SBS Examines: เราจะต่อสู้กับข้อมูลเท็จโดยไม่คุกคามเสรีภาพในการพูดของเราได้หรือไม่?

ድሕሪ ረፈረንደም ንነጻነት ካታሎንያ ዝነበረ ተርእዮ

เสรีภาพในการรับข้อมูล แม้จะไม่ได้กล่าวถึงหรือคุ้มครองเป็นพิเศษในออสเตรเลีย แต่ก็ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน Source: Getty / Dan Kitwood

มีการเรียกร้องให้ปราบปรามการแชร์ข้อมูลเท็จทางออนไลน์ แต่การกระทำดังกล่าวจะถือเป็นการโจมตีเสรีภาพในการพูดหรือไม่


ในขณะนี้ World Economic Forum ได้กำหนดให้ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนที่แชร์ออกไปโดยตั้งใจหรือผิดพลาดเป็นความเสี่ยงระดับโลกสูงสุด

โซเชียลมีเดียไม่ได้ทำให้ปัญหาดีขึ้นเลย

จอช เซปส์ ผู้ผลิตและพิธีกรรายการ Uncomfortable Conversations กล่าวว่า “เราเป็นอารยธรรมที่ได้รับอาวุธนิวเคลียร์ในรูปแบบของโซเชียลมีเดีย และกำลังจะมีปัญญาประดิษฐ์มาแทรกแซงเหมือนกับการราดน้ำมันลงบนกองไฟ”

ในฐานะผู้สนับสนุนเสรีภาพในการพูดอย่างเปิดเผย เขาเป็นกังวลว่าการแบ่งปันความคิดทางออนไลน์อาจถูกตีความผิดว่าเป็นการแบ่งปันข้อมูลเท็จ

“ความจริงก็คือ หากคุณจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่มีความหลากหลาย หลากหลายเชื้อชาติ และมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ... คุณจะต้องต่อสู้กับความคิดมากมายที่คนบางกลุ่มในสังคมนั้นจะมองว่าน่ารังเกียจหรือดูหมิ่น” เขากล่าวกับ SBS Examines

“และบางส่วนอาจเข้าข่ายเป็นข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือน”

ลอร์เรน ฟินเลย์ กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า จำเป็นต้องมีการกำหนดนิยามของข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนอย่างเหมาะสม

เธอกล่าวว่า “เราต้องปกป้องผู้คนจากข้อมูลเท็จ และในเวลาเดียวกันต้องแน่ใจว่าเราปกป้องเสรีภาพในการพูด”

พอดคาสต์ SBS Examines ในตอนนี้จะพาไปหาคำตอบของคำถามที่ว่า เราสามารถต่อสู้กับข้อมูลที่ผิดพลาดโดยไม่จำกัดเสรีภาพในการพูดได้หรือไม่

Share