เมื่อวานนี้ (25 ก.ค.) นายกรัฐมนตรีลาวได้แถลงว่า มีผู้สูญหาย 131 คน ในช่วงเวลา 2 วันหลังเหตุการณ์สันเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ทางตอนใต้ของลาวแตก โดยน้ำได้เข้าท่วมบ้านเรือนหลายหลัง คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 26 คน
ในการแถลงข่าวทางโทรทัศน์ท้องถิ่นที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากโดย นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีลาวนั้น ได้มีการระบุตัวเลขอย่างเฉพาะเจาะจง สำหรับตัวเลขความเสียหายที่ยังไม่เป็นทางการ
โดยรายงานจากทางการก่อนหน้านี้ระบุว่า มีผู้สูญหายในจังหวัดอัตตะปือหลายร้อยคน
“มีผู้ที่ได้รับรายงานว่าสูญหายจำนวน 131 คน” นายทองลุนระบุ พร้อมกล่าวเสริมว่าทั้งหมดเป็นคนลาว
นายชนะ เมี้ยนเจริญ กงสุลไทยประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต ของประเทศลาวระบุระหว่างอยู่ในพื้นที่กับหน่วยงานบรรเทาทุกข์บ่ายวานนี้ว่า (25 ก.ค.) เจ้าหน้าที่พบร่างผู้เสียชีวิตแล้ว 26 คน
“ที่เหลืออีก 17 คนนั้นได้รับบาดเจ็บ และขณะนี้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล” นายชนะระบุ
ทั้งนี้ ผู้รอดชีวิตได้มีการตั้งคำถามว่า เหตุใดพวกเขาได้รับการแจ้งเตือนเพียงน้อยนิดเกี่ยวกับการเกิดน้ำท่วม ซึ่งน้ำได้เข้าท่วมหลายหมู่บ้านเป็นวงกว้าง โดยมีระดับน้ำสูงหลายเมตรข่างรับเหมาชาวเกาหลีใต้ 2 คนระบุว่า ได้รายงานความเสียหายของเขื่อน ก่อนที่ส่วนของเขื่อนเซน้ำนอยจะแตกในวันจันทร์ (23 ก.ค.) และปล่อยน้ำจำนวนมากเข้าท่วมบ้านเรื่องประชาชน
Villagers take refuge on a rooftop above flood waters from a collapsed dam in the Attapeu district of southeastern Laos, Tuesday, July 24, 2018. Source: AAP
หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์รายงานว่า ตั้งแต่บ่ายวันพุธที่ผ่านมา (25 ก.ค.) มีผู้รอรับความช่วยเหลือเป็นจำนวน 3,000 คน โดยใช้ต้นไม้เป็นที่กำบังและอยู่อาศัยบนหลังคาบ้าน ขณะที่โทรทัศน์ลาวก็เผยแพร่ภาพประชาชนที่อยู่รวมกันบนหลังคาเพื่อรอความช่วยเหลือ ระหว่างที่น้ำโคลนไหลอย่างเชี่ยวกรากอยู่ด้านล่าง โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและอาสาสมัครท้องถิ่นนำร่องเข้าไปช่วยเหลือมีคำถามมากมายเกิดขึ้นจากเหตุในครั้งนี้ มีผู้คนที่พลัดถิ่นส่วนหนึ่งระบุว่า พวกเข้าได้รับการแจ้งเตือนให้ออกจากบ้านเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่น้ำจะท่วม
Lao villagers stay at a temporary shelter after the Xe Pian Xe Nam Noy dam collapsed. Source: ABC LAOS NEWS
“มันเกิดขึ้นเร็วมาก เรามีเวลาเตรียมตัวเพียงนิดเดียว บ้านทุกหลังในหมู่บ้านของฉันจมอยู่ใต้น้ำ คนในครอบครัวของฉันหายไป 4 คน ตอนนี้ฉันยังไม่รู้ะตากรรมของพวกเขา” จู ฮินลา ชาวบ้านวัย 68 ปี จากหมู่บ้านหินลาด บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีจากโรงเรือนที่อัดแน่นไปด้วยผู้คนพลัดถิ่นจากจังหวัดใกล้เคียงมากกว่า 700 คน
ผู้พลัดถิ่นนับร้อยคน ซึ่งมีผู้หญิง เด็ก และผู้สูงอายุ นั่งอยู่บนพื้นที่ปูด้วยถุงพลาสติก พร้อมกับข้าวของเพียงน้อยนิด
การสร้างเขื่อนของประเทศลาว
ประเทศลาว แม้จะเป็นประเทศยากจน แต่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้ตั้งเป้าเป็น “แบตเตอร์รี่แห่งเอเชีย” โดยการเปิดให้กลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาสร้างเขี่อนในบริเวณเครือข่ายแม่น้ำหลายสาย ขณะที่ความกังวลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการสร้างเขื่อน ซึ่งส่วนใหญ่ส่งพลังงานออกไปยังประเทศไทยและจีนนั้นถูกปิดเงียบในประเทศที่มีการควบคุมอย่างแน่นหนานี้
ประชาชนในทั่วประเทศถูกโยกย้ายถิ่นฐานหลายครั้ง เพื่อเปิดทางให้การสร้างเขื่อน ซึ่งประโยชน์ที่ได้ส่วนใหญ่นั้นตกไปอยู่ในมือของเจ้าของโครงการในต่างประเทศ เมื่อโครงการสร้างเขื่อนเสร็จสมบูรณ์ พลังงานไฟฟ้าประมาณร้อยละ 90 จากเขื่อนเซน้ำน้อยนั้นมีเป้าหมายที่จะถูกส่งไปยังประเทศไทย
บริเวณที่ถูกน้ำท่วมขังนั้นอยู่ในพื้นที่ห่างไกล สามารถเดินทางเข้าออกได้โดยเฮลิคอปเตอร์และเรือท้องแบน ถนนหลายสายถูกน้ำพัดเสียหายอย่างรุนแรงเกือบทั้งหมด
โฆษกของประธานาธิบดี มุน แจ-อิน ของเกาหลีใต้ระบุในกรุงโซล เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า (25 ก.ค.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ลงไปในพื้นที่
“รัฐบาลของเราต้องมีส่วนร่วมในการบรรเทาทุกข์ของประชาชนอย่างไม่รีรอ เนื่องจากบริษัทจากประเทศของเรามีส่วนร่วมในการสร้างเขื่อนแห่งนี้” โฆษกประธานาธิบดีเกาหลีใต้อ้างอิงคำพูดของนายมูน แจ-อิน
การแจ้งเตือนที่ได้รับการตั้งคำถาม
บริษัทรับเหมาจากเกาหลีใต้ 2 แห่งที่มีส่วนรวมในโครงการสร้างเขื่อนมูลค่า $1,200 ล้านดอลลาร์ระบุว่า ได้รับการรายงานความเสียหายของเขื่อนก่อนที่สันเขื่อนจะถล่ม และตามด้วยฝนจากลมมรสุม
บริษัทเอสเค เอนจิเนีย แอนด์ คอนสตรักชัน (SK Engineer & Construction) ระบุว่า พบวนบนของสันเขื่อนถูกน้ำพัดไปเมื่อวันอาทิตย์ (22 ก.ค.) เวลาประมาณ 21:00 น.
“เรารีบแจ้งกับเจ้าหน้าที่ทางการ และเริ่มอพยพประชาชนที่อยู่บริเวณด้านล่าง” ข้อความที่มีการระบุไว้ในแถลงการณ์ของบริษัท
ทางบริษัทระบุในแถลงการณ์อีกว่า งานซ่อมแซมเขื่อนถูกขัดขวางโดยฝนที่กระหน่ำลงมาจนถนนเสียหาย โดยน้ำได้ถูกปล่อยออกมาจากเขื่อนเซน้ำน้อย ในช่วงเช้าตรู่ของวันจันทร์ (23 ก.ค.) เพื่อเป็นการคลายแรงดันน้ำที่มีผลต่อโครงสร้างส่วนรอง
นอกจากนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุว่า รัฐบาลลาวได้ประกาศเตือนความเสียหายของเขื่อนในช่วงหลังจากนั้นช่วงประมาณเที่ยงวันของวันจันทร์ (23 ก.ค.) และเตือนให้ชาวบ้านบริเวณด้านล่างอพยพ จากนั้นโครงสร้างเขื่อนก็พังลงในอีก 2-3 ชั่วโมงต่อมา
บริษัทโคเรีย เวสเทิร์น พาวเวอร์ (Korea Western Power Co.) ผู้ดำเนินการเขื่อนแห่งนี้ระบุว่าเขื่อนรอง “แซดเดิล-ดี (Saddle-D)” แตกหลังจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
จากลำดับเหตุการณ์ที่บริษัทผู้ดำเนินการได้แจ้งในรายงานถึงเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายในเกาหลีใต้ และได้รับโดยสำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อเช้าวันศุกร์ (20 ก.ค.) ที่ผ่านมา ระบุว่า พบร่องรอยการทุดตัวความยาว 11 เซนติเมตรบริเวณกึ่งกลางของสันเขื่อน
อุปกรณ์ซ่อมแซมฉุกเฉินไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากการทรุดตัวนั้นเลวร้ายลง
“มันยังไม่มีความชัดเจนว่าอะไรที่ทำให้เขื่อนทรุดตัวในบางจุดจนเกิดรอยแตกขึ้นมา” โฆษกของ Korea Western Power บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพี
โดยเขื่อนพลังงานน้ำขนาด 410 เมกะวัตต์แห่งนี้ มีกำหนดที่จะเริ่มเดินหน้าการผลิตพลังงานภายในปี 2019
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อาหารทะเลนำเข้าในออสเตรเลียอาจผลิตโดยแรงงานทาส