ประเด็นสำคัญ
- สีแดงและปะทัดเป็นสัญลักษณ์ที่พบได้ทั่วไปในช่วงเทศกาลตรุษจีน
- สีแดงไม่ถือว่าเป็นสีนำโชคและสีแห่งการปกป้องเสมอไปในทุกวัฒนธรรม
- ชาวเวียดนามเฉลิมฉลองปีของแมว แทนที่จะเป็นปีของกระต่าย
ปีใหม่ทางจันทรคตินับเป็นเวลาของการอำลาปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ และยังเป็นเวลาของการอยู่ร่วมกับครอบครัวและเฉลิมฉลองการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิอีกด้วย จึงมีชื่อเรียกอีกว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ”
มีหลายวัฒนธรรมที่มีวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติเหมือนกัน แต่ผู้คนทั่วโลกเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ด้วยวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน
ไล่วิญญาณร้ายด้วยเสียงกระหึ่ม
ชาวจีนเฉลิมฉลองโดยการตกแต่งด้วยสีแดงและการเขียนวลีอวยพรบนกระดาษสีแดงที่เรียกว่า ไฝชุน (fai chun揮春) รวมถึงการจุดปะทัดและดอกไม้ไฟ การเชิดมังกรและเชิดสิงโต ตีฆ้องและกลอง เป็นสัญลักษณ์ของการขับไล่วิญญาณชั่วร้าย โดยเฉพาะสัตว์ร้ายที่เรียกว่าเหนียน (nian)
ตำนานของจีนกล่าวว่าเหนียนจะออกมาจากที่ซ่อนตัวในช่วงต้นปีใหม่ เพื่อคร่ากินชีวิตของมนุษย์และสัตว์ต่างๆ ว่ากันว่าเหนียนนั้นไวต่อเสียงและไฟ และกลัวสีแดง
ในประเทศจีน ผู้คนในแต่ละภูมิภาคของประเทศเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนด้วยอาหารพื้นเมืองที่แตกต่างไป ครอบครัวทางตอนเหนือจะรวมตัวกันและรับประทานเกี๊ยว ขณะที่ผู้คนทางตอนใต้จะรับประทานเค้กข้าว เกี๊ยวทอด ของว่างและขนม เช่น เม็ดบัวเชื่อม
เค้กข้าวของจีนและของว่างที่รับประทานในโอกาสเฉลิมฉลองตรุษจีน Credit: Wikimedia/ evelynquek (CC BY 2.0)
หม้อไฟ สตูว์เป็ดตุ๋นขิง และซุปไก่ปรุงไวน์ เป็นสัญลักษณ์ของการคืนสู่เหย้า เป็นอาหารดั้งเดิมของครอบครัวในประเทศไต้หวัน ประเพณีอื่นๆ ของชาวไต้หวันคือการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและมารยาททางวัฒนธรรมต่างๆ
ช่วงเทศกาลปีใหม่ คนจีนจะสวมเสื้อผ้าสีแดงหรือสีสันสดใส จากตำนานความเชื่อเรื่องเหนียน บางคนจะใส่เสื้อผ้าใหม่ทั้งหมดเพื่อเป็นสัญลักษณ์ต้อนรับปีใหม่ด้วยการเริ่มต้นใหม่
คนรุ่นเก่าจะมอบของขวัญซึ่งเป็นเงินในซองสีแดงที่เรียกว่าอั่งเปาหรือเงินนำโชค (lai see; 利是) ให้แก่ลูกหลาน ในทางกลับกันคนรุ่นหลังจะอวยพรให้ผู้สูงอายุมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและมีโชคลาภ นับเป็นมารยาทตามประเพณีและขนบธรรมเนียมดั้งเดิม
คนรุ่นเก่าจะมอบอั่งเปาให้ลูกหลานช่วงตรุษจีน Source: Supplied / Supplied - Tet Lunar New Years Festival VIC.
กด ▶ ฟังพอดคาสต์เรื่องนี้
ออสเตรเลียเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ทางจันทรคติอย่างไร
SBS Thai
31/01/202212:01
สีแดงไม่ใช่สีนำโชคเสมอไป
การเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติของชาวเกาหลีมีขึ้นตามหลักฐานที่พบในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ของจีนชื่อ “ประวัติศาสตร์ราชวงศ์สุย (Book of Sui)” และ “พงศาวดารราชวงศ์ถัง (The Old Book of Tang)” ในศตวรรษที่ 7 โดยตามประวัติศาสตร์ของเกาหลี การเฉลิมฉลองเทศกาลขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติถูกบันทึกไว้เป็นครั้งแรกใน “อนุสรณ์แห่งสามก๊ก (Memorabilia of the Three Kingdoms)” ที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 13 จารึกว่างานเทศกาลประจำปีนี้ถือเป็น 1 ใน 9 งานเฉลิมฉลองตามประเพณีของปีของเกาหลี
ขณะที่ชาติอื่นๆ ที่เฉลิมฉลองปีใหม่เช่นกัน สีแดงไม่มีความสำคัญในวัฒนธรรมเกาหลี และไม่ถือว่าเป็นสิ่งปัดเป่าวิญญาณร้ายหรือนำโชคดีมาให้ ชาวเกาหลีที่เฉลิมฉลองปีใหม่จะใส่เสื้อผ้าที่มีหลากหลายสีสัน
เด็กๆ ในชุดฮันบก Source: Pixabay
นอกจากนั้นยังมีพิธีเซ่นไหว้และพิธีบูชาด้วย ชาวเกาหลีจะประกอบพิธีการโค้งคำนับที่เรียกว่า เซแบ (Sebae 세배) ซึ่งคนรุ่นหลังจะไหว้เคารพผู้อาวุโสในครอบครัว โดยจะเริ่มจากผู้ที่อาวุโสที่สุด และอวยพรให้พวกเขาโชคดีและประสบความสำเร็จตลอดปี
เด็กๆ จะได้รับของขวัญเป็นซองเงิน ซึ่งเป็นสีใดก็ได้ เนื่องจากชาวเกาหลีไม่ถือว่าสีแดงเป็นสีนำโชค
ชาวเกาหลีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและไหว้เคารพกันและกันในปีใหม่ Credit: Wikimedia/ Korea.net / Korean Culture and Information Service (Jeon Han) (CC BY 2.0)
ประกอบด้วย น้ำซุปที่มีเค้กข่าวฝานบางๆ เค้กข้าวสีขาวลักษณะกลมเป็นสัญลักษณ์ของสุขภาพดีและความมั่งคั่ง
อกกุกเป็นซุปที่รับประทานในการเฉลิมฉลองปีใหม่ของเกาหลี Credit: Flickr/ Korea.net / Korean Culture and Information Service (Jeon Han) (CC BY-NC-SA 2.0)
เฉกเช่นวัฒนธรรมชาติอื่น ชาวเกาหลีจะร่วมรับประทานอาหารเย็นกับครอบครัวในวันส่งท้ายปีเก่า อาหารดั้งเดิมได้แก่ ข้าวห้าเมล็ด (ogok-bap 오곡밥) เค้กข้าวเกาหลี (tteok 떡) และเกี๊ยวเกาหลี (mandu 만두)
ปี 2023 เป็นปีของกระต่ายหรือปีแมว?
ตามตำนานสิบสองนักษัตรของเวียดนาม ปี 2023 เป็นปีแมว ไม่ใช่ปีกระต่าย (เถาะ) และวันแรกของปีเรียกว่า “เทด หยวน แดน (Tết Nguyên Đán)”
ตำนานโบราณของเวียดนามระบุว่าสัตว์ทุกตัวได้รับคำเชิญให้ร่วมแข่งกันข้ามแม่น้ำเพื่อตัดสินลำดับจักรราศี และหนูได้หลอกล่อแมวไม่ให้ไปถึงเส้นชัย
แม้แมวจะถูกหลอก แต่ก็ยังหาทางข้ามแม่น้ำมาได้และเป็น 1 ใน 12 นักษัตร ต่างจากตำนานของชาติอื่น
อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่แท้จริงเบื้องหลังความแตกต่างนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ ทฤษฎีหนึ่งระบุว่าเมื่อครั้งจักราศีของจีนถูกกล่าวขานในเวียดนาม มีความสับสนเล็กน้อย เนื่องจากการออกเสียงคำว่า “กระต่าย” ในภาษาเวียดนามนั้นคล้ายกับคำว่า “แมว” ทำให้แมวเป็นหนึ่งในนักษัตร
อีกหนึ่งทฤษฎีกล่าวว่า เนื่องจากสภาพอากาศในเวียดนามนั้นร้อนกว่าจีน และหนูนับเป็นศัตรูพืชที่สร้างปัญหาให้เกษตรกร โดยธรรมชาติแล้วแมวนับเป็นศัตรูกับหนู เกษตรกรชาวเวียดนามจึงเชื่อว่าแมวจะนำความอุดมสมบูรณ์มาให้แก่ผลผลิต ดังนั้นจึงเลือกแทนที่กระต่ายด้วยแมวในจักราศี
เฉกเช่นชาวจีนและชาวเกาหลี ชาวเวียดนามยังเซ่นไหว้บรรพบุรุษในช่วงเทศกาลปีใหม่ทางจันทรคติด้วย “ผลไม้ห้าถาด (Mâm ngũ quả)” ประกอบด้วย น้อยหน่า มะเดื่อ มะพร้าว ผลไทร และมะม่วง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของความเจริญรุ่งเรื่องและโชคลาภ
ผลไม้ห้าถาดตามธรรมเนียมของเวียดนาม Credit: Wikimedia/ Tran Trong Nhan (Public Domain)
ยามค่ำคืน ครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน
ในวันแรกของปีใหม่ ทุกครอบครัวจะเซ่นไหว้บรรพบุรุษ รวมถึงบูชาเทพเจ้าแห่งโลก (The Earth God) เทพเจ้าแห่งครัว (The Kitchen God) และเทพเจ้าแห่งศิลปะทั้งปวง (the Patriarch of All Arts) เครื่องสังเวยมักจะมี เกี๊ยวข้าว เกี๊ยวเนื้อ ปลาย่าง เนื้อย่าง ต้นหอมดอง เนื้อวัว และอื่นๆ
อีกหนึ่งอาหารเวียดจามตามประเพณีปีใหม่คือ (bánh chưng) ซึ่งเป็นเค้กข้าวรูปสี่เหลี่ยมห่อด้วยใบตอง สอดไส้ด้วยถั่วเขียวและหมู
เมื่อเสร็จสิ้นพิธี ผู้ที่อายุน้อยจะทักทายคนรุ่นอาวุโส ซึ่งจะมอบเงินนำโชคเป็นอั่งเปาเพื่อเป็นการตอบแทน
แบน ชัง หรือเค้กข้าวของชาวเวียดนาม Credit: Wikimedia/ Viethavvh (CC BY-SA 3.0)
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
มองวิวัฒนาการตรุษจีนตั้งแต่รากในเอเชียสู่ออสเตรเลีย