การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปี ซึ่งนำโดยนักศึกษา 'กลุ่มราษฎร' ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในส่วนของบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ และเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อดีดผู้บัญชาการกองทัพบกไทย ที่ได้ยึดอำนาจผ่านการทำรัฐประหารเมื่อปี 2014 ให้ลาออกจากตำแหน่ง
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (17 พ.ย.) ได้เกิดความรุนแรงครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่การชุมนุมที่นำโดยกลุ่มนักศึกษาเริ่มต้น เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลใช้แก๊สน้ำตา และรถฉีดน้ำแรงดันสูงกับผู้ชุมนุม 'กลุ่มราษฎร' ขณะที่มีผู้ชุมนุมกลุ่มบางส่วนเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล
ส่วนที่ออสเตรเลีย แม้การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยดังกล่าวจะมีผู้คนไม่มากนัก แต่พวกเขาก็ได้ส่งเสียงออกมาให้เป็นที่รับรู้ เช่นเดียวกับที่เมืองไทย
คุณกัญณัฏฐ์ คัลฟาจีอานิส (Kanyanatt Kalfagiannis) ได้ย้ายจากประเทศไทยมายังนครซิดนีย์เมื่อปีก่อน เธอกล่าวว่า มันเป็นเรื่องใจสลาย เมื่อเธอเห็นภาพการชุมนุมประท้วงที่เมืองไทย
“สิ่งที่ได้มองเห็นจากที่นี่ทำให้หัวใจสลายอย่างมาก อย่างแรกเลย เรารู้สึกไร้อำนาจที่จะทำสิ่งใดได้ และพวกเรารู้สึกว่าอยากจะทำในสิ่งที่เราทำได้เพื่อช่วยเหลือประเทศไทย นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงออกมาประท้วง และเราพยายามหาความช่วยเหลือจากนานาชาติด้วยเช่นกัน” คุณ กัญณัฏฐ์ กล่าว
คุณกัญณัฏฐ์ ได้ริเริ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ขยายไปทั่วออสเตรเลีย เพื่อยืนหยัดเคียงข้างการเคลื่อนไหวโดยกลุ่มนักศึกษาที่ประเทศไทย และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีชื่อว่า “พันธมิตรออสเตรเลียเพื่อประชาธิปไตยไทย (The Australian Alliance for Thai Democracy)” ซึ่งได้เคลื่อนไหวไปถึงบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยที่กรุงแคนเบอร์รา และอาคารรัฐสภาออสเตรเลียแม้จะอยู่นอกประเทศไทย แต่การท้าทายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งผู้คนให้ความเครารพนับถือ ในรูปแบบใดก็ตาม อาจส่งผลร้ายต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์ ด้วยความผิดในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากกฎหมายอาญามาตรา 112 (Lèse-majesté)
Australian Alliance for Thai democracy protests in Canberra at the Thai embassy (L) and Parliament House (R) Source: Supplied
“ฉันรู้ว่า ถ้าฉันออกมาประท้วงหน้าสถานทูตไทยกรุงแคนเบอร์รา ฉันอาจถูกห้ามไม่ให้เดินทางกลับประเทศของฉันเองได้ แต่ฉันยินดีที่จะทำ หากมันจะช่วยเหลือผู้ประท้วงในประเทศไทยและช่วยเรื่องความปลอดภัยของพวกเขา” คุณ กัญณัฏฐ์ กล่าว
“ไม่ชนะก็ตาย มีโทษประหารที่กำลังรอพวกเราอยู่ ดังนั้น ผู้ประท้วงในประเทศไทยกำลังเสียสละทุกอย่างที่พวกเขามี”
‘พระมหากษัตริย์คือทุกสิ่งทุกอย่าง’
คุณไก่ ฮิลแลม (Hkai Hillam) ซึ่งอาศัยอยู่ในออสเตรเลียมากว่า 40 ปี เธอกล่าวว่า ความจงรักภักดีต่อประเทศไทย และต่อพระมหากษัตริย์ไทยของเธอนั้น ยังหนักแน่นไม่เสื่อมคลาย
“พระมหากษัตริย์หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับคนไทย เพราะพระองค์ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย พระมหากษัตริย์ทรงทำงานอย่างดีเยี่ยมเพื่อประเทศและช่วยเหลือผู้คนทั้งหมด” คุณไก่ ฮิลแลม กล่าวคุณไก่กล่าวอีกว่า สำหรับบางคนที่ไม่ได้เติบโตมาในประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ จะไม่เข้าใจถึงความสำคัญในส่วนนี้
Hkai Hillam says the Thai king "means everything" to the country. Source: SBS News
“ผู้ที่ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือไม่มีพระมหากษัตริย์ในประเทศของตนย่อมไม่เข้าใจ พวกเราเติบโตมาแบบนั้น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเหมือนพ่อของชาติ พระราชินีทรงเป็นเหมือนแม่ของแผ่นดิน พวกเราเป็นเหมือนลูก เรามีความผูกพัน” คุณไก่ ฮิลแลม กล่าว
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ชุมนุมเรียร้องประชาธิปไตยนับพันคนไม่ให้ความสนใจกับขบวนเสด็จของพระมหากษัตริย์ไทย โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้กระทำสัญลักษณ์ชูสามนิ้ว ระหว่างที่ขบวนเสด็จเคลื่อนผ่านใจกลางกรุงเทพมหานคร
และเมื่อพระองค์เสด็จถึงพิธีเปิดโครงการเส้นทางรถไฟฟ้าทางตะวันตกของของกรุงเทพ ฯ พระองค์ทรงได้รับการต้อนรับจากพสกนิกรผู้ภักดี และได้ตรัสถึงความสำคัญของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ด้านสำนักพระราชวังของไทยไม่แสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าว ขณะที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงตรัสเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทรงมีความรักต่อประชาชนที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน และประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอมขณะที่การประท้วงต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์เกิดขึ้น มีการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
Source: Pixabay
สำหรับคุณไก่ ฮิลแลม เธอไม่รู้สึกเดือดร้อนกับการประท้วงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เธอยอมรับว่า มีผู้ประท้วงบางส่วนที่มุ่งใช้ความรุนแรงเป็นหลัก และรวมตัวกันเป็นจำนวนมากอย่างประมาท ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
“เรื่องการประท้วง เราไม่ถือสา ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย แต่พวกเขาก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย” คุณไก่ ฮิลแลม กล่าว
พระมหากษัตริย์ไทยทรงอยู่ในอำนาจสูงสุดของสังคมไทย และได้รับการสนับสนุนจากกองทัพฝ่ายราชวงศ์ และตระกูลมหาเศรษฐีในประเทศ พระองค์ใช้เวลาส่วนมากอยู่ในทวีปยุโรป แต่ล่าสุด พระองค์ได้ประทับอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว
ช่องว่างที่ห่างของคนต่างวัย
ดูเหมือนว่า ช่องว่างของคนต่างวัยจะขยายกว้างยิ่งขึ้น ระหว่างผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่เป็นคนรุ่นที่อายุน้อย และผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นคนรุ่นที่อายุมากกว่า
แม้แต่ในย่านไทย ทาวน์ ในนครซิดนีย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของคนไทยที่เต็มไปด้วยคนไทย อาหารไทย และวัฒนธรรมไทย ช่องว่างระหว่างคนต่างวัยนั้นชัดเจน
นักเรียนไทยบางคนบอกกับเอสบีเอส นิวส์ ว่า พวกเขาไม่กล้าที่จะแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยต่อหน้ากล้องโทรทัศน์ เพราะพวกเขาเกรงว่าจะถูกพ่อแม่ของตนตำหนิ
คุณโทน บวชสันเที๊ยะ วัย 26 ปี ที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำโดยกลุ่มนักศึกษา และกำลังจะอาศัยอยู่ในออสเตรเลียครบ 6 ปี ในปี 2021 เขาบอกว่า ครอบครัวของเขามีความเห็นที่แตกต่างต่อการชุมนุมดังกล่าว
“คนในครอบครัวของผมมีความเห็นที่แตกต่าง บางคนก็ไม่เห็นด้วย บางคนก็เห็นด้วย” คุณโทน กล่าวเขากล่าวอีกว่า การเติบโตมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีที่มากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมาก เริ่มตั้งคำถามกับสถาบันพระมหากษัตริย์
Tone Buadsantia says many young Thais want to see change Source: SBS News
“ในรุ่นเรา มีช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารมากมาย เมื่อเทียบกับคนรุ่นเก่า” คุณโทน กล่าว
คุณกัญณัฏฐ์ คัลฟาจีอานิส เห็นด้วยในส่วนนี้
“ในอดีต หลายสิ่งถูกนำเสนอเพียงด้านเดียว คนรุ่นเก่าจะรู้สึกว่า การไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้พวกเขารู้สึกไม่เป็นมนุษย์อีกต่อไป ส่วนคนรุ่นใหม่ พวกเขาเติบโตมาด้วยความคิดสดใหม่ และยุคของอินเตอร์เน็ตก็ได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง” คุณกัญณัฏฐ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีการกล่าวหาว่า กลุ่มผู้ชุมนุมที่นำโดยกลุ่มนักศึกษาเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ต้องการจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งพวกเขาได้ปฏิเสธ
“เรายังคงต้องการให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เรายังคงมีความเคารพ แต่สิ่งที่เราต้องการคือความเปลี่ยนแปลง” คุณโทน กล่าว
นายกรัฐมนตรีของไทยกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างญัตติต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนมากไม่ได้ระบุถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในส่วนใดก็ตาม คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลานาน ขณะที่สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร มีความเป็นไปได้น้อยที่จะลงคะแนนเสียงให้ฝ่ายตนเองเป็นผู้พ่ายแพ้
“ผู้คนในรุ่นของเราต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง เราเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้ และหากรัฐบาลไทยรับฟังเรา เราสามารถหาแนวทางในการปรับปรุงประเทศของเราไปด้วยกัน” คุณโทน บวชสันเที๊ยะ กล่าว
“ผมต้องการให้ทั้งสองฝ่าย หันหน้าเข้าหาหัน และมาพูดคุยกัน”
LISTEN TO
นร.ไทยในออสฯ บางส่วนสนับสนุนการเคลื่อนไหว 'กลุ่มราษฎร'
SBS Thai
19/11/202006:42
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
มองหลากอาชีพ