ประเด็นสำคัญ
- ผู้คนในออสเตรเลียกำลังซื้อกระดาษชำระอย่างตื่นตระหนกเพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสโคโรนา
- ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายคนแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้น้ำชำระล้างแทนการเช็ดด้วยกระดาษชำระ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดในช่วงนี้
- ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า การใช้น้ำชำระล้างเป็นวิธีที่ 'เหมาะสม'
(บทความนี้เผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มี.ค.2020)
“เมื่อพูดถึงเรื่องล้างก้น มีบางคนที่ยังล้าหลัง” วรรคทองของ “เคาฏัม (Gautam)” พนักงานไอทีที่ผันตัวมาเป็นผู้เรียกเสียงหัวเราะจากผู้คน ในงานแสดงตลกที่นครเมลเบิร์น เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (1 มี.ค.) เกี่ยวกับวิกฤตกระดาษชำระขาดแคลนจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา
เมื่อพูดถึงสถานการณ์กระดาษชำระขาดแคลน ชายวัย 31 ปีผู้นี้บอกว่า เข้าไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมสิ่งนี้จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการมากที่สุด ในช่วงเวลาที่ออสเตรเลียกำลังเผชิญกับไวรัสที่มีความร้ายแรง
จากข่าวที่มีรายงานอย่างแพร่สะพัดบนโลกโซเชียล เคาฏัมแนะนำทางออกให้กับ ‘ปัญหาโลกที่หนึ่ง’ นี้ว่า
ทำไมกันผู้คนถึงไม่ล้างบั้นท้ายด้วยน้ำ และเปิดรับกับธรรมเนียมความสะอาดโดยใช้นน้ำแบบในอินเดีย แทนที่จะไปซื้อกระดาษชำระมาตุนไว้ แค่ใช้น้ำล้างแทนกระดาษเช็ด เรื่อง่าย ๆ แค่นี้เอง
ควบคู่ไปกับคำแนะนำของเคาฏัม มีผู้คนในโซเชียลมีเดียจำนวนมากให้คำแนะนำไปในทางเดียวกัน ซึ่งเป็นการใช้น้ำในการชำระล้างหลังเสร็จภารกิจ ไม่ว่าจะเป็นสายฉีดชำระแบบมือถือ หรือหัวฉีดที่ติดตั้งอยู่ในฝารองนั่งหรือตัวโถสุขภัณฑ์ ที่จะปล่อยน้ำออกมาชำระล้างด้วยแรงดันที่เหมาะสม
แต่ในออสเตรเลียนั้น น้อยคนที่รู้ว่า นอกจากอินเดียจะใช้น้ำในการชำระล้างแล้ว วิธีนี้ยังเป็นที่พบเห็นทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเช่น ในประเทศไทย
นอกจากนี้ ผู้คนในทวีปยุโรปและอเมริกาใต้ยังใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “บิเดท (bidet)” หรืออ่างทรงกลมต่ำ ที่ออกแบบมาให้ชำระล้างช่วงล่างหลังเสร็จภารกิจในห้องน้ำ
การัม สิงห์ (Karam Singh) เกษตรกรจากเมืองปัญจาบ ที่เพิ่งมาถึงนครซิดนีย์เมื่อเดือนก่อนเพื่อมาเยี่ยมลูกชาย กล่าวอย่างติดตลกว่า ถ้ามีอะไรสักอย่างที่เขาคิดถึงมากกว่าคนในครอบครัว หรือฟาร์มที่ปัญจาบตอนนี้ สิ่งนั้นคงเป็น 'สายฉีดชำระ'
มันเป็นเรื่องลำบากมากในช่วงอายุนี้ ในการปรับตัวเพื่อที่จะใช้ห้องน้ำแบบตะวันตก หลังจากใช้ชีวิตในหมู่บ้านที่รัฐปัญจาบมา 80 ปี
ขณะที่ชาวโซเชียลมีเดียกำลังคิดถึงการชำระล้างที่คุ้นเคย บางคนคิดไปไกลถึงการใช้กระบวยน้ำ หรือ โลตา (lota) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นของสามัญที่ต้องมีในห้องน้ำแบบนั่งยองในอินเดีย แต่ในปัจจุบัน สิ่งนี้พบเห็นได้เฉพาะในห้องน้ำตามถิ่นทุรกันดารในอินเดีย
แม้จะไม่มีหลักฐานการวิจัยที่เพียงพอจะเปรียบเทียบว่าวิธีไหนจะสะอาดกว่ากัน แต่ดูเหมือนบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะเชื่อว่า “การล้างด้วยน้ำสะอาดกว่าการเช็ดด้วยกระดาษชำระ”
กูรินเดอร์ บักกา (Gurinder Bagga) แพทย์จีพีในกรุงนิวเดลี บอกว่า การใช้น้ำชำระล้างเป็นวิธีที่เหมาะสม และจำเป็นต่อการทำความสะอาดอย่างล้ำลึก
น้ำเป็นสิ่งที่ทำให้คุณสามารถชำระล้างสิ่งตกค้าง และในขณะเดียวกันก็สามารถลดโอกาสที่จะติดเชื้อบริเวณลำไส้ส่วนปลายมากกว่าการใช้กระดาษชำระ ซึ่งมีความสากในการขัดถู และอาจนำไปสู่การระคายเคือง ความไม่สบายผิว หรือแม้กระทั่งการฉีกขาดของผิวหนังหากเช็ดอย่างรุนแรงกูรินเดอร์ บักกา (Gurinder Bagga) แพทย์จีพีในกรุงนิวเดลี
อ้างอิงจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารไซแอนติฟิก อเมริกัน (Scientific American) นายแพทย์เบกกากล่าวเสริมว่า การใช้น้ำในการชำระล้างนั้น ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ มากกว่า
“จากบทความในวารสารไซแอนติฟิก อเมริกัน การผลิตกระดาษชำระหนึ่งม้วนต้องใช้น้ำ 140 ลิตร ในขณะที่การชำระล้างด้วยน้ำหลังเสร็จธุระหนักนั้น ใช้น้ำเพียง 0.5 ลิตร” นายแพทย์บักกากล่าวเสริม
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
วูลเวิร์ธส์จำกัดการซื้อกระดาษชำระแล้ว