากกว่า 100 เสียง เพราะฉะนั้นพวกเขาก็จำเป็นที่จะต้องเจรจา”
แต่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเต็มใจร่วมกับพรรคฝักใฝ่ทหารหรือไม่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
หากว่าไม่ ก็อาจทำให้เป็นเรื่องยากในการที่พลเอกประยุทธ์จะสามาถกุมตำแหน่งผู้นำเอาไว้ต่อไปได้
ความรู้สึกที่ปนเป
ชาวไทยซึ่งอยู่อาศัยในประเทศออสเตรเลียจำนวนหนึ่งไม่เห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ชอบธรรม
“ราวกับว่าเขาต้องการจะให้ทุกคนในโลกรู้ว่าพวกเขากำลังทำการเลือกตั้งกันอยู่ในตอนนี้” คนหนึ่งกล่าว
“คนไทยรู้อยู่ ว่าลึกๆ แล้วนั้น ถึงแม้ว่าคุณสามารถลงคะแนนเสียงได้ในตอนนี้ [แต่] คิดว่าก็จะมีคนที่มาหยุดยั้งมันอีกครั้ง ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา”แต่ที่ด้านนอกของสถานกงสุลใหญ่ไทย ณ นครซิดนีย์ ซึ่งหลายๆ คนได้ไปทำการลงคะแนนเสียง ก็มีสตรีอายุน้อยกลุ่มหนึ่งซึ่งแสดงความหวังในแง่ดี
Thai people in Sydney have mixed feelings about the upcoming election. Source: SBS News
“ดิฉันคิดว่าหนึ่งคะแนนเสียงก็สามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตของประเทศไทยได้ ดิฉันหวังว่าอย่างนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ดิฉันมาที่นี่ ดิฉันต้องการให้ทุกๆ อย่างนั้นดีขึ้น”
คุณแอบบี โอไบรอัน จะรายงานการเลือกตั้งไทยในสุดสัปดาห์นี้ทาง
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ดร. แพทริก จอรี เจาะการเมืองไทยโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
กระแสผลักดันเพิ่มขึ้นเพื่อ 'ค่าจ้างยังชีพ'