เวลาหน้าจอ ‘อาจทำให้เด็กพัฒนาช้า’

NEWS: งานวิจัยชี้ระยะเวลาที่เด็กจ้องหน้าจอ อาจมีผลร้ายต่อพัฒนาการทางสติปัญญาและทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย

Image of a child looking at her laptop screen.

การจ้องมองหน้าจอจะลดเวลาเดิน วิ่ง ซึ่งอาจชะลอทักษะทางการเคลื่อนไหว Source: AAP

 

You can read the full version of this story in English on SBS News .

งานวิจัยชิ้นใหม่แนะว่าการใช้เวลาดูโทรทัศน์และเล่นเกมคอมพิวเตอร์มากเกินไปอาจชะลอพัฒนาการของเด็กเล็กได้

การศึกษาเด็กชาวแคนาดาจำนวน 2400 คนพบว่า การใช้เวลาหน้าจอที่เพิ่มมากขึ้นจะเชื่อมโยงกับคะแนนต่างๆ ของ“หลักไมล์” (milestones) ทื่ทดสอบด้านการสื่อสาร การแก้ปัญหา ทักษะระหว่างบุคคล และการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างประสานงานกัน

ระยะเวลาซึ่งเด็กอายุระหว่างสองถึงสามปีจ้องหน้าจอโดยไม่ทำอย่างอื่นนั้น มีผลกระทบในแง่ลบต่อความสามารถของพวกเขาที่อายุสามและห้าปี

ทว่าไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่าพ่อแม่ได้ให้เวลาหน้าจอเพิ่มมากขึ้นแก่เด็กๆ ผู้มีปัญหาพัฒนาการ เพื่อเป็นการควบคุมพฤติกรรมของพวกเขา

ทีมนักจิตวิทยาชาวแคนาดาได้ประพันธ์ลงในวารสาร Jama Pediatrics โดยสรุปว่า “การศึกษาในครั้งนี้ประเมินผลลัพธ์ด้านพัฒนาการในช่วงเวลาวิกฤตของการเจริญเติบโตและบรรลุวุฒิภาวะ ซึ่งได้เผยให้เห็นว่าระยะเวลาหน้าจอ สามารถกระทบต่อความสามารถของเด็กในการที่จะมีพัฒนาการอย่างเหมาะสมได้”

ผลของเวลาหน้าจอนั้นเป็นประเด็นที่โต้แย้งกันอย่างเผ็ดร้อน และที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีการตัดสินว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีนัยสำคัญมากเพียงใด

เมื่อถึงเวลาเข้าโรงเรียน หนึ่งในสี่ของเด็กๆ แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องหรือความล่าช้าของพัฒนาการด้านภาษา การสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหว และสุขภาพทาง “สังคมและอารมณ์” หากอ้างอิงจากทีมซึ่งนำโดย ดร. เชรี แมดิแกน จากมหาวิทยาลัยแคลการี

เพื่อตรวจสอบความเชื่อมโยงที่อาจเป็นไปได้ระหว่างระยะเวลาหน้าจอกับความล่าช้าของพัฒนาการ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้วิธีการตรวจคัดกรองมาตรฐานหลักไมล์ ซึ่งรวมไปถึงการสอบถามพ่อแม่เกี่ยวกับความสามารถต่างๆ ของเด็กๆ

การใช้เวลาหน้าจอในระดับสูงที่ช่วงอายุสองและสามปีนั้น ปรากฏว่ามีความ “เกี่ยวพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ” กับผลการทดสอบซึ่งออกมาแย่ที่อายุสามและห้าปี

ไม่มีการสังเกตพบว่า มีการเชื่อมโยงในทางกลับกัน - หรือการที่พัฒนาการอันอ่อนด้อยนนำไปสู่การใช้เวลาหน้าจอที่สูงขึ้น

เหล่านักวิจัยได้ชี้ว่า พัฒนาการของเด็กนั้น “เป็นไปอย่างรวดเร็วในห้าปีแรกของชีวิต”

พวกเขากล่าวว่า “เมื่อเด็กเล็กมองหน้าจอ พวกเขาก็อาจพลาดโอกาสสำคัญที่จะซักซ้อมและสร้างความชำนาญให้กับทักษะต่างๆ ด้านมนุษยสัมพันธ์ การเคลื่อนไหว และการสื่อสาร”

งานวิจัยยังพบว่า การใช้เวลาหน้าจอโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 17.09 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เมื่ออายุ 2 ปี 24.99 ชั่วโมงเมื่ออายุ 3 ปี และ 10.85 ชั่วโมงเมื่ออายุ 5 ปี

ผู้ประพันธ์ยังกระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ด้านสุขภาพทำงานร่วมกับครอบครัว เพื่อพัฒนา “แผนการเสพสื่อสำหรับแต่ละบุคคล” ที่ออกแบบเพื่อจำกัดเวลาการอยู่หน้าจอของเด็กๆ

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ .

Share
Published 29 January 2019 2:13pm
By SBS Newsroom
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News


Share this with family and friends