12 อาชีพขาดแคลนของออสฯ ที่ขาดผู้ยื่นขอวีซ่าถาวร

ในขณะที่หลายพันคนพบความยากลำบากที่จะมีคุณสมบัติครบถ้วนเพื่อเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของออสเตรเลีย อาชีพขาดแคลนจำพวกช่างบางอาชีพกลับมีผู้ยื่นสมัครเป็นจำนวนน้อยมากหรือไม่มีเลย

Image of an australian passport

มีอย่างน้อยหกสาขาอาชีพที่ไม่ได้มีการออกคำเชิญเลยแม้แต่สำหรับรายเดียวในช่วงปี 2017-18 Source: SBS Punjabi

You can read the full version of this story in English on SBS Punjabi .

ประเทศออสเตรเลียเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของการอพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลก โดยมีผู้คนเป็นจำนวนหลายหมื่นคนพยายามเสี่ยงโชคเพื่อจะย้ายถิ่นฐานมายังดินแดนทางซีกโลกใต้แห่งนี้ทุกปีในฐานะของผู้ย้ายถิ่นฐานซึ่งมีทักษะ ทว่ากลับมีบางอาชีพซึ่งไม่มีใครยื่นสมัครเลยแม้แต่คนเดียว

จากจำนวนวีซ่าถาวร 190,000 รายซึ่งประเทศออสเตรเลียวางแผนที่จะอนุมัติทุกปี เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์นั้นสงวนไว้สำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะ

ภายใต้ช่องทางการย้ายถิ่นฐานด้วยทักษะ ผู้ที่สนใจจะย้ายถิ่นฐานจะต้องเสนออาชีพขึ้นจากรายการอาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่าที่พวกเขาสมัคร สำหรับวีซ่าทักษะอิสระ(ซับคลาส 189) ซึ่งเป็นวีซ่าถาวรที่อนุญาตให้ท่านสามารถจะอยู่ในประเทศได้อย่างไม่มีกำหนดและยังได้รับอิสระในการพักอาศัยหรือทำงานที่ใดก็ได้ในออสเตรเลีย ผู้สมัครทุกๆ คนจะต้องยื่นแบบแสดงความจำนงก่อน และเมื่อผ่านการพิจารณาแต้มคะแนนแล้วกระทรวงมหาดไทยก็จะออกคำเชิญให้ท่านยื่นสมัครขอวีซ่า

โดยวีซ่าถาวรในลักษณะดังกล่าวนี้ ได้รับการกันที่ไว้เป็นจำนวน 44,000 ราย ในการวางแผนด้านการตรวจคนเข้าเมืองของออสเตรเลียเป็นประจำทุกปี

บางสาขาอาชีพเช่นนักบัญชี และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นได้รับความนิยมอย่างมาก จนทางกระทรวงฯ ได้จัดให้มีระบบแบบแบ่งสันตามสัดส่วน (pro-rata) ขึ้น เนื่องจากมีผู้ยื่นสมัครมากเป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางสาขาอาชีพนั้นกลับไม่มีการออกคำเชิญเลยตลอดทั้งปีการเงินที่ผ่านมา
Cabinet makers
(Rawpixel on Unsplash) Source: Rawpixel on Unsplash
จากจำนวน 73 สาขาอาชีพซึ่งได้มีกำหนดเพดาน(จำนวนผู้รับเข้า)เอาไว้ มีอย่างน้อยหกสาขาอาชีพที่ไม่ได้มีการออกคำเชิญเลยแม้แต่สำหรับรายเดียวในช่วงปี 2017-18

ช่างกระเบื้องผนังและพื้น (Wall and floor tilers) ช่างไฟฟ้ายานยนต์ (Automotive electricians) ช่างระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า (electrical distribution trade worker) ช่างต่อและถ่วงเรือ (boat builder and shipwright) ช่างโลหะที่มีความแม่นยำ (precision metal trade worker) และ พนักงานฟาร์มปศุสัตว์ (livestock farmers) ซึ่งรวมทั้งหมดนั้น มีจำนวนวีซ่าไว้ให้ถึง 9,603 ราย

ช่างเหล็กแผ่น (Sheet metal trade workers) ช่างผลิตประกอบตู้ (cabinet makers) ช่างกระจก (glaziers) ช่างตีตัวถัง (panel beaters) ทนายว่าความในศาล (barristers) และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยและส่งเสริมสุขภาพ (health diagnostic and promotion professionals) ที่รวมทั้งหมดนั้นมีจำนวนวีซ่าไว้ให้กว่า 5,300 ราย กลับพบว่ามีผู้ยื่นสมัครเพียงหนึ่งรายต่อแต่ละสายอาชีพเท่านั้นที่ได้รับคำเชิญ
Metal workers
ช่างโลหะที่มีความแม่นยำ (precision metal worker) เป็นที่ต้องการในประเทศออสเตรเลีย แต่กลับไม่มีการออกคำเชิญสำหรับอาชีพนี้ในปี 2017-18 (Dainel Wiadro on Unsplash) Source: Dainel Wiadro on Unsplash
คุณชามาน พรีต จาก Migration and Education Experts ในนครเมลเบิร์นกล่าวว่า ผู้สมัครขอวีซ่าโดยใช้อาชีพช่างฝีมือต่างๆ นั้น เลือกที่จะใช้ช่องทางอื่นๆ เพื่อขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของประเทศออสเตรเลีย

“หากจะประสบความสำเร็จด้วยซับคลาส 189 นั้น พวกเขาจำเป็นจะต้องมีความเชี่ยวชาญการใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่สูงกว่า มีประสบการณ์ทำงาน และวุฒิการศึกษา ซึ่งในเกือบทุกกรณี ผู้ยื่นขอด้วยสายอาชีพเหล่านี้มักจะเลือกวีซ่าแบบมีสปอนเซอร์ ที่จะทำให้พวกเขาได้แต้มเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ” เธอกล่าวกับเอสบีเอสภาคภาษาปัญจาบ
แม้ว่าจะเป็นเส้นทางลัดสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรสำหรับผู้สมัครซึ่งมีทักษะอันเป็นที่ต้องการและมีประสบการณ์ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ คุณพรีตกล่าวว่าบางอาชีพนั้นเป็นที่นิยมมากกว่าอาชีพอื่นในหมู่ผู้ย้ายถิ่นฐานชาวอินเดีย

“ทางเลือกด้านอาชีพนั้นขึ้นอยู่กับความยากง่ายของหลักสูตรที่เรียน และความสามารถของนักเรียนในการหานายจ้าง เพราะเกือบทั้งหมดต้องการที่จะหาประสบการณ์การทำงานหลังจบการศึกษา และหลังจากนั้นก็ให้นายจ้างเป็นสปอนเซอร์ เพื่อเป็นการเพิ่มแต้มที่ไม่เพียงพอให้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด” คุณพรีตกล่าว

เอสบีเอสไทย มีรายงานบทความของเอสบีเอสภาคภาษาปัญจาบ เรื่อง โดยไม่จำเป็นต้องมีสปอนเซอร์โดยทางรัฐต่างๆ หรือโดยนายจ้างแต่อย่างใด

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย

เกร็ดต้องรู้ห้าประการ ก่อนยื่นวีซ่าคู่ครองออสฯ


Share
Published 14 November 2018 1:19pm
Updated 21 August 2019 5:37pm
By Shamsher Kainth
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Punjabi


Share this with family and friends