ยาชนิดต่างๆ ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในออสเตรเลีย

ออสเตรเลียได้อนุมัติยาต้านไวรัสโควิด-19 หลายชนิด มียาอะไร และเงื่อนไขในการใช้ยาต่าง ๆ เป็นอย่างไร

A supplied image of ICU Registered Nurse Shaunagh Whelan (left) caring for a COVID-19 positive patient in the ICU of St Vincents Hospital in Sydney, Tuesday, July 13, 2021. (AAP Image/Supplied by Kate Geraghty/SMH/St Vincents Hospital) NO ARCHIVING, EDITO

Private Health Insurance premiums are set to raise this year. Source: AAP Image/Supplied by Kate Geraghty/SMH/St Vincents Hospital

มีการรักษาหลายรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงยาต้านการอักเสบ และยาต้านไวรัส โดยยาต้านการอักเสบจะป้องกันระบบภูมิคุ้มกันจากการมีปฏิกิริยาต่อไวรัสมากเกินไป และยาต้านไวรัสจะยับยั้งไวรัสจากการแพร่พันธุ์ในร่างกาย

ส่วนการรักษาด้วยแอนติบอดี (Antibody treatment) จะป้องกันไวรัสไม่ให้รุกรานเซลล์ในร่างกายและสร้างความเสียหายไปมากกว่าเดิม
Paxlovid Pfizer oral antiviral anticovid in tablets.
ยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน "แพ็กซ์โลวิด" ของไฟเซอร์ Source: AAP

ยาแบบไหนที่มีสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในออสเตรเลียแล้ว

เป็นผู้ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษาโรคโควิด-19 ก่อนที่จะอนุมัติชั่วคราวสำหรับการใช้งานภายในประเทศ

ในปัจจุบัน ทีจีเอได้อนุมัติใช้งานยาโมลนูพิราเวียร์ หรือลาเกวริโอ (Molnupiravir [Lagevrio]) และเนอร์มาเทรลเวียร์ + ริโทนาเวียร์ หรือแพ็กซ์โลวิด (nirmatrelvir + ritonavir [Paxlovid]) และเรมเดซิเวียร์ หรือเวคลูรี (Remdesivir [Veklury]) สำหรับการรักษาแบบต้านไวรัส ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้

การรักษารูปแบบนี้สามารถยับยั้งการแพร่พันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 และการก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงอย่างได้ผล
Paxlovid, a Pfizer's coronavirus disease (COVID-19) pill.
ภาพการผลิตยาแพ็กซ์โลวิด ยาเม็ดต้านไวรัสโควิด-19 ของไฟเซอร์ Source: PFIZER INC.
ศาสตราจารย์ไมเคิล คิดด์ (Michael Kidd) รองประธานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของออสเตรเลีย กล่าวว่า ยาลาเกวริโอ (Lagevrio) และแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) ชนิดรับประทานนั้น มีอยู่ในโครงการสิทธิประโยชน์ทางเวชภัณฑ์ (PBS)

ศาสตราจารย์คิดด์ กล่าวว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ชาวอะบอริจินและชาวเกาะทอเรสสเตรทที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้ หากพวกเขามีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยสองปัจจัย นอกจากนี้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปก็สามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้เช่นกัน

“ผู้คนจำเป็นต้องมีผลการตรวจหาด้วยวิธีอาร์ทีพีซีอาร์ (RT-PCR) หรือชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลรวดเร็ว (RAT) เป็นบวก เพื่อให้แพทย์ทั่วไป (GP) เขียนใบสั่งยาสำหรับลาเกวริโอและแพ็กซ์โลวิด” ศาสตราจารย์คิดด์ กล่าว
การรักษาเหล่านี้จะช่วยผู้คนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง และช่วยให้พวกเขาอยู่นอกโรงพยาบาล การรักษาเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตผู้คนได้
ศาสตราจารย์คิดด์แนะนำว่า ผู้คนจำเป็นต้องเริ่มการรักษาภายใน 5 วันหลังจากมีอาการ
ยิ่งผู้คนเริ่มต้นการรักษาเร็วเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น

ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคโควิด-19 ได้แก่

  • ผู้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือได้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบโดส (โดสเดียว)
  • ผู้อยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ
  • ผู้มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีภาวะระบบทางเดินหายใจ (เช่น อาการหอบหืดระดับปานกลางถึงรุนแรงที่ต้องใช้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือโรคทางเดินหายใจอุดตัน) หรือมีภาวะทางระบบประสาท (เช่น โรคลมชัก หรือโรคสมองเสื่อม)
  • ผู้มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่ต้องใช้ยารักษา
  • ผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรืออ่อนกำลัง
  • ผู้มีภาวะโรคอ้วนที่ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) มากกว่า 30
  • ผู้มีภาวะไตวาย ตับแข็ง และผู้ป่วยโรคตับ

ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งรวมถึง

  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา (โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งไขกระดูก และโรคไขกระดูกเสื่อม)
  • ผู้ที่เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก
  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์
  • ผู้ที่กำลังรับการรักษาจากมะเร็งด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา
  • ผู้รับประทานยาซึ่งสามารถกดภูมิต้านทานได้
  • ผู้มีภาวะดาวน์ซินโดรม
  • ผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาและร่างการอย่างรุนแรงที่ต้องได้รับการดูแล และโรคที่เกิดจากฮีโมโกลบินผิดปกติอื่น ๆ ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (SCD) และภาวะหัวใจล้มเหลวหรืออ่อนแรง
ศาสตราจารย์คิดด์กล่าวว่า แพทย์ทั่วไปจำเป็นต้องทบทวนยาทุกชนิดก่อนที่จะเขียนใบสั่งยาต้านไวรัสโควิด-19 ให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรณีของแพ็กซ์โลวิด

“แพ็กซ์โลวิดไม่สามารถรับประทานได้ หากกำลังรับยาชนิดอื่นจำนวนหนึ่งชนิดหรือมากกว่า ไม่สามารถใช้ยานี้ได้หากผู้รับยามีภาวะโรคตับและไตอย่างรุนแรง กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร และมีกิจกรรมทางเพศสม่ำเสมออยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มันสำคัญที่คุณจะต้องใช้ยาคุมกำเนิดเมื่อรับการรักษานี้”

ส่วนยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) จะมีให้สำหรับผู้ป่วยอย่างรุนแรงในออสเตรเลียที่ต้องใช้ออกซิเจนหรือการช่วยหายใจระดับสูงเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกใน แสดงให้เห็นว่า ยาเรมเดซิเวียร์ไม่มีประสิทธิภาพอย่างมีนัยยะสำคัญกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่แล้ว ตัวยากล่าวมีผลเพียงเล็กน้อยในการป้องกันการเสียชีวิต หรือการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง (หรือทั้งสองกรณี) ในบรรดาผู้ป่วยคนอื่น ๆ ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

ภูมิคุ้มกันบำบัดโมโนโคลนอล (Monoclonal antibody treatments) เป็นการรักษาซึ่งใช้โปรตีนสังเคราะห์ที่ทดแทนสารภูมิต้านทานในร่างกาย ในการช่วยต่อสู้กับไวรัสที่เป็นอันตรายซึ่งรวมถึงไวรัสโควิด-19

ทีจีเอได้อนุมัติชั่วคราวให้มีการใช้ ในรูปแบบสารให้ทางหลอดเลือดดำในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม ไม่ใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ และกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเสียชีวิตมากขึ้น

โดยทีจีเอกำลังพิจารณาคำร้องจากแกล็กโซสมิธไคลน์ (GlaxoSmithKline) ผู้ผลิตยาดังกล่าว สำหรับการอนุญาตให้มีการใช้ตัวยาโซโทรวิแมบด้วยจำนวนโดสที่แรงขึ้น ในกรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน ชนิดบีเอ.2 (BA.2)

ทั้งนี้ เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน ชนิดบีเอ.2 (BA.2)  หรือที่รู้จักกันว่าเป็นเชื้อโอมิครอนแอบแฝง กำลังแพร่ระบาดอยู่ในออสเตรเลียและหลายประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้เพิกถอนการอนุญาตใช้ยาโซโทรวิแมบ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา

ตัวยาชนิดอื่น ๆ ซึ่งทีจีเอให้การอนุมัติชั่วคราวสำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ได้แก่

  • คาซิริวิแมบ + อิมเดวิแมบ หรือโรนาพรีฟ (casirivimab + imdevimab [Ronapreve])
  • โทซิลิซูแมบ หรือแอคเทมรา (tocilizumab [Actemra])
  • ทิกซาเจวิแมบ + คลิกาวิแมบ หรือเอวูเชลด์ (tixagevimab and cilgavimab [Evusheld])
ทีจีเอระบุว่า ยาปฏิชีวนะและตัวยาอย่างไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) และไฮดรอกซิคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ไม่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 และไม่ได้รับการรับรองให้เป็นการรักษาในออสเตรเลีย

หากคุณมีอาการใด ๆ ดังต่อไปนี้ โทรหาบริการฉุกเฉินที่หมายเลข 000 โดยทันที  แล้วบอกเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ว่าคุณได้รับการวินิจฉัยก่อนหน้านี้ว่าเป็นโรคโควิด-19

  • หายใจสั่งอย่างรุนแรงหรือหายใจลำบาก
  • รู้สึกเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง หรือแน่นหน้าอก
  • เพิ่งมีไข้ หรือกลับมาเป็นไข้อีกครั้ง
  •  ความสามารถในการจดจ่อแย่ลง และมีอาการสับสนเพิ่มขึ้น
  •  ตื่นนอนอย่างยากลำบาก
หากคุณมีอาการอื่น ๆ หลังหายจากโรคโควิด-19 แล้ว ติดต่อแพทย์ทั่วไปของคุณ หรือผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข (ที่มา: HealthDirect)

เอสบีเอส มุ่งมั่นนำเสนอข้อมูลล่าสุดทั้งหมดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เพื่อชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมของออสเตรเลีย โปรดดูแลสุขภาพของคุณและติดตามข่าวสารเป็นประจำผ่าน


 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดต่อสอบถามบริการสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 11 May 2022 3:28pm
Updated 11 May 2022 3:45pm
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends