ประเด็นสำคัญในข่าว
- มีหลักฐานที่ชี้ว่า “ภูมิคุ้มกันผสม” สร้างแอนติบอดีในร่างกายได้สูงกว่า และใช้เวลานานกว่าภูมิคุ้มกันจะลดลง
- การฉีดวัคซีนนั้นเป็นประโยชน์มากกว่าการติดเชื้อ เนื่องจากไม่นำไปสู่อาการลองโควิดหรือการแพร่เชื้อต่อไป
- องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ และการติดเชื้อซ้ำ
การวิเคราะห์ซึ่งมีพื้นฐานจากการศึกษา 26 ชิ้น แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีภูมิคุ้มกันลูกผสม (hybrid immunity) มีการปกป้องจากการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงและการเข้ารักษาในโรงพยาบาลมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ
“หนึ่งปีหลังจากการพัฒนาภูมิคุ้มกันลูกผสม ผู้คนจะมีโอกาสเจ็บป่วยอย่างรุนแรง หรือจำเป็นต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลน้อยลง 95% เป็นอย่างน้อย” การตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ชี้
“ในขณะที่ผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อปีที่แล้ว มีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่า 75%”
แต่อย่างไรก็ดี ภูมิคุ้มกันแบบลูกผสมไม่ได้มอบการปกป้องการติดเชื้อซ้ำให้สูงขึ้น
ในเวลา 1 ปีต่อมา ผู้ที่เคยมีภูมิคุ้มกันลูกผสมมีโอกาสติดเชื้อซ้ำน้อยกว่า 42% ส่วนผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนมีโอกาสน้อยกว่า 25% สำหรับการติดเชื้อซ้ำองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุ
หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลีย ระบุว่า การสัมผัสกับแอนติเจนซ้ำ (ผ่านการฉีดวัคซีน หรือจากการติดเชื้อ) จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตแอนติบอดี ซึ่งหมายความว่าผู้ที่มีภูมิคุ้มกันลูกผสมนั้นพบเจอกับแอนติเจนของโควิด-19 บ่อยครั้งกว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือได้รับการติดเชื้อแล้ว
มาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ (Maria Van Kerkhove) หัวหน้าฝ่ายเทคนิคโควิด-19 จากองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การวิเคราะห์นี้ไม่ใช่การส่งเสริมให้มีการติดเชื้อ
“ก่อนหน้านี้ฉันเคยบอกหลายครั้ง และฉันจะบอกเช่นนี้ต่อไปว่า ทำอะไรที่คุณทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ/ติดเชื้อซ้ำ”
ประโยชน์ของการรับวัคซีนเหนือการติดเชื้อ
หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลีย ระบุว่า วัคซีนจะกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในลักษณะที่ปลอดภัยกว่า และอยู่ภายในการควบคุม
“เมื่อสัมผัสกับไวรัสตามธรรมชาติ ปริมาณของโดสที่สัมผัสนั้น บ่อยครั้งจะมากกว่าการฉีดวัคซีน มันอาจหมายความว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะแย่ ทำให้ผู้คนไม่สบายมากขึ้น” หน่วยงานสาธารณสุข ระบุกับเอสบีเอส
การฉีดวัคซีนจะไม่ทำให้เกิดภาวะอาการลองโควิด หรือการติดเชื้อต่อไปหน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลีย ระบุ
“การฉีดวัคซีนจะไม่ทำให้เกิดภาวะอาการลองโควิด หรือการติดเชื้อต่อไป” หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลีย ระบุ
รัฐบาลออสเตรเลียกล่าวอีกว่า ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อและการฉีดวัคซีนนั้น แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ และภาวะด้านสุขภาพที่มีมาก่อนหน้านี้
"หลักฐานได้ชี้ว่า การฉีดวัคซีนจะสร้างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แม้กระทั่งในผู้สูงวัย” รัฐบาลออสเตรเลีย ระบุ
ผู้ติดเชื้อมาก่อนควรฉีดวัคซีนหรือไม่
ดร.นิคลาส โบโบรวิซ (Dr Niklas Bobrovitz) จาก ซึ่งร่วมกับองค์การอนามัยโลกในการวิเคราะห์ดังกล่าว ระบุว่า “ผลลัพธ์ของเรานั้นบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนถึงความจำเป็นในการฉีดวัคซีน แม้ว่าจะเป็นผู้ที่เคยติดโควิดมาแล้วก็ตาม”
ภูมิคุ้มกันลูกผสมที่แข็งแรง จะช่วยยุติการแพร่ระบาดใหญ่นี้ได้หรือไม่
ศาสตราจารย์ สตีฟ ร็อบสัน (Professor Steve Robson) ประธานแพทยสมาคมแห่งออสเตรเลีย (AMA) กล่าวว่า ภูมิคุ้มกันลูกผสมในออสเตรเลียนั้นยังคงกำลังพัฒนา และการวิเคราะห์ที่ได้มีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ เดอะ แลนเซ็ท (The Lancet) ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น
“การรับวัคซีนให้เป็นโดสปัจจุบันช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ ซึ่งหมายความว่า คุณจะมีโอกาสน้อยกว่าที่จะส่งผ่านมันไปสู่ใครสักคน” ศาสตราจารย์ร็อบสัน กล่าว
“หากคุณคิดว่าอยู่ในความเสี่ยงต่ำ และคิดว่าไม่จำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนเพื่อปกป้องตัวคุณเอง โปรดคิดถึงคนอื่น ๆ ที่ยังคงมีความเสี่ยง”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรใช้ยาต้านไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่
หน่วยงานสาธารณสุขออสเตรเลีย ระบุว่า เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ระดับการปกป้องที่วัคซีนในปัจจุบันและการติดเชื้อครั้งก่อนว่า จะมอบการป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ ๆ ได้ในระดับใด
“จากพื้นฐานของสถานการณ์ในออสเตรเลียและทั่วโลกเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการคาดไว้ว่า จะเกิดไวรัสสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่มีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่”
เอสบีเอส มุ่งมั่นในการให้บริการข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมของออสเตรเลีย ทำตนให้ปลอดภัย และ
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
โควิด-19: พบผู้มีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการบ่อยแค่ไหนและควรวิตกหรือไม่?