พรรคพลังประชารัฐ ที่นำโดยอดีตสมาชิกรัฐบาล คสช. มีคะแนนนำในการเลือกตั้งครั้งแรกของไทยนับตั้งแต่ปี ค.ศ.2014 (พ.ศ.2557) โดยคณะนี้มีการนับคะแนนการเลือกตั้งไปแล้วกว่าร้อยละ 90 จากการแถลงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อช่วงดึกของคืนวันอาทิตย์ ทำให้คาดว่ารัฐบาล คสช. จะกลับมาบริหารประเทศอีก จากความพ่ายแพ้ของฝ่ายที่ถูกมองว่าเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตย
ในการเลือกตั้งทั่วไปของไทยครั้งนี้ มีประชาชนออกไปใช้สิทธิกันอย่างไม่คึกคักนัก โดยคิดเป็นอัตราร้อยละ 64 เท่านั้น การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ที่ร่างขึ้นโดย คสช. ซึ่งถูกมองว่าเพื่อเปลี่ยนผ่านรัฐบาลทหารให้กลายเป็นรัฐบาลพลเมืองอย่างชอบธรรม
แม้ว่า คสช.จะกำหนดกติกาการเลือกตั้งครั้งนี้ขึ้นมา แต่นักวิเคราะห์ต่างไม่ได้คาดว่าพรรคพลังประชารัฐจะได้รับความนิยมจากประชาชนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากขนาดนี้ เนื่องจากมีกระแสความไม่พอใจในการปกครองประเทศของ คสช. และความนิยมที่มีมานานของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
แต่พรรคพลังประชารัฐ ที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพ และต้องการให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งนั้น ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งกว่า 7.6 ล้านเสียง ขณะที่มีการนับคะแนนเลือกตั้งไปแล้วกว่าร้อยละ 93 จากข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.
คะแนนเสียงของพรรคพลังประชารัฐนั้นมากกว่าพรรคเพื่อไทยเกือบ 1 ล้านคะแนนเสียง ขณะที่พรรคเพื่อไทยนั้นได้รับความนิยมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีประชากร 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ
“เรายินดีกับผลที่ออกมาจนถึงขณะนี้” นายอุตตม สาวนายน ผู้นำพรรคพลังประชารัฐ กล่าวเอสบีเอส นิวส์ ได้คุยประชาชนส่วนหนึ่งตามท้องถนนในกรุงเทพมหานคร เพื่อสอบถามความเห็นของพวกเขา
Thai citizens prepare to vote at a polling station during the general election on the outskirts of Bangkok. Source: AAP
เจ้าของแผงขายอาหารตามถนนผู้หนึ่ง กล่าวว่า เธอเฝ้าติดตามดูความคืบหน้าการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งอยู่เป็นระยะๆ ในช่วงที่มีลูกค้ายุ่งตอนค่ำ
“ฉันตื่นเต้นมาก ฉันเฝ้ารอผลการเลือกตั้ง และเฝ้าติดตามผล” หญิงเจ้าของแผงขายอาหาร กล่าว
“ฉันหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ใครก็ได้ที่ชนะไม่ว่าจะชนะมากหรือน้อย ฉันแค่ต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลง” ประชาชนชาวกรุงเทพฯ ผู้หนึ่ง ระบุ
เมื่อถามว่าเขาวิตกว่าพลเอกประยุทธ์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ ชายผู้หนึ่งตอบว่า เขายังคงมีความหวัง
“เราต้องเคารพผลการเลือกตั้งครั้งนี้ หากพลเอกประยุทธ์ชนะการเลือกตั้งจริงๆ เราก็ต้องสนับสนุน เพราะนี่เป็นไปตามประชาธิปไตย ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไร เราจะต้องยอมรับมัน”
แต่ผู้ที่เลือกพรรคเพื่อไทยไม่มองสถานการณ์ในแง่ดีเช่นนั้น
ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการเลือกตั้งครั้งนี้นั้นไม่ยุติธรรม หญิงคนหนึ่งบอกกับ เอสบีเอส
ประวัติศาสตร์การเมืองของไทยที่อลหม่าน โดยมีการก่อรัฐประหารโดยทหารขึ้นหลายครั้ง และมีการประท้วงตามท้องถนนที่ใช้ความรุนแรง จึงทำให้มีความวิตกว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้เกิดความไม่สงบปะทุขึ้น
คนไทยบางคนกล่าวว่า พวกเขาแค่ต้องการความมีเสถียรภาพ ขณะที่บางคนบอกว่าเป็นไปได้ที่ประชาชนอาจออกมาชุมนุมประท้วงตามท้องถนนอีก
“ประชาชนมีสิทธิที่จะพากันออกไปเพื่อบอกว่านี่เป็นระบบที่ไม่ยุติธรรม”ด้าน กกต. นั้นเมื่อคืนนี้ ได้เลื่อนการแถลงผลการเลือกตั้งอย่างสมบูรณ์ไปในช่วงวันจันทร์ (วันนี้ 25 มี.ค.) รวมทั้งว่าในสภาผู้แทนราษฎรนั้นแต่ละพรรคจะได้ที่นั่งกันกี่ที่นั่ง
Some Thais said they just want stability, while others said it's possible people could take to the streets. Source: SBS News
แต่เริ่มมีคำถามตามมาอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับจำนวนบัตรเสียที่มีมากถึง 1.9 ล้านเสียง ซึ่งหลายคนมองว่าอาจจะนำไปสู่ข้อพิพาทเรื่องผลการเลือกตั้ง และการตัดสิทธิผู้สมัครและพรรคการเมืองต่างๆ ในช่วงไม่กี่วันนี้
ฝ่ายที่อ้างตัวว่าเป็นฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยต่างผิดหวังกันถ้วนหน้า โดยความหวังที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคร่วมต่อต้านการปกครองของทหารนั้นดูเหมือนจะเลือนลางลงทุกทีจากผลการนับคะแนนเลือกตั้งที่ยังไม่สมบูรณ์นี้ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศออกมา
“นี่เป็นความล้มเหลวของการเมืองไทย” ธีรวัฒน์ ตุนพิชัย นักศึกษามหาวิทยาวัย 24 ปีผู้หนึ่ง บออกับ เอเอฟพี
“เราคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยต้องการอนาคตที่ดีกว่านี้”
ประเด็นสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้คือเรื่องเศรษฐกิจ
ดร.เกรก เรย์มอนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองไทยจากมหาวิทยาลัย ออสเตรเลียน เนชันแนล ยูนิเวอร์ซิตี อยู่ที่กรุงเทพฯ ในขณะนี้ โดยเขาได้ไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อทำการศึกษาวิจัย
เขาบอกกับเอสบีเอส ว่าคนจำนวนมากกล่าวโทษพลเอกประยุทธ์ว่าทำให้เศรษฐกิจไทยย่ำแย่
“การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นใหญ่ ประเทศไทยเคยมีการเติบโตร้อยละ 5, 6 หรือ 7 แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตร้อยละ 3 และคนจำนวนมากกล่าวโทษรัฐบาลทหาร” ดร.เรย์มอนด์ กล่าว
“เราจะยังไม่รู้แน่ชัดสักระยะว่าใครจะเป็นนายกรัฐมนตรี และจะมีการตกลงกันกับพรรคเล็กๆ”
ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้หนึ่งบอกกับเอสบีเอส นิวส์ ว่าเธอเกรงว่าภาวะเศรษฐกิจจะย่ำแย่ภายใต้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์
“ฉันจะไม่ดีใจเลยถ้าพลเอกประยุทธ์ชนะอีกครั้ง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจแย่ลงๆ” เธอบอกกับ เอสบีเอสดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นี่เป็นตอนสำคัญของสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย
Thailand's Prime Minister Prayuth Chan-ocha speaks to journalists after casting his vote at a polling station in Bangkok. Source: AAP
“ประเทศไทยติดอยู่ในวิกฤติและการแบ่งเป็นฝักฝ่ายมานาน 14 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เราได้เห็นขณะนี้ความจริงแล้วคือตอนสำคัญของช่วง 14 ปีที่ผ่านมา ที่มีการเลือกตั้ง การประท้วง การก่อรัฐประหาร การร่างรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งอีกครั้ง” ดร.ฐิตินันท์ อธิบาย
“มันหมายความว่าสถาบันหัวอนุรักษ์นิยมที่ปกครองประเทศอยู่กำลังพยายามเขียนกฎเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างที่พวกเขาต้องการ”
“อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นสิ่งที่ได้พูดและได้เห็นกันแล้วในการเมืองไทย การประท้วง ความรุนแรง และภาวะขึ้นๆลงๆ เหล่านั้นทั้งหมด พวกเขาได้ออกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ซึ่งแต่งตั้งวุฒิสมาชิกทั้งหมด และเป็นการแต่งตั้งจากทหาร”่
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ไทยเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหาร 2014
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
คำสั่งห้ามเดินทางตามเงินไชลด์ซัปพอร์ตได้หลายล้าน