หวั่นควันไฟป่ากระทบสุขภาพ คนแห่สวมหน้ากาก

NEWS: ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ามลภาวะจากการจราจรส่งผลเสียมากกว่าควันจากไฟป่า พร้อมแนะสถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง

A woman seen wearing a dust mask as smoke haze from bushfires in New South Wales blankets the CBD in Sydney, Tuesday, December 3, 2019. (AAP Image/Joel Carrett) NO ARCHIVING

Some Sydney-siders are wearing face masks to help cope with the smoke. Source: AAP

ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.: สถานการณ์หมอกควันในซิดนีย์เข้าขั้นวิกฤต  ด้านสำนักอุตุนิยมวิทยาออสฯ เตือนรัฐนิวเซาท์เวลส์ระวังคลื่นความร้อนที่จะก่อตัว

 


 

 

จากสถานการณ์ไฟป่าที่ยังเผาไหม้ต่อเนื่องกว่า 12 จุดทั่วทั้งรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทำให้นครซิดนีย์จะมีหมอกควันปกคลุมตลอดทั้งหน้าร้อนนี้ ซึ่งจากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่านครซิดนีย์จะยังมีทัศนะวิสัยเช่นนี้ต่อไปอีกสองสามวัน

นอกเหนือจากทัศนะวิสัยที่มืดมัวแล้ว ควันจากไฟป่านี้ยังมีฝุ่นควันที่มีอนุภาคของ PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นควันที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อคุณสูดฝุ่นควันเหล่านี้เข้าไปมันจะสามารถเข้าไปในปอดของคุณและแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ทันที
Commuter ferries sail past the Sydney Harbour Bridge as smoke haze from bushfires in New South Wales blankets the CBD in Sydney, Monday, December 2, 2019. (AAP Image/Steven Saphore) NO ARCHIVING
Commuter ferries sail past the Sydney Harbour Bridge as smoke haze from bushfires in New South Wales blankets the CBD. Source: AAP
มีการเปรียบเทียบว่าตอนนี้เมื่อคุณสูดอากาศในนครซิดนีย์ก็เหมือนกับคุณสูบบุหรี่ 30 มวนต่อวัน แต่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์กล่าวว่า การเปรียบเทียบนี้ยังไม่ตรงกับความจริงเท่าไหร่นัก ศาตราจารย์ กาย มากซ์ แพทย์ทางด้านระบบทางเดินหายใจ จากสถาบันวิจัยทางการแพทย์ วูลค็อก เปิดเผยกับเอสบีเอส นิวส์ ว่า

“มันเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง แต่ยังไม่ใช่สิ่งที่น่าตกใจ ความจริงแล้วควันจากการสูบบุหรี่จะมีสารพิษบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งจะแตกต่างจากควันที่มาจากการเผาไม้หรือมวลชีวภาพทั้งหลาย ดังนั้นผมจึงไม่มีความกังวลเท่าไหร่ว่าควันจากไฟป่าจะอันตรายเท่ากับควันจากการสูบุหรี่”  ศาตราจารย์ กาย มากซ์ ให้ความเห็น

แต่การที่หายใจเอาควันไฟเข้าไปเป็นระยะเวลานานๆ ก็สามารถที่จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและก่อให้เกิดการระคายเคืองตาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีอาการหอบหืดหรือคนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับปอด

คุณจะป้องกันตนเองได้อย่างไร

วิธีที่ดีที่สุดคือการอยู่ในอาคารที่ปิดประตูและหน้าต่างไม่ให้ควันเข้ามาได้ ใช้เครื่องกรองอาการภายในอาคารที่ปิดสนิทก็จะช่วยให้คุณคัดกรองอนุภาคของฝุ่นที่หลุดลอดเข้ามาออกไปได้

ศาตราจารย์ กาย มากซ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ แนะนำว่า แต่คุณควรใช้สามัญสำนึกเมื่อคุณต้องออกไปทำกิจกรรมข้างนอก

“แน่นอนว่าตอนนี้มันคงไม่ใช่ช่วงเวลาที่คุณควรจะวิ่งมาราธอน ฮาล์ฟมาราธอน หรือ กิจกรรมการออกกำลังกายกลางแจ้ง”
Sydney-siders are concerned about the impact of exposure to bushfire smoke.
Sydney-siders are concerned about the impact of exposure to bushfire smoke. Source: AAP
ชาวนครซิดนีย์บางคนเริ่มสวมหน้ากากเพื่อป้องกันตนเองจากเรื่องควันไฟป่า แต่การสวมหน้ากากนั้นยังเป็นเรื่องที่ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่าจะป้องกันสุขภาพได้จริงหรือไม่

ศาสตราจารย์ มากซ์ กล่าวว่าเรื่องหน้ากากนั้นมันขึ้นอยู่กับว่าเป็นหน้ากากประเภทใด ตัวอย่างเช่นการสวมหน้ากากที่ใช้ในห้องผ่าตัดนั้นไม่ได้ช่วยป้องกันอะไรเลย เขาชี้ว่า

“หน้ากากที่เห็นคนใช้กันทั่วไปเช่นหน้ากากที่ใช้ในห้องผ่าตัดนั้นเป็นหน้ากากที่หลวมๆ ซึ่งจุดประสงค์หลักของมันคือการออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง ซึ่งหน้ากากประเภทนี้นั้นไม่สามารถป้องกันอันตรายจากฝุ่นควันได้  แต่หน้ากากที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือหน้ากากที่เรียกว่า หน้ากาก P 2 หรือหน้ากาก N 95  ซึ่งจะสามารถกรองอนุภาคของฝุ่นควันจิ๋วออกไปได้ถึง ร้อยละ 95”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลู เออวิงค์ แพทย์ระบบทางเดินหายใจ จากโรงพยาบาลรอยัลเมลเบิร์น และศูนย์มะเร็ง ปีเตอร์ แมคคัลลัม  มีความคิดเห็นแตกต่างออกไป เพราะว่าขณะนี้การสวมหน้ากากยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับคนทั่วไป เขากล่าวว่า

“ ควันจากไฟป่าที่ลอยปกคลุมทั่วนครซิดนีย์นั้นไม่เป็นอันตรายสำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับปอด”

“ แต่มันก็จะมีช่วงที่ควันหนาทึบมากซึ่งจะทำให้คนที่ไวต่อสิ่งเร้านี้ เช่นคนที่ป่วยเป็นหอบหืด หรือคนที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ตกอยู่ในความเสี่ยง และพวกเขาต้องระมัดระวังตัว โดยการใส่หน้ากากที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะช่วยได้ แต่สิ่งที่สามารถป้องกันตัวเองได้ดีที่สุดคือการอยู่ในอาคาร” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลู เออวิงค์ แนะนำ

 มลภาวะจากการจราจรน่าห่วงมากกว่า

ในขณะที่หมอกควันจากไฟป่านั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับชี้ว่าเราควรเป็นห่วงกับควันที่มองไม่เห็นจากการจราจรที่ผู้คนที่อาศัยในเมืองรวมถึงคนที่เข้ามาทำงานในเมืองสูดดมกันทุกวันมากกว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลู เออวิงค์ เปิดเผยว่า

“ในสังคมของเรา ฝุ่นควันที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ คือฝุ่นควัน PM 2.5 ที่มาจากมลภาวะที่เกิดจากการจราจร จากการใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งสิ่งที่ปนเปื้อนในมลภาวะนี้อันตรายมากกว่าควันจากไฟป่ามาก”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลู เออวิงค์ ชี้ต่อไปว่า ในมลภาวะที่มาจากน้ำมันดีเซลนั้นประกอบไปด้วยสารคาร์ซิโนเจน ซึ่งเป็นรู้กันดีว่าเป็นสารก่อมะเร็งปอด ยิ่งไปกว่านั้นมาตรฐานน้ำมันของออสเตรเลียก็ไม่ได้เข้มงวดมากเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกอื่นๆ เขาให้รายละเอียดว่า
Traffic congestion at Sydney Harbour Bridge.
Traffic pollution is likely doing more damage to your lungs than bushfire smoke. Source: AAP
“ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วออสเตรเลียจะมีคุณภาพอากาศที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วเรายังไม่มีการจัดการกับมลภาวะทางอากาศที่มาจากน้ำมันดีเซลอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับทางยุโรปหรืออเมริกา”

ในปี 2015 สถาบันสุขภาพและสวัสดิภาพแห่งออสเตรเลีย (The Australian Institute of Health and Welfare) พบว่าในออสเตรเลียมลภาวะทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกที่คลอดก่อนกำหนดถึง 3,000 รายต่อปี ซึ่งศาตราจารย์ กาย มากซ์  เห็นด้วยว่าออสเตรเลียควรจะมีมาตรการลดมลภาวะทางอากาศ เขาสรุปว่า

“มลภาวะทางอากาศที่มากขึ้นนั้นเป็นอันตราย แต่ถ้ามลภาวะอากาศลดลงก็จะเป็นผลดีกับทุกคน”

ou can check out the full version of this story in English on SBS News .

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 9 December 2019 6:47pm
Updated 11 December 2019 9:14am
By Rosemary Bolger
Presented by Chayada Powell
Source: SBS News


Share this with family and friends