รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
กลุ่มชาวโรฮิงญา 65 คน ถูกพบบนซากเรือบริเวณชายฝั่งทางภาคใต้ของ กองทัพเรือไทย เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการสืบสวนว่า ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์หรือไม่
ซากเรือดังกล่าวถูกพบเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (11 มิ.ย.) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา จ.สตูล ห่างจากชายแดนประเทศเมียนมาประมาณ 400 กิโลเมตร
ทั้งนี้ มีชาวโรฮิงญาราว 740,000 คน ที่ลี้ภัยออกจากประเทศเมียนมา หลังการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ทหารในปี 2017 ในการปราบปรามชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยไร้้รัฐในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลักผู้ลี้ภัยที่ถูกพบ ส่วนมากหลบหนีออกมาจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังคลาเทศที่แออัด ขณะที่คนอื่นๆ ตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ระหว่างหาโอกาสเพื่อมีชีวิตที่ดีกว่าในประเทศไทย และมาเลเซีย
Rohingya sits behind bars at police station. Source: AP
พล.ร.ท.กาญจน์ ดีอุบล โฆษกกองทัพเรือไทย กล่าวว่า ในกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่พบในครั้งนี้ มีผู้หญิง 31 คน และเด็ก 5 คน นอกจากนี้ยังพบชายไทยอีก 1 คน และชายสัญชาติเมียนมาอีก 5 คน บนซากเรือที่เสียหาย เบื้องต้น กลุ่มชายเหล่านั้นให้การกับเจ้าหน้าที่ว่า มาจับปลาในบริเวณนั้น และไม่มีความเกี่ยวข้องกับชาวโรฮิงญา
โดยเมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) โฆษกกองทัพเรือได้กล่าวอีกว่า มีการควบคุมตัวชาย 6 คน เพื่อทำการสอบสวนหลังพบพฤติกรรมมีพิรุธ
ขณะที่เจ้าหน้าที่บริหารส่วนจังหวัดกล่าวว่า ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ได้รับการสืบสวนกรณีเข้ามาในเขตแดนอย่างผิดกฎหมาย แต่ได้มีการขยายผลในเวลาต่อมา
“ทางการไทยยังไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ ซึ่งรวมถึงยังไม่มีการตั้งข้อหาค้ามนุษย์” ด้านแหล่งข่าวจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ระบุกับเอเอฟพี
ภาพจากกองทัพเรือไทย แสดงให้เห็นกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญารวมกลุ่มกันอยู่บนชายหาด บางส่วนกำลังกินข้าว ใกล้กับซากเรือที่เสียหายส่วนในบังคลาเทศ เจ้าหน้าสามารถสกัดผู้ต้องสงสัยค้ามนุษย์ที่กำลังหาโอกาสลำเลียงผู้ลี้ภัยจากค่ายที่ทรุดโทรม ในเมืองคอกซ์ บาซาร์ (Cox’s Bazar) ซึ่งมีชาวโรฮิงญาเกือบ 1 ล้านคนอาศัยอยู่ ทั้งหมดปฏิเสธที่จะกลับเมียนมา เพราะความไม่ปลอดภัย และสิทธิเสรีภาพที่ถูกลิดรอน
Thai security officials stand guard as they provide food to Rohingya refugees. Source: EPA
ขณะที่ทางการเมียนมาระบุว่าการใช้กำลังทหารเมื่อปี 2017 นั้น เป็นการถอนรากผู้ก่อความไม่สงบที่เป็นปฏิปักษ์กับเจ้าหน้าที่ทหาร และถึงแม้เมียนมาจะมีการทำข้อตกลงกับบังคลาเทศในการส่งตัวชาวโรฮิงญากลับเมียนมา แต่ก็ไม่มีผู้สมัครใจที่จะเดินทางกลับไป
เจ้าหน้าที่สืบสวนจากองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมานั้นเทียบได้กับการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” และได้มีการประสานไปยังเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
บั้นปลายชีวิตที่เจ็บปวดของผู้สูงวัย LGBTIQ+ ในสถานดูแล