ทำความเข้าใจเรื่องสภาพอากาศที่ทำให้ "น้ำ" เป็นทรัพยากรที่มีค่าของออสเตรเลีย

Lake Eildon was built in the 1950's to provide irriga

Lake Eildon was built in the 1950's to provide irrigation water for the Goulburn Valley Credit: Construction Photography/Avalon/Getty Images

ออสเตรเลียคือทวีปที่มีความแห้งแล้งมากที่สุด โดยประเมินจากประมาณน้ำฝน อุณหภูมิและรูปแบบสภาพอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ วันนี้ Australia Explained พาคุณมาทำความเข้าใจถึงความหลากหลายทางชีววิทยาในออสเตรเลีย


Key Points
  • ออสเตรเลียเป็นทวีปที่แห้งแล้งที่สุดในโลก และสภาวะแห้งแล้งยาวนานติดต่อกันหลายเดือน เป็นสาเหตุของไฟป่าและอากาศที่ร้อนจัด
  • การแบ่งเขตในประเทศออสเตรเลียจากความแตกต่างของสภาพอากาศ ที่จำแนกประเภทได้ด้วยอุณหภูมิ ความชื้น พืชพันธุ์ และปริมาณน้ำฝนในแต่ละฤดูกาล
  • น้ำ คือทรัพยากรที่มีค่าในออสเตรเลีย โดยมีระบบนิเวศที่เปราะบางอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ การรบกวนพื้นดินจากกิจกรรมลุกล้ำของมนุษย์เป็นตัวการณ์สำคัญ
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ จึงทำให้มีสภาวะอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรงในบางช่วงของปี ไม่ว่าจะเป็นพายุไซโคลนฤดูร้อน น้ำท่วม คลื่นความร้อน และภัยแล้ง

ซึ่งสภาพอากาศในประเทศออสเตรเลียนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศทั่วทั้งแผ่นดินของออสเตรเลีย อีกทั้งระบบนิเวศในบางภูมิภาคนั้นมีความเปราะบางและเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเมื่อเกิดสภาพอากาศแปรปรวน มีไฟป่า และภัยแล้ง จึงทำให้การร่วมมือในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้เป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญ

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ได้แต่งบทกลอนชื่อ "My Country" ซึ่งที่เกี่ยวกับประเทศของเธอไว้ถึงความสวยงามและความโดดเดี่ยวของผืนแผ่นดินนี้


“ฉันรักประเทศของฉันที่ถูกแดดแผดเผา
ผืนดินที่กว้างใหญ่
ภูเขาที่มากมาย
ที่ทั้งแห้งแล้งและถูกพายุฝนกระหน่ำ…”

ถ้อยคำเหล่านี้ที่บรรยายถึงออสเตรเลียก็ยังคงสะท้อนสภาพภูมิประเทศได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีคุณแคเธอรีน แกนเทอร์ นักอุตุวิทยาชั้นอาวุโสจากสำนักอุตุนิยมวิทยาเป็นผู้ให้ความเห็นเสริมไว้อีกว่า

“ออสเตรเลียนั้นเป็นดินแดนที่ขึ้นชื่อเรื่องความแห้งแล้งและฝนกระหน่ำ นอกจากบางภูมิภาคอาจจะต้องเผชิญกับความแห้งแล้งติดกันหลายปี ที่นำมาซึ่งอุณหภูมิสูงและความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ และในขณะเดียวกัน ก็อาจเกิดพายุฝนกระหน่ำอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นน้ำท่วมมวลน้ำมหาศาลได้” คุณแกนเทอร์กล่าว

The stark landscape of the Monaro Tablelands which is one of 19 ecosystems collapsing in Australia - Image Greening Australia.JPG
โมเนโร เทเบิลแลนส์ (Monaro Tablelands) หนึ่งใน 19 พื้นที่ของออสเตรเลียที่ถูกค้นพบว่ากำลังประสบปัญหาด้านระบบนิเวศมากที่สุดในออสเตรเลีย - Image Greening Australia. Credit: Annette Ruzicka

สภาวะอากาศที่รุนแรง

คุณแกนเทอร์เล่าว่ามันยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดสภาวะอากาศที่รุนแรงในออสเตรเลีย

และการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรอินเดีย ก็เป็นตัวการณ์สำคัญที่เพิ่มโอกาสให้เกิดสภาวะอากาศที่รุนแรงในออสเตรเลียด้วยเช่นกัน” คุณแกนเทอร์อธิบาย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพื้นที่รวมของประเทศจะมีขนาดใหญ่มากกว่า 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ออสเตรเลียนั้นมีพื้นที่เท่ากับเพียงห้าเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่แผ่นดินทั้งหมดในโลก

Australian climate zones based on temperature and humidity - credit BOM.png
พื้นที่แต่ละโซนของออสเตรเลียสามารถแบ่งออกได้ด้วยความแตกต่างของสภาพอากาศและความชื้น - credit BOM.png
“ออสเตรเลียนั้นมีแผ่นดินขนาดใหญ่ที่พาดอยู่บนแผนที่โลกตั้งแต่พื้นที่เขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรไปจนถึงเขตละติจูดปานกลางที่มีอากาศเย็น จึงทำให้สภาพอากาศในแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั่วทั้งประเทศ เกิดเป็นความหลากหลายทางสภาพอากาศในประเทศออสเตรเลียนั่นเอง” คุณแกนเทอร์กล่าว

ความแปรผันของอุณหภูมิและความชื้น การเกิดพืชพันธุ์ที่แตกต่าง ไปจนถึงปริมาณน้ำฝนในแต่ละฤดูนั้น สามารถแบ่งแต่ละโซนด้วยสภาพอากาศได้

“สภาพอากาศของออสเตรเลียเช่นนี้บ่งบอกได้ว่า ฤดูกาลของออสเตรเลียจะมีสภาพที่ตรงกันข้ามกับประเทศในฝั่งซีกโลกเหนือ อาทิ อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย และในขณะที่ออสเตรเลียตอนใต้มีฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งช่วงฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตามทางตอนเหนือของออสเตรเลียนั้นจะมีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่า ซึ่งมีเพียงสองฤดูกาลตลอดทั้งปี ได้แก่ ช่วงฤดูฝนช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน และช่วงฤดูร้อนหรือแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน” คุณแกนเทอร์เล่าให้เราฟัง

Lake Keepit in New South Wales - Image Wallula-Pixabay.jpg
ทะเลสาปคีพิท (Lake Keepit) ในรัฐนิว เซาท์ เวลส์ - Image Wallula-Pixabay
ด้วยสภาพอากาศที่หลากหลายและซับซ้อน ชาวพื้นเมืองในอดีตของออสเตรเลียจึงมีกระบวนการทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลจากพิกัดของพื้นที่ที่ชาวพื้นเมืองอยู่อาศัยจึงเกิดเป็นขึ้น โดยคุณแกนเทอร์เสริมเพิ่มเติมว่า

“พื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรอย่างตอนเหนือของออสเตรเลียจะมีแสงแดดมาก ปริมาณน้ำฝนมาก และมีพายุไซโคลนฤดูร้อน ส่วนทางตอนใต้ของออสเตรเลียนั้นจะมีสภาพอากาศที่เย็นกว่า ทางตะวันตกเฉียงใต้ก็จะร้อนจัดและแห้งตลอดช่วงซัมเมอร์ และทางด้านชายฝั่งตะวันออกก็จะมีอากาศอบอุ่น โดยสภาพโดยรวมนั้น ออสเตรเลียเป็นประเทศที่จัดได้ว่าแห้งมาก เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของผืนดินทั้งหมดจะมีปริมาณน้ำฝนน้อย” คุณแกนเทอร์เล่า

ปริมาณน้ำและความแห้งแล้งนั้นส่งผลกระทบต่อการเกษตรกรรม การใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อมของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้น้ำสะอาดคือสิ่งที่มีค่าในออสเตรเลีย เพราะกว่าครึ่งของพื้นที่ประเทศเรานั้นมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 350 มิลลิเมตรในแต่ละปี

ออสเตรเลียเป็นทวีปที่แห้งแล้วที่สุดในโลก และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นมีปริมาณน้ำที่จำกัด แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศของเรานั้นมีการปรับตัวเข้ากับสภาวะเช่นนี้ได้ดีเยี่ยม
Seasonal rainfall zones of Australia - credit BOM.png
การแบ่งพื้นที่ของออสเตรเลียด้วยเกณฑ์ปริมาณน้ำฝนตามฤดูกาล - credit BOM.
“ในขณะที่พื้นที่บางส่วนของประเทศนั้นประสบปัญหาน้ำท่วม แต่ปริมาณน้ำเพื่อการบริโภคและบริโภคนั้นยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวลในหลายชุมชน อย่างเช่น ในออสเตรเลียตะวันตกเฉียงใต้ที่มีประมาณน้ำฝนลดลงกว่า 20 เปอร์เซ็นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970” ด็อกเตอร์แบลร์ พาร์สันส์ ผู้อำนวยการด้านผลกระทบทางธรรมชาติจากองค์กร เล่าให้เราฟัง

จากความหลากหลายทางภูมิประเทศในอดีตที่มีวิวัฒนาการมานับพันล้านปี ปัจจุบัน ออสเตรเลียมีสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงทางธรรมชาติหลายรูปแบบ โดยดร. พาร์สันส์ อธิบายว่า

“ในปัจจุบัน ระบบนิเวศที่มีความเฉพาะตัวและบอบบางอย่างออสเตรเลียนั้นมีความน่าเป็นห่วงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ การสูญเสียหน้าดิน และกิจกรรมของมนุษย์ที่ลุกล้ำธรรมชาติ ไม่มีสถานที่ไหนจะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนได้ดีไปกว่าแนวปะการัง เดอะ เกรท แบริเออร์ รีฟ (The Great Barrier Reef) ที่แนวโน้มว่าจะสูญหายไปภายในปี 2100 ถ้าเราไม่สามารถเร่งลงมือและแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้” ดร. พาร์สันส์กล่าว

คุณภาพน้ำที่แย่นั้นเป็นกุญแจสำคัญที่ส่งผลกับสภาพของแนวปะการังดังกล่าว ในทุก ๆ ปี เศษขยะกว่าพื้นดินได้ไหลไปสร้างผลกระทบให้กับสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นอย่างมหาศาล อีกทั้งยังลดโอกาสการฟื้นตัวของแนวปะการังอีกด้วย

Coral on the Great Barrier Reef - Image Greening Australia.jpg
แนวปะการังของเดอะ เกรท แบริเออร์ รีฟ - Image Greening Australia
“องค์กรกรีนนิง ออสเตรเลีย (Greening Australia) นั้นทำงานร่วมกับคนในชุมชนท้องถิ่นและชุมชนชาวพื้นเมืองชาติแรก (First Nations Communities) เพื่อสร้างห้วยน้ำขึ้นใหม่และฟื้นฟูแนวชายฝั่ง เพราะพื้นที่เร่งฟื้นฟูเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนไตที่จะทำหน้าที่กรองของเสียออกก่อนจะไหลลงสู่ทะเล นับตั้งแต่ ที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2016 ที่ผ่านมา พวกเราได้ขจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากน้ำเสียไปมากกว่า 44,000 ตันก่อนจะปล่อยน้ำออกสู่แนวปะการัง ซึ่งนับเป็นอัตราส่วนถึง 90% ของทั้งหมดเลยทีเดียว” คุณพาร์สันส์กล่าว

climate.jpg
คุณแคเธอรีน แกนเทอร์ นักอุตุวิทยาจากสำนักอุตุนิยมวิทยา - Image BOM. และดร. แบลร์ พาร์สันส์ ผู้อำนวยการด้านผลกระทบทางธรรมชาติจากองค์กร Greening Australia เ - Image Greening Australia.

การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือสภาพอากาศที่รุนแรง

  • เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพอากาศและความเสี่ยง รวมไปถึงอัพเดตสถานการณ์ทางอากาศได้จาก
  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของ (BOM) ไว้ได้ที่
  • ขอรับคำปรึกษาเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศได้ที่

Share