พบหลายแบรนด์เสื้อผ้าออสฯ จ่ายค่าแรงลูกจ้างโรงงานต่ำ

NEWS: ออกซ์แฟม ออสเตรเลีย เผยรายชื่อบริษัทเสื้อผ้าออสเตรเลียชื่อดังหลายแบรนด์จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างโรงงานในต่างประเทศต่ำจนน่าตกใจ

Some workers are being paid as little as 62 cents an hour in Bangladesh.

Some garment workers are being paid as little as 62 cents an hour in Bangladesh. Source: AP

ค่าประทังชีพควรเพียงพอในการใช้จ่ายไปกับสิ่งสำคัญ ๆ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย บริการสาธารณสุข และการศึกษา แต่มีรายงานล่าสุดที่เปิดเผยว่า บริษัทในออสเตรเลียหลายแห่งกลับไม่ได้มอบสิ่งนั้นให้กับคนงานผลิตเสื้อผ้าในต่างประเทศ

ออกซ์แฟม ออสเตรเลีย ได้เปิดเผยรายชื่อแบรนด์แฟชั่นของออสเตรเลียที่ไม่สามารถให้คำมั่นเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถจ่ายค่าแรงให้พอต่อการประทังชีพแก่ลูกจ้างหญิงซึ่งผลิตเสื้อผ้าในโรงงานต่างประเทศอย่างเวียดนาม และบังคลาเทศ

มีหลายแบรนด์ยอดนิยมที่ปรากฎอยู่ในรายงานของออซ์แฟม เช่น Just Jeans, Peter Alexander, Jay Jays, Myers, Katies, W. Lane และ Big-W นอกจากนี้ Zara บริษัทเสื้อผ้าสัญชาติสเปน ยังได้อยู่ในรายชื่อบริษัทบนรายงานนี้ หลังไม่สามารถเปิดเผยโรงงานที่ว่าจ้างให้ผลิตเสื้อผ้าให้ได้
Big name fashion brands including Zara, Myer and Big W have been slammed for underpaying foreign factory workers.
نام‌های بزرگی چون زارا، جست جینز، پیتر الکساندر، جی جیز، مایر، ریورز، کتیز، دبلیو لین و بیگ دبلیو شامل فهرست برندهایی هستند که به کارگران کارخانه‌های خارجی دستم Source: AP
“ผู้หญิงคนหนึ่งที่พูดคุยกับเราบอกว่าเธอได้รับค่าจ้างเพียง 62 เซ็นต์ต่อชั่วโมงในบังคลาเทศ” นางซาราห์ โลแกน ผู้นำด้านสิทธิแรงงานจากออกซ์แฟม ออสเตรเลีย กล่าว 

“พวกเธอไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามป่วยไข้ ไม่สามารถส่งลูก ๆ เรียนหนังสือ ไม่สามารถซื้ออาหารให้เพียงพอในแต่ละมื้อ และถูกพรากจากลูกของพวกเธอ”

Naughty or Nice เป็นรายงานที่เผยแพร่โดยออกซ์แฟม ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 2 ปีที่เริ่มต้นเมื่อปี 2017 โดยออกซ์แฟมได้จับตาแบรนด์เสื้อผ้าค้าปลีกยอดนิยมของออสเตรเลียหลายแบรนด์ เช่นเดียวกับแบรนด์เสื้อผ้าจากต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการในตลาดเสื้อผ้าของออสเตรเลีย
Some workers are being paid as little as 62 cents an hour in Bangladesh.
Some garment workers are being paid as little as 62 cents an hour in Bangladesh. Source: AP
“เราเลือกบริษัท (ที่จะจับตา) โดยการสังเกตขนาดการถือหุ้นภายในตลาดออสเตรเลีย และกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย” นางโรแกนกล่าว 

“เราได้สื่อสารไปยังแบรนด์เสื้อผ้าเหล่านี้ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีการตั้งแคมเปญดังกล่าว ก่อนหน้าที่จะมีการเผยแพร่รายชื้อนี้ เราได้เขียนจดหมายเพื่อยื่นไปยังบริษัทเหล่านี้ เพื่อเรียกร้องให้พวกเขาปฏิบัติตามสิ่งที่เราต้องการ”

จากการพูดคุยและการผลักดันไปสู่คำมั่นสัญญาในการจ่ายค่าแรงที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ทำให้รายชื่อบริษัทที่ได้มีการเผยแพร่ในรายงานฉบับนี้ จากที่ตอนแรกมี 11 บริษัท เหลือเพียง 9 บริษัท

ทั้งนี้ สำนักข่าวเอเอพีได้ติดต่อไปยังบริษัทเสื้อผ้าที่มีรายชื่อปรากฎว่าไม่สามารถจ่ายค่าแรงให้เพียงพอต่อการดำรงชีพตามรายงานฉบับดังกล่าว เบื้องต้นยังไม่ได้มีการให้ความเห็นใด ๆ

การวิจัยโดย Deloitte Access Economics ซึ่งได้รับการสนันสนุนโดยออซ์แฟม ระบุว่า ผู้หญิงอายุระหว่าง 18-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 80 ของลูกจ้างในโรงงานเสื้อผ้าทั่วโลก

รายงานการวิจัยดังกล่าวเปิดเผยว่า ค่าแรงขั้นต่ำท้องถิ่นในบังคลาเทศนั้นมีค่าเท่ากับ 39 เซ็นต์ในออสเตรเลีย ในเวียดนามมีค่าเท่ากับ 64 เซ็นต์ และในจีนมีค่าเท่ากับ 93 เซ็นต์
Oxfam
Oxfam is calling on Australian fashion retailers to lift wages for overseas workers. Source: AAP
หากบริษัทใหญ่เหล่านี้ส่งต่อการจ่ายค่าแรงให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างทุกคนมายังผู้บริโภค ราคาเสื้อยืดในออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 10 เซ็นต์

“มันมีช่องว่างในส่วนต่างเหล่านั้นสำหรับบรรดาบริษัทต่าง ๆ ในการเพิ่มอัตราค่าจ้างที่จ่ายไปยังโรงงานที่ผลิตเสื้อผ้าให้” นางโรแกนกล่าว

“เงินประทังชีพไม่ใช่เอกสิทธิ์ แต่มันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่คนทำงานทุกคนจะต้องได้รับ เพื่อให้พวกเขาหลุดพ้นจากวงจรความยากจน”

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่

Share
Published 28 November 2019 5:16pm
Updated 28 November 2019 8:42pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP


Share this with family and friends