สตรีผู้ย้ายถิ่นฐานหางานทำยากกว่าแม้มีคุณสมบัติ

การสำรวจสตรีจากพื้นเพผู้อพยพย้ายถิ่นฐานหรือผู้ลี้ภัยโดยเอสบีเอสพบว่า ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือการหางานทำ ถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติที่เหมาะสม

You can read the full version of this story in English on SBS News .

การทำสำรวจครั้งใหญ่ได้พบว่า การหางานและการเข้าใช้บริการด้านสุขภาพ ได้รับการระบุว่าเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งผู้หญิงจากพื้นเพเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานหรือผู้ลี้ภัยนั้นเผชิญ เมื่อมาตั้งรกรากในประเทศออสเตรเลีย

การสำรวจฮาร์โมนีอะไลอันซ์ (The Harmony Alliance survey) ซึ่งดำเนินการโดยร่วมมือกันกับเอสบีเอส ยังพบว่า 71 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบมีทัศนคติที่เป็นบวกต่อประเทศออสเตรเลีย

กว่าสามในสี่ของผู้ตอบมีงานทำในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา และรู้สึกพึงพอใจต่อการว่าจ้างงานของพวกเขาในระดับหนึ่ง

แต่หลายๆ คนกลับกล่าวว่า พวกเขานั้นประสบปัญหาในการที่จะได้เข้าสัมภาษณ์งาน ถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อตำแหน่งงานต่างๆ
ประธานของฮาร์โมนีอะไลแอนซ์ คุณมาเรีย ดิโมโพลุส กล่าวว่าการสำรวจดังกล่าว ได้ชี้ชัดให้เห็นถึงอุปสรรคต่อการหางานในออสเตรเลีย รวมไปถึงการขาดแคลนเครือข่ายคนรู้จักอย่างแน่นหนาในออสเตรเลีย และการที่ไม่สามารถทำงานตำแหน่งเดิมที่เคยทำในต่างประเทศได้

“ดิฉันคิดว่า การให้การยอมรับต่อทักษะความเชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งติดตัวผู้คนมา และความจริงที่พวกเขานั้นมักจะไม่ได้รับการระบุว่ามีทักษะที่นี่ในประเทศนี้ ว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการที่ผู้หญิงจะบรรลุผลลัพธ์ต่างๆ ที่พวกเขานั้นต้องการ” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“ฉันคิดว่า การเลือกปฏิบัตินั้น โดยแน่นอนได้รับการระบุว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แม้แค่การไม่ได้เข้าสัมภาษณ์งานเนื่องจากสิ่งต่างๆ เช่น นามสกุลของคุณ เนื่องมาจากชาติพันธุ์ของคุณ”

ช่วงเวลาอันยากลำบาก

คุณแอนเยร์ ยูโอล เดินทางมาถึงออสเตรเลียจากค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเคนยาเมื่อเธออายุได้เพียง 10 ปี หลังจากที่สูญเสียทั้งพ่อและแม่ของเธอในสงครามกลางเมืองของประเทศซูดาน
Anyier Yuol is an advocate for women with migrant and refugee backgrounds.
คุณแอนเยร์ ยูโอล ทำงานเป็นตัวแทนของผู้หญิงที่มีพื้นเพเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานหรือผู้ลี้ภัย (Source: SBS News) Source: Source: SBS News
ขณะนี้เธอทำงานให้กับ ชุมชนแห่งชาติของออสเตรเลียเกี่ยวกับสตรีผู้ลี้ภัย (The Australian National Community on Refugee Women) ที่ซึ่งเธอได้อุทิศชีวิตของเธอเพื่อช่วยเหลือสตรีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่นฐานคนอื่นๆ ปรับตัวเข้ากับสังคม

คุณยูโอลกล่าวว่า ผลลัพธ์จากการสำรวจนั้นทำให้เธอรู้สึก “หัวใจสลาย” และความท้าทายต่างๆ ที่พวกเขาเผชิญหน้าในขณะนี้ก็หลากหลายมากไปกว่าที่เธอเคยประสบในระหว่างที่เติบโตขึ้น

“พูดตรงๆ เลยนะคะ เมื่อดิฉันมองย้อนไปที่การเลี้ยงดูของดิฉัน มันค่อนข้างจะแตกต่าง แต่ในขณะนี้ที่ได้มาทำงานในภาคส่วนนี้ ดิฉันก็สามารถบอกต่อได้ ให้กับผู้คนอายุน้อยจำนวนมากซึ่งกำลังมีช่วงเวลาที่ยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขากำลังหางานทำ” เธอกล่าวกับเอสบีเอส

การสำรวจยังได้ระบุว่า สตรีผู้ย้ายถิ่นฐานเป็นจำนวนมากนั้นกลับไม่ได้รับข้อมูลซึ่งมีไว้อยู่แล้ว ว่าจะสามารถไปขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาได้ที่ไหน เกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพของพวกเขา
Harmony Alliance Chairwoman Maria Dimopolous.
Harmony Alliance Chairwoman Maria Dimopolous. Source: SBS News
เกือบหนึ่งในสี่ของผู้ตอบการสำรวจนั้นไม่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพร่างกายหรือสุขภาพจิตของพวกเขาแต่อย่างใด

คุณดิโมโพลุสกล่าวว่า เป็นเรื่องน่าวิตกกังวลที่พบว่าสตรีจากพื้นเพผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้นไม่ได้รับข้อมูลเบื้องต้นว่าพวกเขาจะสามารถไปขอคำปรึกษาทางด้านการแพทย์ได้จากที่ไหน

“มันเป็นความวิตกกังวลที่สำคัญ เมื่อได้ยินว่าเหล่าสตรีนั้น โดยแท้จริงแล้วไม่ได้รับข้อมูลในภาษา(ของตัวเอง) ซึ่งมีผลกระทบต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของพวกเธอ” เธอกล่าว

“มันชัดเจนว่าเรื่องนี้ก็จะกระทบต่อทางเลือกต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องตัดสินใจ เมื่อถูกบอกไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค การทำนายโรค”

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 27 November 2018 12:54pm
Updated 27 November 2018 8:20pm
By Riley Morgan
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS, SBS News


Share this with family and friends