ออสเตรเลียได้สูญเสียงบประมาณของประเทศไปกว่า $500 ล้านดอลลาร์ ในนโยบายขอคืนภาษีสินค้าและบริการ ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงการขอคืนเงินภาษีที่ถูกเก็บจากการซื้อสินค้าและบริการในออสเตรเลีย
รายงานตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินล่าสุด โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินออสเตรเลีย (National Audit Office) ได้ตั้งคำถามในส่วนของการกำกับดูแลนโยบายดังกล่าว โดยระบุว่า กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย และสำนักงานสรรพากรออสเตรเลีย (เอทีโอ) ได้มีการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องนี้ในระดับต่ำ
นโนบายคืนเงินภาษีสำหรับนักท่องเที่ยว (Tourist Refund Scheme) เป็นนโยบายที่นักท่องเที่ยว ซึ่งจะเดินทางออกจากประเทศออสเตรเลีย สามารถขอคืนเงินภาษีสินค้าและบริการ (จีเอสที) และภาษีเหล้าไวน์ (Wine Equalisation Tax) ที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าระหว่างที่อยู่ในออสเตรเลียได้ภายในระยะเวลา 60 วันข้อมูลจากรายงาน ได้มีการประเมินว่า มีการคืนเงินภาษีผ่านนโยบายนนี้ให้กับประชาชนของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณของประเทศไปกว่า $555.6 ล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 20 ปี
The Tourist Refund Scheme allows people leaving Australia to claim GST back on goods purchased in the country in the past 60 days. Source: AAP
“การตรวจสอบหานัยยะของการฉ้อโกงนั้นเป็นเรื่องเฉพาะกิจมากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ กระทรวงมหาดไทยออสเตรเลีย และสำนักงานสรรพากรออสเตรเลียได้ประเมินว่า การกำกับดูแลโครงการคืนภาษีให้นักท่องเที่ยวนั้นอยู่ในความสำคัญระดับต่ำ” รายงานตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินระบุ
ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกราวร้อยละ 60 มีโครงการดังกล่าวเช่นเดียวกับออสเตรเลีย สำนักงานสรรพากรออสเตรเลียเชื่อว่า ออสเตรเลียเป็นประเทศเดียวในโลกที่อนุญาตให้ประชาชนของตนเองขอคืนภาษีได้
มีหลักฐานที่อธิบายว่า พบคำร้องที่ไม่ชอบธรรมในการขอคืนภาษีจากประชาชนออสเตรเลีย และมี “งบประมาณที่รั่วไหลอย่างมีนัยยะ” อยู่ระหว่าง $244 - $557 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2000 โดยมีการคาดการณ์ว่า ตัวเลขงบประมาณที่สูญเสียไป ส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ขอคืนภาษีโดยมิชอบ นำสินค้าที่ซื้อในออสเตรเลียออกจากประเทศ และนำกลับมาหลังจากเดินทางไปยังจ่ายประเทศแล้ว
รายงานตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินนี้ได้อ้างถึงต้นตอของปัญหา ที่มาจากระบบการตรวสอบที่จำกัด และระบบสำหรับการจัดการโครงการ รวมถึงตรวจสอบการขอคืนภาษีที่น่าสงสัย
“กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสรรพากร ไม่ได้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในโครงการคืนภาษีให้นักท่องเที่ยว ในการนำมาตรวจสอบการยื่นคำร้องอย่างเป็นระบบ เพื่อเอื้ออำนวยในการตรวจจับแบบคำขอที่น่าสงสัย และเพื่อเป็นตัวชี้วัดประมาณแผ่นดินที่สูญเสียไป องค์กรดังกล่าวไม่ได้ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ TRS ในลักษณะที่มีประโยชน์” รายงานดังกล่าวระบุตั้งแต่นโยบายดังกล่าวได้ประกาศใช้ในเดือนกรกฎาคม ปี 2000 มีการคืนภาษีผ่านโครงการนี้ทั้งหมดมากกว่า $1,600 ล้านดอลลาร์ โดยมีชาวออสเตรเลียยื่นขอคืนเงินภาษีคิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้ขอคืนเงินภาษีทั้งหมด
People are seen lining up at Sydney Airport, Sydney. Source: AAP
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินออสเตรเลียได้แนะนำว่า กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสรรพากรออสเตรเลีย ควรทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบที่แข็งแรงเพื่อกำกับดูแลการจัดการโครงการดังกล่าว
“กระทรวงมหาดไทยสามารถส่งคำเตือนให้กับประชาชนและผู้อยู่อาศัยออสเตรเลียที่อาจคิดว่าของเหล่านั้นอาจนำกลับเข้ามาได้โดยไม่ต้องสำแดง ซึ่งเดินทางเข้ามาในออสเตรเลีย” รายงานดังกล่าวระบุ
“อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าชาวออสเตรเลียที่ขอคืนภาษีจะคิดเป็นร้อยละ 41.9 แต่ก็พบว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้ขอคืนภาษีบ่อยครั้งนัก”
ในปีงบประมาณ 2017-18 มีการขอคืนภาษีจีเอสทีจากสินค้าของแอปเปิล $17.2 ล้านดอลลาร์ สินค้าของหลุยส์ วิตตอง $13.8 ล้านดอลลาร์ สินค้าของกุชชี $10.1 ล้านดอลลาร์ สินค้าจากชาเนล $9.1 ล้านดอลลาร์ สินค้าของแอร์เมส $6.2 ล้านดอลลาร์ และสินค้าจากทิฟฟานี แอนด์ โค $4.3 ล้านดอลลาร์นายโทนี เชลดอน (Tony Sheldon) สมาชิกวุฒิสภาจากพรรคแรงงานกล่าวว่า ระบบดังกล่าวได้กลายเป็น “กระบวนการฉ้อโกง” ภายใต้การนำของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเป็นช่องทางให้ชาวออสเตรเลียใช้ในการหลบเลี่ยงภาษี แทนที่เงินเหล่านั้นจะได้นำไปใช้ในการพัฒนาระบบสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
People are seen lining up at Sydney Airport, Sydney. Source: AAP
“ท่านนายกฯ อยู่ข้างใครในตอนนี้ ท่านจะอยู่ข้างเรา หรือจะไปอยู่ข้างเดียวกับคนที่อยากได้กำไลแพลตินัมทิฟฟานี แอนด์ โค และกระเป๋ากุชชี ที่ต้องการจะฉ้อโกง” นายเชลดอนกล่าวในรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.ค.)
การขอคืนภาษีที่มีการจ่ายคืนมากที่สุด เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2011 โดยเป็นคำร้องของนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ ที่ได้รับเงินภาษีคืนสูงถึง $250,000 ดอลลาร์ จากยอดซื้อสินค้ามูลค่า $2.6 ล้านดอลลาร์
ผู้ยื่นคำขอคืนภาษีจีเอสทีสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่สุดในปีงบประมาณ 2017-18 มาจากผู้ที่ถือพาสปอร์ตประเทศจีน ซึ่งออสเตรเลียได้จ่ายเงินภาษีคืนเป็นมูลค่า $100 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณเดียวกัน รองลงมาคือชาวออสเตรเลีย ที่ได้ยื่นคำขอคืนภาษีจีเอสทีในปีงบประมาณเดียวกัน เป็นมูลค่าราว $50 ล้านดอลลาร์
ด้านสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ให้คำแนะนำ 3 ข้อ ซึ่งรวมถึง 3 ข้อสำหรับกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานสรรพากรออสเตรเลีย และ 1 ข้อสำหรับกระทรวงการคลัง
โดยในเบื้องต้น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสรรพากรได้ยอมรับคำแนะนำดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการควบรวบระบบที่มีอยู่แล้วเพื่อสอดส่องดูแลการยื่นขอคืนภาษีที่ไม่ชอบธรรม ขณะที่กระทรวงการคลังได้ยอมรับข้อเสนอที่จะทำงานร่วมกับทั้งสองหน่วยงาน ในการตรวจสอบคำร้องขอคืนภาษี
รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
สื่อออสซีเผย รมช.ไทยติดคุกซิดนีย์จริง 4 ปี