15 ต.ค. รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามการชุมนุมเกิน 5 คน รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและข้อความทางออนไลน์ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 04:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย เพื่อยุติการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
กลุ่มนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ได้จับกุม นายอานนท์ นำพา และนายภาณุพงศ์ จาดนอก สองแกนนำกลุ่มผู้ชุมชุมต่อต้านรัฐบาล เมื่อช่วงเช้ามืดวันนี้ (16 ต.ค.)
“เจ้าหน้าที่ได้จับกุมนายอานนท์ และนายภาณุพงศ์ เมื่อเวลา 5:00 น. (เวลาไทย)” กลุ่มนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าว โดยเสริมว่า นายอานนท์ถูกจับกุมในข้อหาเกี่ยวกับการไปปราศรัยทางการเมืองที่ จ.เชียงใหม่ ขณะที่เหตุผลการจับกุมนายภาณุพงศ์นั้นยังไม่มีความชัดเจน
เมื่อช่วงดึกของวันพุธที่ผ่านมา (14 ต.ค.) ผู้ชุมนุมได้ยกระดับการเคลื่อนไหวเป็นเวลา 3 เดือน และปักหลักบริเวณหน้าสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่ง
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลระบุว่า จะต้องมีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน หลังกลุ่มผู้ชุมนุมขัดขวางขบวนเสด็จที่เคลื่อนผ่านเมื่อวานนี้
“กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขกรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวม” ส่วนหนึ่งของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยประกาศดังกล่าว ได้มาพร้อมกับเอกสารคำสั่งที่ระบุถึงการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ซึ่งมีผลตั้งแต่เวลา 4:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ของวันที่ 16 ต.ค. ในการจำกัดห้ามการชุมนุม และอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จำกัดห้ามการเข้าพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้มีการกำหนดไว้
Pro-democracy protesters march down the street during a demonstration in Bangkok, Thailand. Source: Getty Images AsiaPac
นอกจากนี้ ยังได้มีการประกาศ “ห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด รวมตลอดทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บรรดาที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร”
เมื่อวานนี้ กลุ่มผู้ชุมนุม "คณะราษฎร 63" ได้รวมตัวเคลื่อนไหวในพื้นที่กรุงเทพมหานครนับหมื่นคน โดยการเคลื่อนไหวในครั้งนี้มุ่งกดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังยึดอำนาจผ่านการรัฐประหารมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อมุ่งยุติเหตุรุนแรงระหว่างฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านสถาบันการปกครองของประเทศ
กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวยังต้องการให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ และได้เรียกร้องให้มีการลดอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการทำลายสิ่งต้องห้ามที่สืบเนื่องมายาวนานในสังคมไทยในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน
โดยเมื่อวานนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมได้ตะโกนโห่ร้องไปยังขบวนเสด็จที่เคลื่อนผ่านจุดที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ขณะที่เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ชุมนุมได้เป็นจำนวน 21 คน มีผู้ชุมนุมบางส่วนแสดงสัญลักษณ์ด้วยการชู 3 นิ้ว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายประชาธิปไตย โดยมีที่มาจากภาพยนตร์ Hunger Games และได้ตะโกนว่า “ออกไป” ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจคุ้มกันขบวนเสด็จการกระทำดังกล่าวนับว่าไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย และเป็นการท้าทายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมไทยในหลายด้านอย่างเปิดเผย
Thailand's Queen Suthida (C) and Prince Dipangkorn Rasmijoti (centre L) react inside a royal motorcade as it drives past a pro-democracy rally in Bangkok. Source: AFP
จากการเคลื่อนไหวที่นำโดยเยาวชนคนหนุ่มสาวเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้สร้างความไม่พอใจไปยังผู้สนับสนุนสถาบันที่มีความจงรักภักดี
“สถาบันพระกษัตริย์อยู่คู่สังคมไทยมากว่า 700 ปี” ศิริลักษณ์ เกษมสวัสดิ์ หนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์นับพันคน ที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความรักต่อสถาบัน
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศในช่วงดึกเมื่อวานนี้ (14 ต.ค.) ว่านายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมที่ขัดขวางขบวนเสด็จ และจะมีการจับกุมผู้ที่ความประพฤติเข้าข่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
“พวกเขาจะต้องได้รับการดำเนินคดีทางกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น” นายอนุชา โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว
การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นหลายครั้ง ท่ามกลางความปั่นป่วนในประวัติศาสตร์ไทยยุคใหม่ ซึ่งพบกับความไม่สงบทางการเมืองมายาวนาน และการรัฐประหารโดยทหารที่ทำสำเร็จมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ปี 1932 โดยเป็นเวลายาวนานที่ฝ่ายทหารตั้งตนเป็นผู้ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อันมั่งคั่ง ซึ่งแผ่กระจายอำนาจไปทั่วสังคมไทยในหลายด้านขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้นได้กล่าวย้ำว่า พวกเขาต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์ปรับตัวเข้ากับสังคมยุคใหม่ ซึ่งข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น รวมไปถึงการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีความเข้มงวด ซึ่งปกป้องสถาบันจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ และต้องการให้สถาบันกษัตริย์ไม่มีความเกี่ยวข้องทางการเมือง
Royalists look on at anti-government protesters during a counter demonstration in Bangkok, Thailand. Source: Getty Images AsiaPac
“เราเพียงต้องการให้พวกเขาร่วมเปลี่ยนแปลงไปกับพวกเรา” เดียร์ ธัชชา หนึ่งในกลุ่มผู้ชุมนุม “คณะราษฎร” กล่าวกับเอเอฟพี
ฟังรายงานสถานการณ์การชุมนุมที่แยกราชประสงค์ วันที่ 15 ตุลาคม จากสถานที่ชุมนุน
LISTEN TO
ม็อบราชประสงค์ไม่หวั่นกับ พรก.ฉุกเฉินร้ายแรง
SBS Thai
15/10/202006:40
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
ประสบการณ์หลากแง่มุมจาก State Quarantine ที่เมืองไทย