มีคำเตือนให้ชาวออสเตรเลียที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรงจากอาหาร ให้ระวังสินค้าอาหารที่นำเข้าจากเอเชีย ซึ่งเต็มไปด้วยส่วนผสมของสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า โดยสารดังกล่าวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อาหารอย่างรุนแรงได้
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดสอบสินค้าอาหาร 50 ชนิด ที่ซื้อมาจากร้านขายของชำเอเชีย 6 แห่งในนครเมลเบิร์น และพบว่าร้อยละ 46 ของสินค้าอาหารเหล่านั้นประกอบด้วยสารก่อภูมิแพ้หนึ่งชนิด ที่ไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า
ที่แย่ไปกว่านั้น ร้อยละ 18 ของสินค้าเหล่านั้นประกอบด้วยสารก่อภูมิแพ้หลายชนิดที่ไม่ได้ระบุไว้บนฉลาก
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
อาหารแพ้...คนไม่แพ้
มีการตรวจพบสารก่อภูมิแพ้จากไข่ กลูเตน นม และถั่งลิสง ซึ่งบางครั้งพบเป็นปริมาณสูงมากในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เช่น ซุป ข้าวเกรียบ แครกเกอร์ บิสกิต และลูกอม
ศ.แอนดรีอัส โลปาตา ผู้นำการศึกษาวิจัยโครงการนี้ จากมหาวิทยาลัยเจมส์ คุก กล่าวว่า การค้นพบเหล่านี้นั้นน่าตกใจอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะการพบสารก่อภูมิแพ้ที่ไม่ได้ระบุไว้บนฉลากของสินค้าอาหารที่นำเข้าจากเอเชีย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในออสเตรเลีย
จีนเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าอาหารที่มีปริมาณการค้นพบสารก่อภูมิแพ้ที่ไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้ามากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือประเทศไทย และเกาหลีใต้ ตามลำดับศ.โลปาตา กล่าวว่ามีกฎระเบียบที่ดีเกี่ยวกับการให้ข้อมูลบนฉลากอาหารในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นในประเทศในเอเชียบางประเทศ
Source: AAP
ขณะที่มีการนำเข้าสินค้าอาหารจากเอเชียเข้ามายังออสเตรเลียเพิ่มมากขึ้นราวร้อยละ 2.5 ในแต่ละปี ศ.โลปาตา กล่าวว่า ผู้บริโภคจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงความเสี่ยง
“จากการที่มีการเรียกคืนสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น และมีเหตุการณ์ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาหารอย่างรุนแรงและเฉียบพลันเกิดขึ้นมากในออสเตรเลีย จึงสำคัญยิ่งที่จะต้องมีการดำเนินการเกี่ยวกับการระบุข้อมูลสารก่อภูมิแพ้บนฉลากสินค้าอาหาร เพื่อปกป้องผู้บริโภคที่มีอาการภูมิแพ้ที่นี่”
“การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากปฏิกิริยาปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันจากอาหารได้เพิ่มขึ้นราว 350 เปอร์เซ็นต์ในออสเตรเลีย ระหว่างปี 1997-2005 และเพิ่มขึ้นมากกว่านั้น 150 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 7 ปีหลังจากนั้นจนถึงปี 2012”
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
กล้องตรวจจับการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถเริ่มใช้ทั่ว NSW