บริการกฎหมายฟรีให้ลูกจ้างผู้อพยพที่ถูกโกงค่าจ้าง

NEWS: บริการ Migrant Employment Legal Service จะให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย รับเป็นตัวแทนทางกฎหมาย และให้ความรู้ด้านกฎหมายชุมชน แก่ลูกจ้างผู้อพยพที่กำลังถูกนายจ้างเอาเปรียบเรื่องค่าจ้าง

ขณะนี้ นักเรียนต่างชาติและผู้ที่มาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียด้วยวีซ่าระยะสั้น ที่กำลังเผชิญการถูกนายจ้างเอาเปรียบ จะสามารถรับความช่วยเหลือทางกฎหมายได้ฟรีผ่านโครงการงบประมาณ 1.6 ล้านดอลลาร์ ที่เพิ่งเปิดตัวในรัฐนิวเซาท์เวลส์เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้

ให้คำแนะนำทางกฎหมาย เป็นตัวแทนทางกฎหมาย และให้ความรู้ด้านกฎหมายชุมชน โดยเป็นฟรีการฟรี ให้แก่ผู้อพยพย้ายถิ่น ที่ตกเป็นเหยื่อการขโมยค่าจ้างจากนายจ้าง หรือถูกไล่ออกจากงานอย่างไม่ยุติธรรม

MELS เป็นโครงการร่วมระหว่างศูนย์กฎหมาย 4 แห่งได้แก่ศูนย์กฎหมายอินเนอร์ ซิตี ลีกัลป์ เซนเตอร์ (Inner City Legal Centre)  ศูนย์กฎหมายเรดเฟิร์น ลีกัล เซนเตอร์ (Redfern Legal Centre) ศูนย์กฏหมายคิงส์ฟอร์ด ลีกัล เซนเตอร์ (Kingsford Legal Centre) และศูนย์กฎหมายมาร์ริกวิลล์ ลีกัล เซนเตอร์ (Marrickville Legal Centre) ซึ่งขณะนี้ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายฟรีแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ศูนย์ตั้งอยู่

ด้วยงบประมาณ 1.6 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสำหรับระยะเวลา 3 ปี MELS จะขยายการให้บริการแก่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่ถือวีซ่าชั่วคราวทั่วรัฐนิวเซาท์เวลส์

คุณชาร์มิลลา บาร์กอน ทนายความด้านกฎหมายการจ้างงานของศูนย์กฎหมายเรดเฟิร์น ลีกัล เซนเตอร์ กล่าวว่า บริการใหม่นี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากลูกจ้างผู้อพยพย้ายถิ่นนั้น มีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบในที่ทำงานจากนายจ้าง

“ธุรกิจที่ไม่มีจรรยาบรรณจะเอาเปรียบลูกจ้าง ด้วยการเสนองานที่จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดอย่างมาก” คุณบาร์กอน กล่าว

“นี่กดดันให้ลูกจ้างผู้อพยพย้ายถิ่นต้องละเมิดเงื่อนไขในวีซ่าของพวกเขา เราได้เห็นผู้ถือวีซ่าบางประเภท ถูกบีบให้ต้องทำงานเป็นเวลามากกว่า 40 ชั่วโมงต่อ 2 สัปดาห์ ตามข้อกำหนดที่อนุญาตให้พวกเขาทำได้ตามกฎหมาย” คุณบาร์กอน ยกตัวอย่าง

“หากลูกจ้างผู้อพยพเหล่านั้นร้องเรียน นายจ้างก็จะขู่ว่า พวกเขาจะถูกเนรเทศออกนอกประเทศ นี่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมของการนิ่งเฉยไม่ปริปากเกี่ยวกับเรื่องนายจ้างขโมยค่าจ้าง และการเอาเปรียบลูกจ้างในรูปแบบอื่นๆ”

แคเทอรีนา ซึ่งเป็นนักเรียนต่างชาติ กล่าวว่า เธอได้ค่าจ้าง 12 ดอลลาร์ และ 14 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ในช่วงที่เธอทำงานในซิดนีย์เมื่อมาถึงออสเตรเลียใหม่ๆ โดยงานดังกล่าวทั้งสองงานที่เธอทำเป็นงานในร้านกาแฟ
Kateryna is an international student who says she was underpaid at work.
Kateryna is an international student who experienced underpayment at work. Source: SBS
“ฉันได้รับเงินค่าจ้างเป็นเงินสด” แคเทอรีนา กล่าว “ไม่มีสัญญาใดๆ เป็นลายลักษณ์อักษร ฉันไม่เคยจดบันทึกรายละเอียดชั่วโมงที่ฉันทำงาน ซึ่งความจริงแล้วฉันควรจะทำ และนายจ้างของฉันก็ไม่ได้บันทึกรายละเอียดเหล่านั้น”

“ฉันไม่มีใครมาบอกว่าสิ่งเหล่านั้นมันดูแปลกๆ มีพิรุธ หรือมันผิดไปจากปกติ เพราะฉันรายล้อมไปด้วยผู้คนที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน”

รายการเดอะ ฟีด (The Feed) ของเอสบีเอส ได้คุยกับนักเรียนต่างชาติคนอื่นๆ ที่ได้รับค่าจ้างในอัตราเหมือนๆ กันคือ ราว 12-14 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ขณะทำงานด้านการให้บริการต้อนรับ (hospitality) ในซิดนีย์ แต่ความจริงแล้ว อัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศอยู่ที่ 19.84 ดอลลาร์ ต่อชั่วโมง (อัตราตั้งแต่ 1 ก.ค. 2020 เป็นต้นมา) ซึ่งไม่รวมค่าจ้างเพิ่มพิเศษสำหรับการทำงานในวันหยุด (weekend penalty rate)

อัยการสูงสุดของรัฐนิวเซาท์เวลส์คือ นายมาร์ก สปีกแมน ที่เป็นประธานในงานเปิดตัวบริการ MELS กล่าวว่า บริการนี้จะช่วยเติมเต็มบริการด้านกฎหมายที่ลูกจ้างผู้อพยพย้ายถิ่น ที่ถือวีซ่าชั่วคราวต้องการ

“การแพร่หลายของการที่นายจ้างขโมยค่าแรงลูกจ้างในออสเตรเลียนั้นน่าประหลาดใจ” นายสปีกแมน กล่าว

“ไม่เพียงแต่ในธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ หรือในงานเก็บเกี่ยวพืชผักผลไม้ แต่เรายังได้เห็นในธุรกิจใหญ่ด้วยเช่นกัน”
นายสปีกแมนคาดว่าจะมีผู้คนราว 1,000 คนที่จะสามารถเข้ารับความช่วยเหลือด้านกฎหมายได้ผ่านบริการ MELS ในแต่ละปี

“ผู้คนทั่วไปจำนวนมากที่มีปัญหาด้านกฎหมาย แต่ปัญหานี้นั้นรุนแรงอย่างมากสำหรับผู้ที่ถือวีซ่าชั่วคราว ที่เผชิญทั้งความท้าทายด้านวีซ่า ความท้าทายด้านภาษา ความท้าทายด้านวัฒนธรรม และไม่รู้ว่าจะไปขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมายฟรีได้จากที่ใด” นายสปีกแมน กล่าว

“ลูกจ้างทุกคนในออสเตรเลียควรได้รับค่าจ้างตามที่พวกเขามีสิทธิได้รับ และโครงการนี้จะช่วยอย่างมากในการทำให้นายจ้างที่เอาเปรียบลูกจ้าง ต้องได้รับผิด”

แคเทอรีนา ซึ่งขณะนี้เป็นเจ้าหน้าที่อาสาสมัครที่ศูนย์กฎหมายเรดเฟิร์น ลีกัล เซนเตอร์ กล่าวว่า หากตอนนั้น เธอรู้สิทธิของตัวเอง และรู้ว่าจะขอรับความช่วยเหลือได้ที่ใด เธอคงจะไม่ปล่อยให้นายจ้างเอาเปรียบ

“ฉันหวังว่าทุกคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้จะลองมารับความช่วยเหลือ ขอให้ถามคำถามต่างๆ ที่สงสัย และอย่ากลัวที่จะขอรับความช่วยเหลือ”

ขณะนี้ นั้นเริ่มให้บริการแก่ประชาชนในนิวเซาท์เวลส์แล้ว คุณสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ MELS ได้ทางหรือโทรศัพท์ไปที่หมายเลย 02 8002 1203 เพื่อนัดเวลาพบทนายความ

สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนเองตกเป็นเหยื่อการถูกนายจ้างขโมยค่าจ้างในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของออสเตรเลีย สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติม และขอรับความช่วยเหลือได้จากองค์กร
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

 


Share
Published 13 December 2019 1:20pm
Updated 18 May 2021 5:45pm
By Sam Langford
Presented by SBS Thai
Source: The Feed

Share this with family and friends