ออสเตรเลียจำเป็นต้องใช้งบประมาณราว $200,000 ล้านดอลลาร์ในทุกๆ 5 ปี เพื่อสนับสนุนโครงการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการขยายาตัวของประชากร
หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานออสเตรเลีย (Infrastructure Australia) ได้เตือนว่า ในการลงทุนระลอกใหม่นี้ มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้แน่ใจว่า ถนน ระบบขนส่งสาธารณะ โรงเรียน ระบบประปา ระบบไฟฟ้า และบริการสาธารณสุข จะช่วยสนับสนุนคุณภาพชีวิตของประชาชน และผลิตผลทางเศรษฐกิจ
หน่วยงานตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานของออสเตรเลีย (Australia Infrastructure Audit) ได้ยกตัวอย่างของผลกระทบจากระบบโครงสร้างพื้นฐานอันยำแย่ที่เห็นได้ชัด คือถนนหนทางที่จราจรติดขัด และระบบขนส่งสาธารณะที่หนาแน่นในเมืองใหญ่ๆ ทั่วออสเตรเลียความหนาแน่นติดขัดในโครงสร้างพื้นฐาน สร้างความเสียหายให้ระบบเศรษฐกิจเป็นมูลค่าราว $19,000 ล้านดอลลาร์ แต่ถ้าหากไม่นำงบประมาณมาปรับปรุงให้มากขึ้นกว่านี้ มูลค่าความเสียหายจะเพิ่มขึ้นถึงราว $40,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี 2031
The government cut the permanent migration cap in a bid to reduce congestion. Source: AAP
อีกส่วนหนึ่งที่อาจไม่เป็นที่สังเกตนัก แต่กำลังเผชิญกับปัญหาเดียวกับระบบโครงสร้างอื่นๆ นั่นคือ โรงพยาบาลและโรงเรียน ที่กำลังถึงขีดจำกัดในการรองรับผู้เข้ารับบริการ และเริ่มทรุดโทรม สวนสาธารณะที่หนาแน่น พื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ที่ลดลง ระบบประประที่เริ่มเสื่อมสภาพ รวมถึงปัญหาคุณภาพบริการอินเทอร์เน็ต บนโครงข่ายเอ็นบีเอ็น (NBN)
รายงานจากหน่วยงานดังกล่าวยังได้ระบุไว้ว่า การอพยพย้ายถิ่น เป็นกุญแจสำคัญที่ผลักดันให้อัตราเติบโตของประชากรในออสเตรเลียนั้นมากกว่าค่าเฉลี่ย
ในความพยายาม “คลายความแออัด” รัฐบาลได้ลดเพดานรับผู้อพยพย้ายถิ่นจาก 190,000 คน เหลือ 160,000 คน ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ทิศทางด้านประชากร ในงบประมาณแผ่นดินเดือนเมษายน 2019 ได้ชี้ให้เห็นถึงการคาดการณ์ของรัฐบาลว่า ผู้อพยพย้ายถื่นจากต่างประเทศจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการคาดการณ์ในครั้งก่อน เนื่องจากจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นชั่วคราวที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อครัวเรือน
ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่แออัด ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนคิดเป็นมูลค่าประมาณ $314 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์
ในขณะที่หลายคนคิดว่า ค่าไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของค่าครองชีพที่ต้องจ่ายมากที่สุด เพราะมีอัตราราคาที่เพิ่มสูงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อันที่จริงแล้ว ค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์นั้น คิดเป็นมูลค่าถึง $205 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์
โดยค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตนั้น คิดเป็นมูลค่า $45 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ ค่าไฟฟ้า $41 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ และค่าน้ำ $23 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์นอกจากการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นแล้ว หน่วยงานระบบโครงสร้างพื้นฐานออสเตรเลียยังเตือนถึงเรื่องการบำรุงรักษาในภาคส่วนต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน
Infrastructure Australia says the historic level of construction activity should be the "new normal". Source: AAP
“โครงการระบบโครงสร้างพื้นฐาน (ที่จะมีขึ้น) จะต้องทำมากกว่าการเทงบประมาณลงไปในช่องว่าง มันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวในทิศทางที่เราได้วางแผน ด้านการจัดสรรงบประมาณ และการส่งมอบระบบโครงสร้างพื้นฐาน นี่จะต้องเป้นมาตรฐานใหม่ หากเราต้องการที่จะตามให้ทันกับความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ” นางรอมิลี แมดิว (Romily Madew) กล่าวกับผู้สื่อข่าว
ทั้งนี้ ปัญหาด้านการวางแผนในระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้น เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ทิศทางประชากรที่ยังคงเปรียบเทียบการเติบโตโดยวิเคราะห์จากปัจจัยเก่าในหลายส่วน ในขณะที่การเติบโตบนตัวชี้วัดอื่นๆ นั้นเกิดขึ้นเร็วมากนายอลัน ทัดจ์ รัฐมนตรีด้านประชากรและโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า ความหนาแน่นในเขตเมืองหลวงเป็นปัญหาที่ไม่มีข้อกังขา
นายอลัน ทัดจ์ (Alan Tudge) กล่าวว่า รัฐบาลกำลังพูดคุยถึงประเด็นปัญหาของระบบโครงสร้างพื้นฐาน Source: AAP Image/Mick Tsikas
“นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมรัฐบาลจึงลดอัตรารับผู้อพยพย้ายถิ่น และลงทุนอย่างมากในการแก้ปัญหาควาแออัดในเมือง และวางแผนไว้สำหรับทิศทางประชากรในอนาคตของออสเตรเลีย” นายทัดจ์กล่าว
นอกจากนี้ นายทัดจ์ยังกล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวไม่ได้อยู่ในแผนระยะเวลา 10 ปีของรัฐบาล ที่จะอัดฉีดงบประมาณให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานราว $100,000 ล้านดอลลาร์
แตะเบรกแผนขยายเมืองใหญ่
นางแมดิว กล่าวว่า การมีอำนาจเหนือพื้นที่ชานเมืองนั้นจบลงแล้ว
เธออ้างอิงถึงประสบการณ์ในกรุงแคนเบอร์รา ซึ่งสมดุลระหว่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชานเมือง และพื้นที่ชั้นในอยู่ที่ 60 ต่อ 40 มาเป็นเวลายาวนานเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
นั่นหมายความว่า โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชานเมืองนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม โดยตัวอย่างของเรื่องนี้ คือ ความไม่ต่อเนื่องในการเข้าถึงระบบสาธารณะ โดยผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ชานเมืองร้อยละ 56 ไม่สามารถเดินไปใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะได้ เทียบกับตัวเมืองชั้นในซึ่งมีเพียงร้อยละ 4
นายปีเตอร์ โคลาชิโน (Peter Colacino) ผู้อำนวยการด้านนโยบายและการวิจัยของ Infrastructure Australia ได้มองลงไปถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โดยมองว่าเป็นผลตามมาจากคนรุ่นมิลเลเนียล ซึ่งจะอยู่ในตลาดแรงงานคิดเป็น 3 ใน 4 ภายในปี 2025
“คนรุ่นมิลเลเนียลมีความคาดหวังที่แตกต่าง ในแง่ของสมดุลการทำงานและการใช้ชีวิต ชั่วโมงงานที่ยืดหยุ่น การมีพาหนะเป็นของตัวเอง และโอกาสที่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ มีการเปลี่ยนผ่านจากประชากรรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ ไปสู่รุ่นมิลเลเนียล และรุ่นต่อๆ ไป ซึ่งวิธีการทำงานของคนรุ่นใหม่นี้ก็จะเปลี่ยนไป” นายโคลาชิโนกล่าว
แต่ทั้งหมดทั้งมวล นายโคลาชิโนกล่าวว่า ระบบขนส่งสาธารณะในออสเตรเลียนั้นได้รับการปรับปรุงดีขึ้น มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย
แต่ความท้าทายก็คือ การระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สมควรได้รับการลงทุนจะได้รับเงินทุนอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
ขณะนี้เกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ของประชากรออสเตรเลียเกิดในต่างประเทศ