รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ผู้สูงอายุซึ่งมีความหลากหลายทางเพศระบุว่า พวกเขาถูกบีบบังคับให้ปิดบังอัตลักษณ์และตัวตนทางเพศ เนื่องจากการเลือกปฏิบัตในสถานดูแลผู้สูงอายุ (เอจแคร์)
พวกเขาบอกกับรายการเดอะ ฟีด ว่า ความเกลียดกลัวและการเลือกปฏิบัติกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งหลายคนกลัวเกินกว่าที่จะบอกให้ใครรู้
เฮเซล "มาลอย" โรลฟ์ (Hazel 'Malloy' Rolfe) อายุ 87 ปี เธอสูญเสีย “นาตาลี” คนรักของเธอวัย 23 ปี เมื่อปี 2014 เธออาศัยอยู่ในที่พักอาศัยส่วนตัวในสถานดูแลผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง เธอเล่าว่า ฝ่ายจัดการสถานดูแล ได้สั่งห้ามไม่ให้เธอเปิดเผยตัวตนทางเพศ และถูกห้ามไม่ให้ไปเยี่ยมเยือนผู้สูงอายุคนอื่นๆ
“คุณไม่ได้รับอนุญาติให้พูดเรื่องตัวตนทางเพศในเอจแคร์ ผู้จัดการของที่นี่บอกว่า ถ้าปล่อยฉันออกไปพบใคร ฉันก็คงจะไปจูบกับคนอื่นๆ ฉันบอกเขาว่านั่นไม่ใช่ความจริง เพราะคนสุดท้ายที่ฉันจูบคือคู่ครองของฉันในวันที่เธอตาย” มาลอยกล่าวมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้ว่า มีผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอายุมากกว่า 65 ปีมากน้อยแค่ไหน เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนนี้ในออสเตรเลีย แต่สิ่งที่เรารู้คือ ผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศนั้นมีแนวโน้มต้องการความดูแลโดยสถานดูแลผู้สูงอายุ เพราะหลายคนไม่มีบุตรหลาน หรือครอบครับที่คอยช่วยเหลือ
Source: The Feed
แพทย์หญิงแคเธอรีน บาร์เรตต์ (Dr Catherine Barrette) เป็นผู้ก่อตั้ง อลิซ การาจ (Alice’s Garage) กลุ่มองค์กรระดับชาติที่ทำงานเพื่อสิทธิ์ของผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ เธอบอกว่า สถานดูแลผู้สูงน้อยมากที่จะรับรองว่า เปิดรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และนั่นทำให้พวกเขานั้นต้อง “หวาดผวา”
“มีผู้ที่พบเจอประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติและถูกคุกคามเพราะความหลากหลายทางเพศแบบเดียวกับมาลอยอีกนับร้อยคน” แพทย์หญิงบาร์เรตต์กล่าวไม่ใช่เพียงแค่สถานดูแลผู้สูงอายุเท่านั้น ในการบริการดูแลที่บ้าน ซึ่งเป็นบริการส่วนมากในธุรกิจการดูแล ก็มีการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นเช่นกัน
Source: The Feed
“ผมพูดคุยกับผู้คนที่เจอเรื่องเหล่านี้ พวกเขาถึงกับนำภาพถ่ายคู่กับคนรัก แฟนชาย หรือแฟนสาวของผู้รับการดูแลไปซ่อน มันเป็นเรื่องที่เลวร้าย” แมกซ์ พริมเมอร์ (Max Primmer) กล่าวกับเดอะฟีด
สำหรับแมกซ์ ถึงแม้เขาจะเป็นโรคปอดบวม ปอดรั่ว ได้รับการปลูกถ่ายไต และมีการผ่าตัดหัวใจมาก่อน เขาปฏิเสธที่จะย้ายไปรับบริการในสถานดูแล และไม่ต้องการให้มีผู้ดูแลมาบริการที่บ้าน
“มันรู้สึกเหมือนคุณกลับไปอยู่ในโลกประหลาดใบนั้นอีก โลกที่คุณเป็นคนผิดกฎหมาย คุณไม่ควรเข้าไปอยู่ตรงนั้น” แมกซ์กล่าว
ความช่วยเหลือจากรัฐบาล
ตั้งแต่ปี 2012 รัฐบาลสหพันธรัฐได้ใช้งบประมาณไปราว 13,000 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างยุทธศาสตร์และโครงการต่างๆ ที่มุ่งให้สถานดูแลผู้สูงอายุนั้นครอบคลุมถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการทำให้เห็นความรต้องการจากผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ
แต่ในขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุเหล่านั้นระบุว่า รัฐบาลจะต้องทำอะไรมากกว่านั้น เพราะในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดที่ระบุให้สถานดูแลผู้สูงอายุต้องรวมผู้มีความหลากหลายทางเพศเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการ
นางซาแมนธา เอดมอนส์ (Samantha Edmonds) เป็นผู้จัดการโครงการระดับชาติของ Silver Rainbow ที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ (National LGBTI Health Alliance) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพและการวิจัยที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงผู้คนและชุมชนของผู้มีความหลากหลายทางอัตลักษณ์เพศ วิถีเพศ และร่างกาย
เธอบอกว่า มันยังไม่เพียงพอที่จะพึ่งเพียงแค่ผู้ให้บริการการดูแลเท่านั้นในการทำให้ทุกๆ คนรวมกลุ่มเป็นหนึ่งเดียว
“มันยังไม่มีผลใดๆ ที่จะตามมาสำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่ยอมรับผู้สูงอายุ LGBTIQ+ เป็นส่วนหนึ่ง” นางเอดมอนส์กล่าวขณะที่ พญ.บาเรตต์ แสดงความเห็นด้วยกับนางเอดมอนส์
Source: The Feed
“ภาระความรับผิดชอบในเรื่องนี้ยังคงตกเป็นของผู้สูงอายุที่มีมีความหลากหลายทางเพศเพียงฝ่ายเดียว พวกเขาต้องฝืนใช้ชีวิต และหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ” พญ.บาเรตต์ กล่าว
เมื่อการไต่สวนโดยคณะกรรมการในพระองค์มาถึง
เมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน การตั้งคณะกรรมการไต่สวนในพระองค์ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของธุรกิจการดูแลได้เกิดขึ้น หลังมีการยื่นข้อร้องเรียนจากผู้สูงอายุชาวออสเตรเลีย รวมถึงครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องมีการส่งรายงานฉบับกลาง ภายในวันที่ 31 ตุลาคมนี้
ทั้งนี้ รายการ เดอะ ฟีด เข้าใจว่า คณะกรรมการไต่สวนได้มีการจัดการหารือร่วมกับตัวแทนผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ถึงเรื่องการรวมกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ
ส่วน The Silver Rainbow Project นั้น ได้ให้คำปรึกษาทั่วประเทศ โดยเก็บเรื่องราวการร้องเรียนโดยผู้สูงอายุ เพื่อนำส่งคณะกรรมการไต่สวนในพระองค์
พญ.บาเรตต์ กล่าวว่า การพิจารณาโดยคณะกรรมการ จะต้องรับรู้ถึงความบอบช้ำที่ส่งผลยาวนานชั่วชีวิตของผู้รับบริการดูแลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง“ผู้สูงอายุ LGBTI ต่างมีประสบการณ์ที่เลวร้ายจากการเลือกปฏิบัติมาเป็นเวลายาวนาน นี่คือเรื่องที่เราจะเป็นต้องรับรู้” พญ.บาเรตต์กล่าว
Source: The Feed
มาลอยบอกว่า การเลือกปฏิบัตที่เธอเผชิญ นำพาเรื่องราวของการอยู่ในสถานบำบัดทางเพศที่เธอต้องทนทุกข์ทรมานในวัยเยาว์กลับมา
“แค่เป็นในสิ่งที่เป็นไม่ได้ เท่านั้นก็พาทุกอย่างจากวันนั้นกลับมาหาฉันทั้งหมด”
แมกซ์ และมาลอย ต้องการที่จะให้แน่ใจว่า ผู้เข้ารับบริการในเอจแคร์คนอื่นๆ ในอนาคต จะไม่ต้องเจอการเลือกปฏิบัติ เช่นเดียวกับที่พวกเขาได้พบเจอมา
“เรามาไกลถึงขนาดที่มีการแต่งงานที่เท่าเทียมกันทุกเพศ แต่มันก็ยังมีเรื่องอีกมากที่เราต้องต่อสู้”
หากนี่เป็นเรื่องราวที่คุณกำลังพบเจอ และส่งผลถึงคุณ โปรดติดต่อ
QLife หมายเลขโทรศัพท์ 1800 184 527 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ เว็บไซต์ Silver Rainbow
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
ร่วมพัฒนาสุขภาพทางเพศกับ ACON