สัปดาห์ NAIDOC 2022: เสียงสู่สภาคืออะไร

กำลังมีการรวบรวมแรงผลักดันให้จัดทำประชามติการแก้ไขรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย เพื่อประดิษฐานเสียงของชนพื้นเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญ

Participants at a NAIDOC Week rally in Melbourne in 2018

The Uluru Statement from the Heart proposes three key reforms: Voice, Treaty and Truth. Source: AAP Image/Daniel Pockett

เสียงสู่สภา (The Voice to Parliament) คืออะไร

ในปี 2017 เหล่าผู้แทนชนชาติแรกของออสเตรเลียได้รวมตัวกันที่อูลูรู และนำเสนอ (The Uluru Statement from the Heart) สู่ผู้คนชาวออสเตรเลีย แถลงการณ์ดังกล่าวได้เสนอองค์ประกอบพื้นฐานของการปฏิรูป 3 ประการ ได้แก่ เสียงของผู้คน (Voice)


ประเด็นสำคัญ

  • เสียงสู่สภา (Voice to Parliament) คือความต้องการของคณะที่ปรึกษาชนพื้นเมือง เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐสภาสหพันธรัฐในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชนชาติแรกของออสเตรเลีย
  • (The Uluru Statement from the Heart) เรียกร้องการปฏิรูปใน 3 องค์ประกอบสำคัญ เสียงสู่สภา (Voice to Parliament) เป็นสิ่งแรกที่แถลงการณ์นี้ได้เรียกร้อง
  • ผู้จัดทำได้แนะนำว่า ในเดือนพฤษภาคม 2023 หรือมกราคม 2024 เป็นไปได้ที่จะเป็นช่วงเวลาในการทำประชามติ ซิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มีความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

 

การปฏิรูปแรกคือเสียงสู่สภา (Voice to Parliament) ซึ่งทำให้มีความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การทำประชามตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ชาวออสเตรเลียสามารถตัดสินใจในข้อเสนอเหล่านี้ได้ มันเป็นการรวมตัวกันของกระบวนการทางกฎหมายและการเมืองของออสเตรเลียที่ยาวนานหลายทศวรรษ และการทำงานของชาวออสเตรเลียเพื่อไปสู่การยอมรับชนชาติแรกในรัฐธรรมนูญ

หมายความว่าอย่างไรสำหรับชาวออสเตรเลีย

การทำประชามตินี้จะสอบถามชาวออสเตรเลียในการยอมรับบทบัญญัติใหม่ ที่จะทำให้รัฐสภาสหพันธรัฐสามารถจัดตั้งคณะที่ปรึกษาที่จะรูhจักในชื่อว่า เสียงสู่สภา (Voice to Parliament)

รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.1901 ไม่ยอมรับการเป็นเจ้าของและการพิทักษ์แผ่นดินของชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอเรส สเตรท ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้

กล่าวโดยสรุปก็คือ เสียงสู่สภา (Voice to Parliament) คือการยอมรับแบบการปกครองอันเก่าแก่ซึ่งได้อยู่บนผืนทวีปแห่งนี้มา 60,000 ปี รวมถึงเสียงของพวกเขา และบทบาทต่อประชาธิปไตยออสเตรเลียผ่านรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย

ศาสตราจารย์เมแกน เจน เดวิส (Prof Megan Jan Davis) ประธานร่วมในการอภิปรายอูลูรู (Uluru Dialogue) และนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า มันยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยอมรับปวงชนและผืนทวีปออสเตรเลีย “ในฐานะการแสดงออกที่สมบูรณ์ขึ้นถึงความเป็นชาติ” ซึ่งทำให้ประเทศ “ก้าวไปข้างหน้า” ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

“มันเป็นส่วนหนึ่งของหลายการปฏิรูปที่แถลงการณ์อูลูรูจากหัวใจได้เรียกร้อง ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในการสร้างพลังให้กับผู้คน และนั่นรวมถึงคณะกรรมาธิการมาคาราตา (Makarrata Commission) ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการทำข้อตกลงหรือคณะกรรมาธิการความสมานสามัคคี” ศาสตราจารย์เดวิส กล่าว

“การยอมรับเสียงของชนชาติแรกนั้น เปิดโอกาสให้ผู้คนของเราร่วมโต๊ะหารือเมื่อมีการจัดทำกฎหมาย และนโยบายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเรา”

เราอยู่ตรงไหน

หลังจาก นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เขาได้เริ่มต้นการกล่าวสุนทรพจน์แห่งชัยชนะในคืนเลือกตั้ง โดยประกาศว่า “ในฐานะตัวแทนของพรรคแรงงานออสเตรเลีย ข้าพเจ้าขอให้คำมั่นอย่างเต็มที่ต่อแถลงการณ์อูลูรูจากหัวใจ”

ศาสตราจารย์เดวิส ได้ระบุในแถลงการณ์ว่า “มันเป็นความรู้สึกโล่งใจและการบรรลุผลสำเร็จ แต่หนทางก็ยังคงอีกยาวไกล”

“เราตื่นเต้น ออสเตรเลียเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญน้อยมาก และสำหรับผู้คนของเรา เราไม่เคยได้มีโอกาสนี้สำหรับพลังอำนาจใด ๆ ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น นี้คือสิ่งที่มีความสำคัญมาก มันแตกต่างจากการทำประชามติในปี 1967 เพราะการปฏิรูปครั้งนี้กำลังจะให้อำนาจกับผู้คนของเรา” ศาสตราจารย์เดวิส กล่าวเสริม

ในส่วนของแถลงการณ์อูลูรูนั้น มีคำมั่นในการจัดประชามติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบแรกในแถลงการณ์ และรัฐบาลสหพันธรัฐชุดใหม่กำลังวางรากฐานสำหรับสิ่งนั้น

ก้าวต่อไป

มีขั้นตอนสำคัญ ก่อนที่เสียงของชนพื้นเมืองจะได้รับการประดิษฐานไว้ในรัฐธรรมนูญ ด้วยการปกป้องจากรัฐธรรมนูญ เสียงนั้นจะยั่งยืนและคงทนเกินกว่ากำหนดเวลาทางการเมือง

มันหมายความว่า การเสริมอำนาจของชนพื้นเมือง และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในวิถีชีวิตประชาธิปไตยของชาติ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามามีอำนาจ

พรรคร่วมรัฐบาลก่อนหน้านี้ตั้งใจที่จะออกกฎหมายในส่วนของเสียงชนพื้นเมือง แต่ไม่มีแผนที่จะประดิษฐานไว้ในรัฐธรรมนูญ และเมื่อเสียงนั้นจะได้รับการประกาศเป็นกฎหมายก็อาจถูกเพิกถอนได้
แต่เมื่อได้รับการประดิษฐานไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว มันจะถูกนำออกจากรัฐธรรมนูญได้ด้วยการทำประชามติอีกครั้งเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนทางการเมืองและการหารือในอนาคต ก่อนที่การลงคะแนนเสียงจะเกิดขึ้น

หากรัฐบาลสหพันธรัฐผ่านร่างกฎหมาย การทำประชามติจะต้องเกิดขึ้นภายใน 6 เดือน เพื่อจัดตั้งคณะที่ปรึกษาชนพื้นเมืองอย่างถาวรในรัฐสภาสหพันธรัฐ ทั้งนี้ ผู้จัดทำแถลงการณ์อูลูรูจากหัวใจได้แนะนำว่า ช่วงเดือนพฤษภาคม 2023 หรือเดือนมกราคม 2024 ให้เป็น


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 4 July 2022 4:03pm
By Mert Balkanli
Presented by Tinrawat Banyat
Source: NITV


Share this with family and friends