สัปดาห์ผู้ลี้ภัยคืออะไรและเหตุใดต้องจัดทุกปีในออสเตรเลีย?

สัปดาห์ผู้ลี้ภัยเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีในออสเตรเลีย เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย และเพื่อเฉลิมฉลองคุโณปการที่ผู้ลี้ภัยร่วมสร้างให้แก่สังคมออสเตรเลีย

Refugees

Credit: Getty Images/bymuratdeniz

ประเด็นสำคัญ
  • สัปดาห์ผู้ลี้ภัยเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของออสเตรเลียเพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย
  • สัปดาห์ผู้ลี้ภัยในแต่ละปีจะมีแนวคิดหลัก (ธีม) ที่แตกต่างกันไป
  • สภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลียดำเนินโครงการมากมายตลอดทั้งปีเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย
  • ในทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า
ทุก ๆ ปี ผู้คนหลายล้านคนถูกบีบคั้นให้ต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิดเพื่อแสวงหาที่ปลอดภัย

สัปดาห์ผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียมักจัดขึ้นตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ในสัปดาห์ที่มีวันที่ 20 มิถุนายน ซึ่งเป็น รวมอยู่ด้วย

สัปดาห์ผู้ลี้ภัยจัดขึ้นครั้งแรกที่ซิดนีย์ในปี 1986 โดยออสต์แคร์ (Austcare) ในปี 1987 สภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย (RCOA) ได้กลายเป็นผู้ร่วมจัดงานสัปดาห์ผู้ลี้ภัย และงานนี้ได้กลายเป็นงานระดับประเทศในปีถัดมา จากนั้น RCOA ได้รับหน้าที่ประสานงานการจัดงานสัปดาห์ผู้ลี้ภัยทั่วประเทศในปี 2004

คุณอดามา คามารา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย หรือ RCOA กล่าวว่าหนึ่งในจุดมุ่งหมายของสัปดาห์ผู้ลี้ภัยคือการเฉลิมฉลองคุโณปการที่ผู้ลี้ภัยร่วมสร้างให้แก่สังคมออสเตรเลีย
Adama Kamara Deputy CEO RCOA
คุณอดามา คามารา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย Credit: RCOA
เป้าหมายโดยรวมคือเพื่อให้เรามีความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างชุมชนผู้ลี้ภัยและชุมชนที่ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย … และให้การต้อนรับซึ่งกันและกันมากขึ้น
อดามา คามารา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย

แนวคิดหลักประจำปีของสัปดาห์ผู้ลี้ภัย

สัปดาห์ผู้ลี้ภัยในแต่ละปีจะมีแนวคิดหลักหรือธีม (theme) ที่แตกต่างกันไป นี่ก็เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียและทั่วโลก และเพื่อช่วยให้ชุมชนในวงกว้างเข้าใจว่าการเป็นผู้ลี้ภัยเป็นอย่างไร

แนวคิดหลักหรือธีมช่วยให้สารที่ส่งออกไปเป็นหนึ่งเดียวและสอดคล้องกัน ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ทำให้ช่วยเพิ่มผลสะท้อนของแคมเปญและกิจกรรมการสร้างความตระหนักรู้

การมีแนวคิดหลักประจำปีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นำบุคคล ชุมชน และองค์กรที่มีภูมิหลังหลากหลายมารวมกันภายใต้จุดประสงค์ร่วมกัน ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจอันทรงพลังว่า แม้เราจะแตกต่างกัน แต่เราทุกคนก็เชื่อมโยงกัน ด้วยมนุษยธรรมที่เรามีร่วมกัน

การล้มและลุกขึ้นได้เร็ว (resilience) ของผู้ลี้ภัย

คุณโอลิเวอร์ สเลวา เป็นทนายความในซิดนีย์และเป็นหนึ่งในทูตสันถวไมตรีประจำสัปดาห์ผู้ลี้ภัย เขาเติบโตในครอบครัวชาวอัสซีเรียในอิรักและเดินทางผ่านจอร์แดน ตุรกี และกรีซในฐานะผู้ลี้ภัย ก่อนจะได้ที่พักพิงเพื่อลี้ภัยในออสเตรเลียในปี 1994

คุณสเลวากล่าวว่า บาดแผลทางใจที่สืบทอดกันมาในคนหลายรุ่นอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะบรรเทาลง แต่การเยียวยาจะสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อผู้ลี้ภัยเริ่มต้น “การเดินทางเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่”

เขาเชื่อว่าองค์ประกอบสำคัญของการเยียวยาสำหรับผู้ลี้ภัยคือ “ความสามารถในการล้มและลุกขึ้นได้อย่างรวดเร็ว” (resilience) และกล่าวว่า “ขั้นตอนการเยียวยาเริ่มตั้งแต่วันที่คุณก้าวเท้าเข้ามาในออสเตรเลีย”
การพูดคุยกับผู้อื่น การบอกเล่าเรื่องราวของคุณ การที่สามารถพูดคุยเรื่องการเดินทางนั้นได้อย่างเปิดเผยโดยไม่มีอคติ และการได้รับการยอมรับ ท้ายที่สุดแล้วเป็นสิ่งที่ต้องการ (สำหรับผู้ลี้ภัย) ผมคิดว่าการได้รับการยอมรับ ได้รับความเคารพ จะช่วยกระบวนการเยียวยาได้
โอลิเวอร์ สเลวา หนึ่งในทูตสันถวไมตรีประจำสัปดาห์ผู้ลี้ภัย
RCOA ambassador, Oliver Slewa
โอลิเวอร์ สเลวา เป็นทนายความในซิดนีย์และเป็นหนึ่งในทูตสันถวไมตรีประจำสัปดาห์ผู้ลี้ภัย Source: Supplied / Supplied by RCOA

โครงการ 'Face-to-Face'

มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ มากมายที่ดำเนินการโดยสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย หรือ RCOA ในช่วงสัปดาห์ผู้ลี้ภัยและหลังจากนั้น

 Face-to-Face เป็นหนึ่งในโครงการที่เกิดขึ้นตลอดสัปดาห์ผู้ลี้ภัย โดยเป็นการเข้าไปพูดคุยกับนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ และมีการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยทูตสันถวไมตรีและผู้แทนของ RCOA

 วิทยากรที่เป็นผู้ลี้ภัยจะบอกเล่าเรื่องราวส่วนบุคคลเกี่ยวกับการเดินทางหาที่ปลอดภัยเพื่อลี้ภัย และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ประสบการณ์ของพวกเขา และการร่วมสร้างคุโณปการของพวกเขาในออสเตรเลีย

กิจกรรมนี้ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ครู และกลุ่มผู้สนใจ
Face-2-Face program workshop
การประชุมเชิงปฏิบัติการของโครงการ Face-2-Face Credit: RCOA

จำนวนผู้พลัดถิ่นเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

ในทศวรรษที่ผ่านมา จาก 41 ล้านคนเป็น 103 ล้านคน (ในเดือนมิถุนายน 2022)

 จากข้อมูลของ ปัจจุบันผู้คน 1 ใน 95 คนถูกบีบคั้นให้ต้องพลัดถิ่น โดยเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 159 คนในปี 2010 โดยอัตราการพลัดถิ่นทั่วโลกในขณะนี้แซงหน้าการเติบโตของประชากร

 คุณคามารากล่าวว่า RCOA กำลังสนับสนุนให้รัฐบาลออสเตรเลียเพิ่มจำนวนการรับผู้ลี้ภัยต่อปีภายใต้โครงการด้านมนุษยธรรม


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 19 June 2023 12:24pm
By Roza Germian
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends