ผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลียเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถึง 1 ใน 3 จากกว่า 2 ล้านกิจการทั่วประเทศ แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มีธุรกิจหลายแห่งกลับต้องปิดตัวลงเนื่องจากขาดทุนทรัพย์
นางเคท คาร์เนล (Kate Carnell) จากคณะกรรมาธิการธุรกิจขนาดเล็ก และกิจการครอบครัวแห่งออสเตรเลีย (Australian Small Business and Family Enterprise Ombusman หรือ ASBFEO) ระบุกับเอสบีเอส สมอล บิสซิเนส ซีเคร็ท ว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นหรือผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก และไม่มีสินทรัพย์หรือกรรมสิทธิ์ในหุ้นส่วนห้างร้านเป็นหลักแหล่ง การขอกู้เงินจากธนาคารนั้นเป็นเรื่องยากลำบาก แล้วเราจะต้องเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้
“ธุรกิจขนาดเล็กต้องการแหล่งเงินทุนในการที่จะเติบโตและมีความมั่งคั่ง แต่ทว่าธนาคารใหญ่ๆ หลายแห่งกลับปฏิเสธที่จะอนุมัติเงินกู้ให้กับกิจการที่ยื่นขอมามากกว่า 1 ใน 3 หากเราต้องการให้ธุรกิจเดินหน้า และหากเราเล็กเห็นถึงปัญหาการว่างงานอย่างแท้จริง เราจำเป็นจะต้องให้ธุรกิจเหล่านั้นดำเนินกิจการได้” นางคาร์เนลกล่าวมีข้อมูลจากงานวิจัยที่ระบุว่า พบช่องว่างของแหล่งเงินทุนระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลางอยู่ราว $83,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการปล่อยเงินกู้ที่รัดกุมขึ้น หลังการสอบสวนการธนาคารของออสเตรเลีย โดยคณะกรรมการไต่สวนในพระองค์ (Banking Royal Commission)
Ombudsman Kate Carnell is an advocate for small business owners. Source: SBS
นางคาร์เนลยังระบุอีกว่า เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กในออสเตรเลียจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ได้รับการปฏิเสธการขออนุมัติเงินกู้จากธนาคารใหญ่ๆ หลายแห่ง
“เจ้าของกิจการหลายแห่งมักจะไม่ขอเงินกู้ จนกว่าพวกเขาจะมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ประกอบการอย่างชัดเจน เพราะกลัวว่าจะไม่ได้รับการอนุมัติ” นางคาร์เนลกล่าว
และมันจะยิ่งยากขึ้นไปอีก หากผู้ประกอบการเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวที่อายุยังน้อย หลายรายไมได้มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าสถานประกอบการ
อุปสรรค์สำหรับผู้อพยพย้ายถิ่น
นางลีย์เลตต์ คาเลจา ที่ปรึกษาด้านการเงินผ่านระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์ ผู้มีประสบการณ์ในการบัญชีและการเงินมากว่า 25 ปี
“เจ้าของกิจการขนาดเล็กส่วนมากไม่รู้ว่ามีทางเลือกอื่นใดบ้างที่พวกเขามี” นางคาเลจากล่าว
ด้วยลูกค้าของเธอส่วนหนึ่งที่เป็นผู้อพยพย้ายถิ่น ทำให้เธอทราบดีถึงอุปสรรคต่างๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญ“มันเป็นเรื่องง่าย ในการขอมีบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต แต่เมื่อเป็นเรื่องเงินกู้ ผู้ที่เพิ่งย้ายมาใหม่ ซึ่งยังไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ และอาจไม่ได้เป็นพลเมืองออสเตรเลียในทางการเก็บภาษี มันเป้นเรื่องที่เห็นได้ชัยว่ายากลำบากในการขอเครดิตเงินกู้ในตอนนี้ ถึงแม้ว่าคุณจะมีบัญชีการเงินที่ที่น่าเชื่อถือ แต่ก็ไม่มีอะไรประกันว่าจะได้รับการอนุมัติ โดยเฉพาะหาคุณทำงานอาชีพอิสระ” นางคาเลจากล่าว
Migrant-owned businesses in Australia are struggling to get support from banks, the Ombudsman says Source: Maxpixel
นอกจากนี้ นางคาเลจา ยังกล่าวอีกว่า การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน กำลังส่งผลกระทบเป้นวงกว้างให้กับวงการผู้ประกอบการค้าปลีก
“มันเป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่ต้องเห็นร้านกาแฟและร้านอาหารหลายแห่งต้องปิดกิจการ เหล่านั้นก็อาจเป็นของผู้อพยพย้ายถิ่นที่มาตามความฝันในออสเตรเลีย แต่ว่ามันไม่มีทางเป็นจริง ฉันไม่เคยเห็นธุรกิจที่ต้องปิดกิจการเพราะขาดแหล่งเงินทุนมากขนาดนี้ เมื่อคุณเดินไปตามศูนย์การค้าท้องถิ่น แล้วเห็นป้ายให้เช่าเรียงอยู่มากมาย มันทำให้ฉันรู้สึกเศร้าใจ” นางคาเลจากล่าว
ทางเลือกขอเงินกู้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากธนาคาร
ตามปกติแล้ว มีกิจการขนาดเล็กมากกว่าร้อยละ 80 ที่ยังต้องพึ่งพาสินเชื่อเงินกู้จากธนาคาร ในขณะเดียวกัน สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารก็กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในการเข้ามาเติมเต็มช่องว่างของแหล่งเงินทุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางกว่า $83,000 ล้านดอลลาร์ในขณะนี้
นายแฮรี กรีวอล (Harry Grewal) นักตรวจสอบบัญชี ได้เริ่มต้นกิจการด้านการขนส่งเมื่อ 2 ปีก่อน เจ้าของกิจการอายุ 36 ปีรายนี้ได้รับสินเชื่อเงินกู้เป้นมูลค่ากว่า $1.3 ล้านดอลลาร์ จาก Scottish Pacific Business Finances
โดยในขณะนี้ เขาเป็นเจ้าของพาหนะขนส่งในกิจการที่นครซิดนีย์ 11 คัน“ในฐานะธุรกิจสตาร์ทอัพ ผมรู้ว่าธนาคารหลายแห่งจะไม่ปล่อยเงินกู้ให้ผู้ยื่นขอที่ไม่มีประวัติการซื้อขาย” นายกรีวอลกล่าว
Accountant Harry Grewal obtainedt non-bank finance to start his transport business. Source: SBS
แม้ธุรกิจของเขาจะเดินหน้าอย่างราบลื่นติดต่อกันมาเป็นเวลา 2 ปี นายกรีวอลกล่าวว่า เขาจะไม่กลับไปพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากธนาคารอีก
“แม้เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่า (ธนาคาร) แต่ทุกอย่างก็เป็นไปอย่างราบลื่น” นายกรีวอลกล่าว
นอกจากนี้ สถาบันการเงินเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางอย่างธนาคารยูโด (Judo Bank) ก็ยังให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในออสเตรเลียให้มีกิจการเป็นของตัวเองได้ โดยธนาคารดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ และสามารถระดมเงินทุนได้ถึง $400 ล้านดอลลาร์ ในการระดมทุนรอบสองที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ของธุรกิจสตาร์ทอัพของออสเตรเลีย
โดยภายในสิ้นปี 2019 คาดว่าธนาคารยูโดแบงค์ จะปล่อยสินเชขื่อเงินกู้เป็นมูลค่ามากกว่าพันล้านดอลลาร์ โดยมุ่งไปที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
นายโจเซฟ ฮีย์ลี หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งยูโดยแบงค์ กล่าวว่า มันมีความผิดพลาดเกิดขึ้น และธนาคารชั้นนำไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กได้
“ในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ผู้ประกอบการต้องการให้ธนาคารเห็นว่า พวกเขาพยายามที่จะทำอะไร ไม่ว่าพวกเขาจะขายเนื้อ ทำเบเกอรี หรือหล่อเทียน พวกเขาต้องการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญถึงโอกาสในการทำให้ธุรกิจเติบโต แต่ธนาคารไม่ถามคำถามเหล่านี้ (ธนาคาร) จะถามพวกเขาเพียงแค่ว่า บ้านของคุณมีมูลค่าเท่าไหร่ แล้วเราจะให้คุณกู้ในวงเงินร้อยละ 60 จากมูลค่านั้น” นายฮีย์ลีกล่าว
แนวทางสนับสนุนสำหรับเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่
เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นางคาร์เนล กรรมาธิการจาก ASBFEO ได้เผยแพร่แหล่งข้อมูลสำหรับผู้ที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจ ในการรับมือกับปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการเงิน Scottish Pacific Business Finances
ได้เล็งไปที่ผู้เชี่วยชาญด้านธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ในการให้คำปรึกษาเจ้าของกิจการด้านการตัดสินใจทางการเงิน และ ที่จะให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นมีสภาพทางการเงินที่สมบูรณ์“แนวทางดังกล่าวยังได้มุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เผชิญกับปัญหาอื่นๆ เช่น หลุมพรางจากบัตรเครดิต ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของกิจการใช้บัตรเครดิตสำหรับธุรกิจจนเต็มวงเงิน และสุดท้ายต้องจ่ายดอกเบี้ยราคาแพง” นางคาร์เนลกล่าว
Scottish Pacific Business Finance CEO Peter Langham and Ombudsman Kate Carnell developed the guides to help small business. Source: Supplied
นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจะต้องพบ
“ในแนวทางของเราจะมีแผนผังการตัดสินใจทางการเงิน ที่จะเริ่มต้นโดยการถามคุณว่า คุณกำลังที่จะกู้เงิน หรือมองหาการลงทุน และมันจะทำให้เรื่องเหล่านี้ชัดเจนว่าคุณจะดำเนินการต่อไปอย่างไร” นางคาร์เนลกล่าว
นายปีเตอร์ แลงแฮม (Peter Langham) ได้ก่อตั้งสถาบันการเงิน Scottish Pacific เมื่อ 30 ปีก่อน มีการคาดการณ์ว่า สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารแห่งนี้จะปล่อยเงินกู้ราว $1,300 ล้านดอลลาร์ ให้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่
“ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กนั้นไม่มีเวลามาก และพวกเขาก็ทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง ดังนั้น การที่พวกเขาจะทราบว่ามีทางเลือกอื่น (นอกจากธนาคาร) นั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก” นายแลงแฮมกล่าว
นอกจากนี้ นางคาร์เนลกล่าวอีกว่า ธุรกิจขนาดเล็กยังคงสามารถได้รับการสนับสนุนจากธนาคารในเรื่องเงินทุนได้ เนื่องจากขณะนี้ธนาคารหลายแห่งได้ทยอยปล่อยสินเชื่อแบบทันใจสำหรับลูกค้าเดิมด้วยเช่นกัน
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
พื้นที่เอาท์แบ็ค มหัศจรรย์ใจกลางประเทศออสเตรเลีย