กด ▶️ ด้านบนเพื่อฟังพอดคาสต์
ตอนแรกเรามาผ่านการตั้งตัวยังไงบ้าง ตั้งแต่ย้ายมาออสเตรเลีย?
ต้องบอกตามตรงว่าการย้ายมาของเรานั้นค่อนข้างราบรื่นในการย้ายถื่นฐานมา ย้อนกลับไปเมื่อง 2017 แพรวเรามาจบโทที่นี่ด้าน Human Resources Management กับ Industrial Relation ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney)
งานแรกของเราในออสเตรเลีย ส่วนตัวมองว่าหางานไม่ยาก ซึ่งเราเคยได้งานที่ตรงสายในบริษัทดิจิตอลแบงค์แห่งหนึ่งที่ซิดนีย์ โดยหน้าที่หลัก ๆ ดูแลเรื่องการทำเรื่องเงินเดือนของพนักงาน กระบวนการดูแลพนักงานใหม่ ไปจนถึงเรื่องการทำเรื่องลาออกพนักงาน
คุณแพรวและเพื่อนร่วมงานในองค์กร
ทำงานประจำได้ราว ๆ หนึ่งปี เราและสามีจึงเริ่มมีไอเดียว่าเราน่าจะอยากออกไปหาอะไรทำเป็นของตัวเอง ส่วนหนึ่งเพราะสามีไม่ค่อยชอบงานประจำที่ทำอยู่ตอนนั้น เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ได้ออกจากงานประจำมาทำธุรกิจของตัวเอง
ถึงแม้จะได้งานตรงสายที่เรียนมา เราเตรียมตัวอย่างไรก่อนเริ่มงาน?
เตรียมตัวเยอะมากค่ะ ก่อนเข้ามาก็มีเรื่องเราต้องเติมความรู้เช่นลงคอร์สหรือหาอะไรเรียนรู้เพิ่มเติมให้เราดูเป็นคนชอบพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
สิ่งที่ต้องปรับตัวเยอะจริง ๆ คือตอนที่เข้าไปทำงานแล้ว เพราะเราไม่ค่อยชอบคุยเล่นกับคนที่เราไม่สนิทหรือคนแปลกหน้า แต่ในสังคมออสเตรเลียเค้าจะชอบทักทายคุยกันก่อนจะเข้าเรื่อง เราเลยมีความต้องฝืนธรรมชาติตัวเองระดับนึง
เราควรจะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของเค้า เพื่อให้เราและทีมทำงานด้วยกันได้ง่ายขึ้น ถ้าเค้ารู้สึกดีที่ได้ทำงานร่วมกับเราคุณแพรวกล่าว
ส่วนในตัวเนื้องาน เรามองว่าไม่มีปัญหา ตราบใดที่เราเรียนรู้เร็วและกล้าถามเมื่อมีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือจากทีม เรามีประสบการณ์ทำ งานที่ดีจากองค์กรที่นี่
คุณแพรวและเพื่อนร่วมงานที่บริษัทธนาคารในเมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย
เรารู้สึกเสียดายไหมที่ตัดสินใจลาออกจากงานที่มั่นคงในตอนนั้น?
รู้สึกแรก ๆ ช่วงที่เรายังไม่ได้ลาออก แล้วหัวหน้าคือดีมาก เค้าพยายามทำทุกอย่างให้เราอยู่และพยายามหาข้อเสนอมาให้ เช่น เปิดทำงานแบบรีโมทโดยอนุญาตให้เราเปลี่ยนจากทำงานฟูลไทม์มาเป็นพาร์ทไทม์ได้ แถมยังจะเสนอตำแหน่งใหม่ให้เราเป็น Consultant อีกด้วย
แต่สุดท้ายมันมาถึงจุดที่ร้านไม่สามารถทำคนเดียวได้ เพราะทั้งเราและสามีไม่เคยทำร้านมาก่อน พวกเราเลยตัดสินใจว่าควรจะออกมาทำร้านอย่างเดียวด้วยกันดีกว่าคุณแพรวเล่า
จุดที่ทำให้เรากล้าตัดสินใจออกมาคือเราคิดว่า เราทำงานนี้มาจนถึงจุดที่เราสามารถต่อรองได้ขนาดนี้ เราเลยมั่นใจว่าถ้าเราจะกลับไปทำงานบริษัทก็ไม่น่าใช่เรื่องยาก บวกกับประสบการณ์ที่เราออกมาทำธุรกิจของเราเองมาแล้วด้วย ซึ่งเราเชื่อว่าคนออสเตรเลียที่นี่เค้าชื่นชมในความกล้าออกมาเรียนรู้ของเรา
เราคิดว่าถ้าผิดพลาดก็แค่กลับไปทำงานบริษัท นั่นเลยเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจให้เรากล้าออกมาจากงานประจำเพื่อลองเริ่มทำธุรกิจของตัวเองอย่างจริงจัง
คุณแพรวกับการรับบทเป็นครูสอนโยคะในประเทศออสเตรเลีย
มีความแตกต่างของผู้ชายหรือผู้หญิงในที่ทำงานในออสเตรเลียยังไงบ้างไหมคะ?
จริง ๆ ที่ไทยเราไม่กล้าพูดถึงมากตอนอยู่ไทยเราจะทำธุรกิจที่บ้าน แต่ในมุมของค่าจ้าง เราทำงานเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างพนักงานในองค์กรใหญ่ เราบอกได้เลยว่าค่าตัวไม่เกี่ยวกับเพศ
ในทางกลับกัน จากประสบการณ์ของเราในองค์กรนั้น ทีมของเราจะค่อนข้างถูกจับตามองในเรื่องของความหลากหลายในการจ้างงานพนักงาน และมีตั้งเป้าไว้เลยว่าต้องจ้างผู้หญิงและผู้ชายจำนวนเท่าไหร่ ไม่ว่าจะจำนวนในแผนกตำแหน่งทีมบริหาร
ในออสเตรเลียเท่าที่เราสัมผัสมา เราคิดว่าไม่ว่าชายหรือหญิง ทุกคนได้รับโอกาสที่เท่ากันคุณแพรวเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์การทำงานในองค์กรใหญ่ที่ออสเตรเลีย
ร้าน Homm ในมุมมองของเรา?
ตอนนี้เรามองว่า Homm ไม่ได้เป็นแค่ร้านขนม แต่เรามองว่ามันเป็นแบรนด์แล้ว เราเปิดขึ้นมาเป้นร้านเล็ก ๆ ตอนแรกแค่ไว้เลี้ยงชีพ เหมือนคนที่อยากมีร้านอาหารหรือคาเฟ่ของตัวเอง
ตอนนี้ธุรกิจอายุเพิ่งครบหนึ่งปีได้ไม่นาน ร้านค่อนข้างขายดีค่ะ ก็เลยกำลังวางแผนโครงสร้างบริษัทใหม่ และก็มุ่งหน้าไปที่การขยายสาขาเฟรนไชส์และโกอินเตอร์ เพราะในปีแรกของเรา เราเปิดไปสามร้านแล้ว
หนึ่งในสาขาของแบรนด์ Homm ในเมืองเมลเบิร์นก่อนจะพร้อมเปิดให้บริการ
รู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะออกมาทำธุรกิจของตัวเอง?
"เราไม่เชื่อว่ามันมีวันพร้อมสำหรับอะไรเลย เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่เมื่อเราอินกับอะไร เราจะเป็นคนลงมือทำเลย"
ตั้งแต่อยู่ซิดนีย์มา เราเคยเป็นครูสอนโยคะมาก่อนด้วย แต่ทุกครั้งที่จะเริ่มทำอะไรใหม่ เราจะประเมินไว้เสมอว่า ถ้าทำแล้วไม่รอด เรามีตัวเลือกอะไรให้เราทำต่อ และต้องคิดไว้ล่วงหน้าว่าเราสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่