ควรทำอย่างไรถ้าคุณติดเชื้อไวรัสโคโรนาในออสเตรเลีย?

ขณะที่การสร้างระยะห่างทางสังคมและมาตรการปิดเมืองกำลังใช้ได้ผล แต่ยังคงสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้คนในออสเตรเลียต้องรู้ว่า ควรทำอย่างไรหากติดเชื้อโควิด-19 และไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล

COVID-19 has forced the shutdown of public life across Australia.

Source: Getty Images

การได้รับคำยืนยันว่ามีเชื้อโควิด-19 อาจเป็นประสบการณ์ที่น่าวิตกและน่ากลัว

จนถึงขณะนี้ ประสบการณ์นี้เกิดขึ้นกับผู้คนกว่า 6,000 คนในออสเตรเลีย

และขณะที่เป็นที่ยอมรับว่า ออสเตรเลียกำลังสามารถลดอัตราผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ให้น้อยลงได้ แต่มีแนวโน้มว่าจะมีผู้คนอีกมากมายที่จะติดเชื้อก่อนที่การระบาดของเชื้อนี้จะซาลง

ดังนั้น จึงสำคัญอย่างยิ่งที่ ผู้ที่ถูกยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา จะต้องรู้ว่าควรทำอย่างไร

คุณควรทำอย่างไรหากติดเชื้อไวรัสโคโรนา?

นพ.คริส มอย แพทย์ทั่วไปและประธาน สาขาเซาท์ออสเตรเลีย ของแพทยสมาคมแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า สิ่งแรกที่ผู้ที่ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาควรทำคือ การอยู่บ้าน และผู้ที่อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ติดเชื้อก็ต้องทำเช่นเดียวกัน

“เห็นได้ชัดว่า สิ่งแรกคือ พวกเขาต้องอยู่บ้าน เพราะพวกเขาไม่ต้องการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น” นพ.มอย บอกกับ เอสบีเอส นิวส์

“และพวกเขาควรอยู่ให้ห่างจากคนอื่นๆ ในบ้าน บุคคลอื่นที่อยู่ในบ้านหลังเดียวกันก็จะกลายเป็นผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้มีเชื้อ ดังนั้น พวกเขาจึงจำเป็นต้องแยกตัวเพื่อกักโรคเช่นเดียวกัน”

แล้วผู้คนที่คุณอาจนำเชื้อไปติดล่ะ?

จะมีกระบวนการติดตามหาผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ที่เรียกกันว่า คอนแทกต์ แทรซซิง (contact tracing)

นพ.มอย กล่าวว่า ผู้ที่ถูกระบุว่าเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่อาจแตกต่างกันไป

“ขณะนี้ จำนวนยังน้อยอยู่จึงพอที่เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขจะสามารถติดต่อบุคคลแต่ละคน และแจ้งให้ทราบถึงสิ่งพวกเขาจำเป็นต้องทำได้” นพ. มอย กล่าว
A couple wear face masks as a precaution against the spread of Coronavirus in Brisbane..Covid-19 pandemic hits Australian capital cities. Sports, music events are cancelled or postponed and school, universities and business follow government guidelines ab
People wearing face masks after picking up food in Brisbane. Source: AAP Image/Florent Rols / SOPA Images/Sipa USA
“เช่น ในเซาท์ออสเตรเลีย แต่ละคนจะได้รับการติดต่อ พวกเขาจะได้รับแจ้งถึงสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์”

“บางคน หากเริ่มมีอาการป่วยบ้างแล้ว พวกเขาอาจได้รับแจ้งว่าพวกเขาจำเป็นต้องอยู่บ้านนานเท่าไร แต่อย่างไรก็ตาม บางคน เช่น ผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ ที่ความจริงจำเป็นต้องได้รับการตรวจเชื้อ ก็อาจต้องอยู่บ้านนานกว่า ก่อนที่พวกเขาจะสามารถกลับไปทำงานได้”

จะทำอย่างไรหากคุณเกิดอาการไม่สบาย?

นายแพทย์มอย กล่าวว่า ผู้คนที่กำลังแยกตัวเพื่อกักโรค จำเป็นต้องผู้สังเกตอาการของตนและขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ หากอาการของพวกเขาแย่ลง

“ไม่จำกัดว่าจะเป็นช่วงที่คุณกำลังอยู่บ้าน หรือหลังจากช่วงที่คุณได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านแล้ว หากคุณป่วยมากขึ้นในระหว่างนั้น คุณจำเป็นต้องขอรับการรักษา โดยให้โทรศัพท์ หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อขอคำแนะนำว่าคุณควรได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนหรือไม่”

“นั่นอาจเป็นการต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หากคุณเกิดมีอาการปอดบวมที่น่าหวาดหวั่น”

ดังนั้น ไม่ใช่ทุกคนจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลใช่ไหม?

ไม่ใช่ทุกคนที่ถูกยืนยันว่ามีเชื้อไวรัสโคโรนาควรต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล

นพ.มอย เตือนว่า สำหรับผู้ที่ไม่ได้ป่วยหนัก การไปโรงพยาบาลจะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรที่มีค่า

“ผมหมายความว่า เรามีศักยภาพที่จำกัด และมีปัญหา 2 อย่างเกี่ยวกับประเด็นนี้ อย่างแรกคือ มันสิ้นเปลืองศักยภาพของโรงพยาบาล ซึ่งพวกเราจะจำเป็นต้องใช้ และขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น มันก็จะไม่อาจกระทำได้อีกต่อไป”

“อีกอย่างคือ มันมีเหตุผลสมควรที่จะอยู่ที่บ้านได้ และไม่นำไวรัสมาที่โรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อส่วนบุคคลจำนวนมากในการให้การรักษาแก่คุณ ซึ่งจะสูญไปในการบริหารจัดการคุณ ในเมื่อความจริงแล้วคุณอาจไม่ได้เป็นอะไรมาก”

แล้วบริการเทเลเฮล์ท (Telehealth) ล่ะ?

ท่ามกลางวิกฤตไวรัสโคโรนา รัฐบาลสหพันธรัฐของออสเตรเลียใช้งบประมาณมหาศาลในการขยายการให้บริการพบแพทย์ทางโทรศัพท์ หรือเทเลเฮล์ท ซึ่งช่วยให้ผู้คนในออสเตรเลียสามารถติดต่อและรับคำปรึกษาจากแพทย์ทางไกลได้

นพ.มอย กล่าวว่า นี่เป็นการดีสำหรับแพทย์ และผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่กำลังแยกตัวเพื่อกักโรค ควรฉวยโอกาสจากบริการนี้เมื่อทำได้

“บริการเทเลเฮล์ท ช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการเรื่องนี้ได้ค่อนข้างดี ความจริงแล้ว มันไม่ยากที่จะประเมินอาการป่วยผ่านทางเทเลเฮล์ท ว่าคนไข้มีอาการเลวร้ายลงหรือไม่”

“ขณะนี้ บางครั้ง พวกเขาอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายที่เหมาะสม และพวกเขาอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจเอ็กซเรย์ นั่นจะเป็นสิ่งที่ยากขึ้นมา แต่มันขึ้นอยู่กับสภาพของคนไข้ และกรณีของแต่ละบุคคล”

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ออสเตรเลียทำได้ดีเพียงใดในการลดอัตราการติดเชื้อ?

สำนวน แฟลตเทน เดอะ เคิร์ฟ (flatten the curve) หรือการลดอัตราการติดเชื้อไวรัสโคโรนากลายเป็นศัพท์เฉพาะที่ได้ยินกันทั่วไปในออสเตรเลียในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

สำนวนนี้หมายถึงการลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยพยายามให้อัตราเหล่านั้นอยู่ภายใต้ขีดจำกัด ของทรัพยากรในระบบสุขภาพสำหรับการให้การรักษาแก่ประชาชน

นพ.มอย กล่าวว่า ดูเหมือนว่ามาตรการเข้มงวดที่เราได้เห็น ซึ่งแม้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในออสเตรเลียในทุกๆ ด้านในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็ดูเหมือนว่ามาตรการเหล่านี้กำลังทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง

“โดยรวมแล้ว ผมมีความหวังเต็มเปี่ยมว่าเราจะเริ่มเห็นความเชื่อใจกันมากขึ้น ในเรื่องของการสร้างระยะห่างทางสังคม มาตรการการแยกตัวจากสังคมเพื่อกักโรค ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ทั่วประเทศออสเตรเลีย หวังว่าเราจะเริ่มเห็นการเริ่มต้นของกราฟอัตราการติดเชื้อที่สูงชันน้อยลง”

แต่ นพ.มอย ก็เตือนว่า ชาวออสเตรเลียยังไม่สามารถชะล่าใจได้ และทุกคนจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างมากในการปฏิบัติตัวของเราต่อไป

หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมว่าควรทำอย่างไรหากคุณติดเชื้อโควิด-19 หรือคุณเพิ่งได้รับผลการตรวจเชื้อที่ระบุว่าติดเชื้อ สามารถไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้ 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

นายกฯ ออสเตรเลียส่งสารถึงคนไทยช่วงสงกรานต์


Share
Published 13 April 2020 3:48pm
By Sunil Awasthi
Presented by Parisuth Sodsai


Share this with family and friends