เมื่อออสเตรเลียเริ่มให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 คุณแดเนียล (Daniel) อยาก ‘รอและดู’ ว่าจะปลอดภัยแค่ไหนก่อนที่จะไปฉีด
แต่หลังจากได้ปรึกษากับแพทย์จีพี (GP) และตระหนักว่าไวรัส ‘จะไม่หายไป’ เร็ว ๆ นี้ เขาจึงจองนัดฉีดวัคซีน
การที่คุณแดเนียลมีความลังเลในตอนแรกนั้น ทำให้เขาเข้าใจเพื่อน ๆ ของเขาที่ไม่แน่ใจที่จะรับวัคซีน
คุณแดเนียลแนะว่า เขาร่วมพูดคุยกับเพื่อนของเขา และ “ไม่ต่อต้านเขา” เพื่อที่เพื่อนจะมีความรู้สึกว่ามีอำนาจในการตัดสินใจที่จะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองจากข้อมูลที่เป็นความจริง
มันเป็นการหยดน้ำลงบนหิน แต่มันทำให้ความคิดเริ่มตกตะกอน และช่วยให้เพื่อนถามตัวเองเรื่องวัคซีนมากขึ้นเรื่อย ๆ
สามอาทิตย์ถัดมา คุณแดเนียลได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนที่บอกกับเขาว่าไปฉีดวัคซีนมาแล้ว
“หากคุณพยายามที่จะเปลี่ยนความคิดของเพื่อน มันจะกลายเป็นการเพิ่มความลังเลของพวกเขา” คุณแดเนียลกล่าว
“ผมคิดว่า พวกเขาอยากที่จะนั่งคุยกับคนที่พวกเขาเคารพและเชื่อใจ และให้เวลาพวกเขาที่จะเผชิญกับความกลัว ความกังวลใจ และหาคำตอบที่ถูกต้อง”
ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
กลุ่มต่อต้านการฉีดวัคซีน (Anti-vaxxers) เป็นประเด็นร้อนในตอนนี้ แต่พวกเขายังคงเป็นกลุ่มคนจำนวนน้อย
ดร. เคธี่ แอตต์เวลล์ (Dr Katie Attwell) นักสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย กล่าวว่ากลุ่มคนที่อ้างว่าจะไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 เด็ดขาดมีจำนวนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
เธอเชื่อว่า สิ่งสำคัญคือการแยกแยะระหว่างกลุ่มคนที่ต่อต้านการฉีดวัคซีนกับกลุ่มคนที่ลังเลที่จะฉีดวัคซีน
“มันไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร และการบอกคนที่ลังเลว่ามีแค่สองทางให้เลือกเท่านั้น คุณจะร่วมด้วยหรือคุณจะต่อต้าน” ดร. แอตต์เวลล์กล่าวกับเดอะ ฟีด (The Feed)สิ่งสำคัญคือการเปิดให้มีการพูดคุยมากกว่าการตัดจบบทสนทนา
A woman walks past signs of AstraZeneca and Pfizer Covid-19 vaccines outside a doctor’s surgery in Sydney. Source: AAP
เราควรที่จะสามารถอดทนต่อการขัดแย้งและความเห็นที่แตกต่างกับคนที่เรารักได้ ดร. แอตต์เวลล์กล่าว
เมื่อพูดถึงวิธีที่สุดที่จะพูดคุยเรื่องวัคซีนกับคนที่ลังเล ดร. แอตต์เวลล์กล่าวว่าความเห็นอกเห็นใจนั้นเป็นกุญแจสำคัญ การพูดคุยในบริบทที่สบาย ไม่กดดัน เป็นการเริ่มต้นที่ดี
“ฉันจะพูดว่า ‘ฉันเข้าใจว่าคุณมีเรื่องที่กังวลนะ คุณช่วยบอกฉันได้ไหมว่าคุณกังวลเรื่องอะไร?’ และเมื่ออีกฝ่ายพูด แทนที่จะบอกว่า ‘นั่นเป็นสิ่งที่ผิด’ ควรพยายามเชื่อมโยงความรู้สึกกับสิ่งที่เขาพูด” ดร. แอตต์เวลล์กล่าว
ดร. แอตต์เวลล์กล่าวว่า ขั้นต่อไปคือการแบ่งปันข้อมูลที่คุณมี และแนะนำให้พวกเขาไปปรึกษาแพทย์จีพี เกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขากังวล
“เราควรเคารพความคิดของอีกฝ่าย เราไม่ควรกระหน่ำข้อมูลใส่พวกเขา” ดร. แอตต์เวลล์แนะ
และการแนะนำของบุคลากรทางแพทย์นั้นเป็นกุญแจสำคัญที่ของการยอมรับ
ความสำคัญของการเห็นอกเห็นใจ
หลังจากการพูดคุยกับเพื่อนร่วมห้องของเธอเรื่องวัคซีน คุณบิแองกา (Bianca) เรียนรู้ว่าการเผชิญหน้าไม่ใช่วิธีที่ดี
“ในตอนแรก ฉันไม่ได้เริ่มคุยเพื่อที่จะรับฟังว่าทำไมเขาถึงไม่ยอมฉีดวัคซีน ฉันเริ่มคุยประมาณว่า ‘เธอช่างงี่เง่า’” คุณบิแองกากล่าวกับเดอะ ฟีดหลังจากต้องผ่านการล็อกดาวน์หลายครั้งในเมลเบิร์น คุณบิแองการู้สึกหงุดหงิดที่เพื่อนร่วมห้องของเธออยากที่จะรอก่อนที่จะรีบไปฉีดวัคซีน
Vials of Pfizer vaccine (AAP) Source: AAP
แต่หลังจากการพูดคุยที่จบลงด้วยการโต้เถียง เธอตัดสินใจที่จะใช้วิธีใหม่
“ฉันเริ่มด้วย ‘คุณกังวลเรื่องอะไรบ้างเหรอ?’ และได้รับการตอบกลับว่า มีคำแนะนำต่าง ๆ และข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เขาไม่รู้ว่าอะไรคือข้อมูลที่ดีที่สุดที่ควรเชื่อ”
คุณบิแองกากล่าวว่า เธอรับผังและตอบคำถามและเรื่องที่เพื่อนกังวล แทนที่จะปัดเรื่องเหล่านั้นออกไป
“เมื่อมีการประกาศให้คนอายุ 16-39 ปีไปฉีดวัคซีน เขาบอกว่า ‘ฉันจะรีบไปฉีดวัคซีนเดี๋ยวนี้เลย’” คุณบิแองกากล่าว
“หากคุณด่วนสรุปว่าคนที่ลังเลเป็นคนที่ต่อต้านวัคซีน เหมือนที่ฉันเป็น คุณคงจะไม่ได้อะไรจากการพูดคุย”
คุณบิแองกาเชื่อว่าการใช้วิธีง่าย ๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ เพื่อลดความกลัวและข้อมูลที่ผิดๆ เรื่องการฉีดวัคซีน คือการแบ่งปันเรื่องราวในการฉีดวัคซีนของพวกเรา
คุณสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีได้ด้วยการเผยเรื่องการไปฉีดวัคซีนและพูดถึงประสบการณ์ของคุณ คุณบิแองกากล่าว
“ตอนที่ฉันไปฉีดวัคซีนเข็มแรก ฉันโพสต์เรื่องของฉันบนโซเชียลมีเดีย และผู้คนตอบรับเป็นอย่างดี ว่าเรื่องของฉันทำให้พวกเขารู้สึกดี และทำให้พวกเขารู้สึกว่านี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร”
“ถ้าโพสต์ของฉันมันทำให้คนอื่นไปจองฉีดวัคซีน มันก็ถือว่าคุ้มค่า”
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่