ร้านค้าปลีกในออสเตรเลียได้รับการกระตุ้นให้มีวิธีปฏิบัติมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่พวกเขานำเข้ามาไม่ได้ถูกผลิตโดยแรงงานทาส
ในวันนี้ (26 ก.ค.) มีการตีพิมพ์รายงานการสังเกตการณ์แรงงานทาสในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Science Advances ที่มุ่งเป้าเพื่อสนับสนุนความตระหนักรู้ที่ดีขึ้นในหมู่ผู้บริโภคอาหารทะเล จัดจำหน่าย และประกอบการพาณิชย์
ศาสตราจารย์เทรเวอร์ วอร์ด (Trevor Ward) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ผู้จัดทำบทความดังกล่าว ได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ เพื่อตั้งคำถามถึงที่มาของอาหารทะเลของพวกเขา
"เป้าหมายของเราคือ ความรับผิดชอบจากภาคธุรกิจและภาคเอกชน ในการรายงานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานทาส" ศาสตราจารย์เทรเวอร์กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ขณะที่กฎหมายและนโยบายของออสเตรเลียที่เข้มงวดขึ้น ทำให้เรามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในออสเตรเลียนั้น ส่วนมากไม่ได้มาจากน้ำมือของแรงงานทาส ซึ่งมีรายงานว่า อุตสาหกรรมประมงของไทย อินโดนีเซีย และจีน เต็มไปด้วยแรงงานที่ถูกบังคับใช้แรงงาน โดยบ่อยครั้งได้แรงงานมาจากคนไร้รัฐ หรือแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งไม่สามารถร้องเรียนการถูกบังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาสในสภาพที่โหดร้ายกับหน่วยงานทางการได้
Migrant workers on a fishing boat Phuket, Thailand. Thailand's fishing industry is rife with slave labour. Source: Getty Images
แรงงานทาส การข่มขู่ และความรุนแรง
นางฟิโอนา เดวิด (Fiona David) ผู้อำนวยการบริหารการวิจัย มูลนิธิวอล์กฟรี (Walk Free Foundation) ระบุว่า ชาวประมงในประเทศเหล่านั้นมักจะถูกบังคับใช้แรงงานบนเรือเป็นเวลาหลายปี โดยไม่ได้รับค่าจ้าง และอยู่ภายใต้การข่มขู่และความรุนแรง
"เราเคยได้พบตัวอย่างเหตุการณ์ที่สุดโต่ง และไม่ได้เป็นการพูดเกินเลยว่า มีชาวประมงเป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ฆาตกรรม การกักขัง และการทุบตี" นางฟิโอนากล่าว
“เมื่อความเหี้ยมโหดต่อมนุษย์ และชีวิตของผู้คนเป็นเรื่องวิกฤต มันเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เราต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อสร้างเครื่องมือที่ได้ผล ซึ่งบริษัทต่างๆ สามารถนำไปใช้เพื่อทำให้แน่ใจว่า วิกฤตการณ์เหล่านั้นไม่ตกไปอยู่ในแหล่งวัตถุดิบของพวกเขา" นางฟิโอนากล่าว
"ไม่เพียงแต่ปัญหาแรงงานทาสยุคใหม่เท่านั้น เรากำลังนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่อาจผลิตโดยแรงงานทาสเข้ามาในซูเปอร์มาร์เก็ตอีกด้วย" นางฟิโอนากล่าว
จากการร่วมมือกับผู้จัดทำรายงานการสังเกตการณ์แรงงานทาสในแหล่งวัตถุดิบอาหารทะเล พบว่า บริษัทอาหาร 18 บริษัททั่วโลก ได้ตรวจสอบแหล่งวัตถุดิบของตนว่ามีแรงงานทาสอยู่ในกระบวนการประมง การผลิต และการขนส่งหรือไม่
เครื่องมือในการต่อสู้กับปัญหาแรงงานทาส
ศาสตราจารย์เทรเวอร์กล่าวว่า ได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่เปิดโอกาสให้ให้ภาคธุรกิจร่วมกับองค์กรสิทธิมนุษยชน เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการระบุหลักฐานการใช้แรงงานทาสในสายการผลิตต่างๆ
"พวกเขา (ธุรกิจ) สามารถตั้งคำถามไปยังแหล่งวัตถุดิบของตน หากพบว่ามีความเสี่ยงที่พวกเขาจะใช้แรงงานทาส และถ้าบริษัทต่างๆ มองย้อนกลับขึ้นไปและตั้งคำถามเดียวกันนี้ ก็จะเป็นการวิเคราะห์ที่ส่งต่อไปจนถึงผู้บริโภคในที่สุด" ศาสตราจารย์เทรเวอร์กล่าวนอกจากนี้ ศาสตราจารย์เทรเวอร์และผู้ช่วยจัดทำรายงานดังกล่าวหวังว่า บริษัทอาหารทะเลที่มีการใช้งานเครื่องมือนี้จะทำอะไรให้มากขึ้น ให้มั่นใจว่าพวกเขาซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่มีการจ้างแรงงานอย่างเหมาะสม
A migrant worker seen through a window of a fishing boat that is docked in Phuket. Source: Getty Images
ด้านมูลนิธิวอล์กฟรี ได้ตั้งเป้าเพื่อยุติการใช้แรงงานทาส โดยมีการระดมนักเคลื่อนไหวจากทั่วโลก ในขณะที่องค์กรแรงงานระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ได้บัญญัติความหมายของคำว่าแรงงานบังคับ หรือแรงงานทาสว่า "เป็นงานหรือบริการจากบุคคลที่ถูกบีบบังคับภายใต้การข่มขู่ว่าจะมีโทษทัณฑ์ และจากบุคคลที่ไม่ได้แสดงความสมัครใจ"
ทั้งนี้ มีการประมาณว่า ในแต่ละวัน จะมีผู้คนถูกใช้แรงงานทาสมากกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก
ออสเตรเลียได้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจัดประเภทว่า มีความเสี่ยงที่จะได้รับการผลิตจากแรงงานทาสเป็นมูลค่าประมาณ $12,000 ล้านดอลลาร์ โดยอาหารทะเลนั้นคิดเป็นส่วนมาก โดยแรงงานทาสส่วนใหญ่ถูกบังคับให้อยู่บนเรือประมงในทะเล ซึ่งโอกาสที่จะหลบหนีหรือได้รับการช่วยเหลือนั้นมีเพียงน้อยนิด
นายหน้าจัดหาแรงงานที่ไม่ได้รับการดูแลในประเทศอย่างไทย และอินโดนีเซีย มันจะตั้งเป้าหาแรงงานจากผู้ลี้ภัย และผู้อพยพย้ายถิ่นผิดกฎหมายจากประเทศอย่างเมียนมาร์ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา และเนปาล เพราะทราบดีว่า ผู้คนเหล่านี้ไม่สามารถร้องเรียนกับทางการได้
"อุตสาหกรรมอาหารทะเลมีความเฉพาะตัว มันคืองานที่ต้องไปอยู่กลางทะเลที่ใครก็หนีไปไหนไม่ได้ คุณต้องอยู่กลางทะเลหลายเดือน คุณไม่สามารถหลุดรอดไปได้เลย และนั้นคือที่มาของอาหารทะเลในซูเปอร์มาร์เก็ต ทูน่ากระป๋องที่อยู่บนโต๊ะอาหารชาวออสเตรเลีย รวมถึงกุ้งแช่แข็งที่เราทุกคนใช้ประกอบอาหาร" นางฟิโอนาระบุกับเอสบีเอสนิวส์
ความกดดันจากผู้บริโภค
ในขณะที่ภาคธุรกิจสามารถตั้งคำถามในเรื่องการจ้างแรงงานกับผู้จัดจ่ายวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ แต่ภาระกลับตกมาอยู่ที่ผู้บริโภค"เมื่อผู้บริโภคมีโอกาสในการตั้งคำถาม อย่างเช่น ทูน่าของฉันมาจากการแปรรูปซึ่งใช้แรงงานทาสหรือเปล่า บริษัทก็จะสามารถตอบได้ว่าใช่หรือไม่ใช่ แต่มันคือขั้นตอนที่ผู้บริโภคจะต้องดำเนินการด้วยตัวเอง" ศาสตราจารย์เทรเวอร์กล่าว
ภาพแรงงานต่างด้าวขณะกำลังเทปลาบนท่าเรือใน จ.ภูเก็ต นายหน้าผู้จัดหาแรงงานประมงส่วนใหญ่ตั้งเป้าไปที่ผู้อพยพย้ายถิ่นผิดกฎหมาย เพราะรู้ว่าพวกเขาแจ้งตำรวจไม่ได้ (Getty Images) Source: Getty Images
ผู้บริโภคนั้นได้รับการกระตุ้นให้ตรวจสอบประเทศที่มาของอาหารทะเล โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือเพาะปลูกในออสเตรเลียนั้นถึอว่าดีที่สุด ในขณะที่ผลิตภัณฑ์จากประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานทาสนั้นเป็นสิ่งที่ต้องสงสัย
ทั้งนี้ รัฐบาลสหพันธรัฐได้มอบหมายงบประมาณจำนวน $3.6 ล้านดอลลาร์ เพื่อจัดตั้งหน่วยงานรับมือกับธุรกิจแรงงานทาส ซึ่งจะแนะนำภาคธุรกิจในออสเตรเลียถึงวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหาแรงงานทาสในขั้นตอนการผลิต และจากผู้จัดจ่ายวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ไทยต้มไทยแบบ 4.0