คู่รัก LGBTIQ+ หลายร้อยคู่กำลังเตรียมเข้าพิธีจดทะเบียนสมรสในกรุงเทพฯ ในวันนี้

หลังจากที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้ผ่านสภาพและจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่บังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ต่อจากไต้หวันและเนปาล

A person standing in front of a large building, smiling and holding up a rainbow flag.

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ต่อจากไต้หวันและเนปาล Source: AAP / Rungroj Yongrit/EPA

หลังจากความพยายามของนักเคลื่อนไหว LGBTIQ+ ชาวไทยมานานกว่าสองทศวรรษ ในที่สุดร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมก็ได้ผ่าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งถือเป็นการปูทางให้ความเสมอภาคในการสมรสกลายเป็นกฎหมายในประเทศ

Thailand Same Sex Marriage
พิศิษฐ์ สิริหิรัญชัย (ซ้าย) และชนาธิป สิริหิรัญชัย จากกลุ่ม LGBTQ+ โชว์ใบทะเบียนสมรสของตนเอง หลังจากพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการสมรสมีผลบังคับใช้ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2568 (AP Photo/Sakchai Lalit) Source: AP / Sakchai Lalit/AP
23 มกราคม 2568 ถือเป็นวันแรกในประวัติศาสตร์ที่กฎหมายสมรวเท่าเทียมได้เริ่มบังคับใช้ในประเทศไทย โดยสื่อทุกสำนักได้รายงานถึงบรรยากาศความครึกครื้นทั้งในภาคส่วนของรัฐ และคู่รักจำนวนมากที่เดินทางไปจดทะเบียน ณ ที่ว่าการเขตในกรุงเทพ และที่ว่าการอำเภอในจังหวัดต่างๆ ทั่งประเทศ
ในได้ระบุถึง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

Promotion event in Thailand for legalizing marriage equality
epa11826129 นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร (แถวหน้า กลาง) ทักทายคู่รักเพศเดียวกันระหว่างถ่ายภาพที่ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 15 มกราคม 2568 เพื่อส่งเสริมร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม ซึ่งมีกำหนดจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 มกราคม 2568 ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่สามในเอเชียที่ให้การแต่งงานของเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมาย EPA/RUNGROJ YONGRIT Source: EPA / RUNGROJ YONGRIT/EPA

สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เพื่อให้บุคคล 2 คนไม่ว่าจะเพศใดสามารถทำการหมั้นและสมรสได้ จาก กม.สมรสปัจจุบันที่การหมั้น ใช้คำว่า “ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง” แก้ไขเป็น “ผู้หมั้นและผู้รับหมั้น” หรือ “เพศ” ที่ใช้คำว่า “ชาย-หญิง” แก้ไขเป็น “บุคคลทั้ง 2 ฝ่าย”

และสถานะหลังจดทะเบียนสมรส จาก “สามีภริยา/คู่สมรส” แก้เป็น “คู่สมรส/คู่สมรส” รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่น ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นมีสิทธิ หน้าที่สถานะทางครอบครัว เท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง
A man and a woman greet reporters and photographers
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ทั่วโลกจะเห็นเราและรู้ว่าในประเทศเล็กๆ แห่งนี้ เรามีแนวคิดและการสนับสนุนประชาชนของเราแบบนี้ Source: AP / Wason Wanichakorn
ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะรายละเอียดกฎหมายที่ผูกพัน ทั้งอาญา และแพ่ง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิต่าง ๆ ทั้งสิทธิการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิรับบุตรบุญธรรม สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย เป็นต้น

ด้านแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ทั่วโลกจะเห็นเราและรู้ว่าในประเทศเล็กๆ แห่งนี้ เรามีแนวคิดและการสนับสนุนประชาชนของเราแบบนี้

Thailand Marriage Equality
กลุ่ม LGBTQ โพสต์รูปถ่ายในงานเฉลิมฉลองร่างกฎหมายความเท่าเทียมกันทางการสมรส ณ ทำเนียบรัฐบาล ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568 (AP Photo/Jirasak jivawavatanawanit) Source: AP / Jirasak jivawavatanawanit/AP
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลได้เชิญคู่รักและนักเคลื่อนไหวหลายสิบคู่เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อเตรียมการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว

หลังจากที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้ผ่านสภาพและจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่บังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ต่อจากไต้หวันและเนปาล

Share
Published 23 January 2025 1:26pm
Updated 23 January 2025 4:38pm
Source: SBS

Share this with family and friends


Recommended for you