ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับคุณนิโคล พาพาซาวาส เจ้าของร้านอาหารกรีก Stalactites อันโด่งดังในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของเมลเบิร์น
“แม้แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยช่วงปีทศวรรษ 90 ก็ไม่ได้เลวร้ายเท่านี้” คุณพาพาซาวาส กล่าวถึงความท้าทายที่ร้านอาหารที่เปิดมา 43 ปีแห่งนี้ต้องเผชิญตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19
ร้านอาหารกรีก Stalactites ตั้งอยู่ในทำเลทองในย่านศูนย์กลางธุรกิจใจกลางนครเมลเบิร์น
แม้ว่าจนถึงขณะนี้ ร้านอาหารแห่งนี้จะสามารถดำเนินกิจการอยู่ได้จากการเปลี่ยนการให้บริการเป็นแบบให้ลูกค้าสั่งอาหารกลับบ้าน (take-away) ทุกครั้งที่มีการล็อกดาวน์ในเมลเบิร์น แต่คุณพาพาซาวาสก็รู้สึกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของร้านอาหารแห่งนี้
ที่สำคัญกว่านั้น เธอเป็นห่วงเกี่ยวกับอนาคตของย่านศูนย์กลางธุรกิจใจกลางนครเมลเบิร์น (Melbourne CBD)
“เมื่อเรากลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อต้นปีนี้หลังการล็อกดาวน์ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น ตอนนั้นเรากลับมามีผู้ติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์ ผู้คนจึงไม่กลัวที่จะออกไปไหนมาไหน” คุณพาพาซาวาส กล่าว
“ในตอนนั้นร้านเรายุ่งมาก เราไม่สามารถรับจองโต๊ะได้ด้วยซ้ำ เพราะเรามีคนเข้าแถวรอที่จะเข้ามานั่งในร้านอยู่แล้ว” เจ้าของร้านอาหารกรีกผู้นี้กล่าว
"แต่คราวนี้ คนที่เดินผ่านไปมาหน้าร้านตามท้องถนนและการค้าขายน้อยลงกว่าคราวก่อนมาก เรากำลังมีผู้ติดเชื้อกว่า 1,000 รายต่อวัน และผู้คนก็ลังเลใจที่จะกลับมา" คุณพาพาซาวาส กล่าว
แต่คราวนี้ คนที่เดินผ่านไปมาหน้าร้านตามท้องถนนและการค้าขายน้อยลงกว่าคราวก่อนมาก เรากำลังมีผู้ติดเชื้อกว่า 1,000 รายต่อวัน และผู้คนก็ลังเลใจที่จะกลับมา
Tennis players Petros Tsitsipas, Stefanos Tsitsipas, Michail Pervolarakis and Marcos Kalovelonis at Melbourne's Stalactites restaurant earlier this year. Source: Supplied
แม้ว่าซิดนีย์ได้กลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง แต่มีผู้คนสัญจรไปมาตามท้องถนนเพียงเล็กน้อยในย่านศูนย์กลางธุรกิจใจกลางเมือง (CBD) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านที่เป็นฐานที่มั่นของชุมชนหลากวัฒนธรรม เช่น ไชน่าทาวน์
“ไชน่าทาวน์พึ่งพานักท่องเที่ยวและนักศึกษาต่างชาติเป็นอย่างมาก และการไม่มีคนทั้งสองกลุ่มนี้อย่างยังคงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพื้นที่ไชน่าทาวน์” คุณอลัน ชู เจ้าของร้านอาหารไต้หวัน Mother Chu ในไชน่าทาวน์ของซิดนีย์ กล่าว
“แม้แต่คนท้องถิ่นเองก็ไม่เข้ามาในเมืองอีกต่อไปแล้ว เพราะพวกเขากำลังทำงานจากที่บ้าน” คุณชู กล่าว
แม้แต่คนท้องถิ่นเองก็ไม่เข้ามาในเมืองอีกต่อไปแล้ว เพราะพวกเขากำลังทำงานจากที่บ้าน
เนื่องจากผู้คนไม่กลับมา ร้านอาหารจีนชื่อดังอย่างร้าน Golden Century จึงได้ปิดกิจการไปในเดือนสิงหาคม
ในขณะที่กลุ่มเจ้าหนี้ได้ลงมติให้ปกป้องร้านอาหารไม่ให้ต้องปิดตัวลงถาวร แต่ร้านอาหารจีนติ่มซำที่มีชื่อเสียงมานานของซิดนีย์อีกแห่งหนึ่งคือ ร้าน Marigold ได้ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ ว่าจะปิดตัวลงในเดือนธันวาคมปีนี้
“โควิด-19 ส่งผลกระทบในทางลบต่อย่านศูนย์กลางธุรกิจใจกลางนครเมลเบิร์นและซิดนีย์มากที่สุด” คุณมาร์ก แม็กครินเดิล นักประชากรศาสตร์และนักวิจารณ์ด้านสังคม กล่าว
“และเนื่องจากพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดของออสเตรเลีย โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในย่านศูนย์กลางธุรกิจใจกลางเมืองเหล่านี้พูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษที่บ้าน ชุมชนพหุวัฒนธรรมในนครทั้งสองของเราจึงกำลังประสบความยากลำบากอย่างแท้จริง” แม็กครินเดิล กล่าวเพื่อพยายามที่จะปกป้องศูนย์กลางธุรกิจใจกลางเมืองเหล่านี้ไม่ให้ประสบปัญหาหนักมากขึ้นกว่านี้ รัฐบาลของรัฐและเทศบาลเมืองของทั้งซิดนีย์และเมลเบิร์นได้เปิดตัวโครงการให้สิ่งจูงใจใหม่ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนกลับมายังย่านศูนย์กลางธุรกิจใจกลางเมือง หรือย่านซีบีดี (CBD)
Alan Chu, owner of Mother Chu’s Taiwanese Gourmet restaurant in Sydney’s Chinatown. Source: Supplied
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลวิกตอเรียและเทศบาลนครเมลเบิร์นได้เปิดตัวแพ็คเกจมูลค่า 44 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนที่ไปรับประทานอาหารนอกบ้านในย่านซีบีดีระหว่างวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี สามารถขอรับเงินคืนได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของบิลค่ารับประทานอาหาร ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายนเป็นต้นไป
นอกจากนั้น ยังมีการสนับสนุนให้ร้านจัดพื้นที่รับประทานอาหารกลางแจ้งริมถนน การยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ โดยโครงการนี้ยังมุ่งสนับสนุนงานกิจกรรมใหญ่ประจำปีของเมลเบิร์น เพื่อสร้างสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น งานศิลปะลอยน้ำในแม่น้ำยาร์ราและตลาดนัดคริสต์มาสกลางคืน ที่ตลาดควีนวิกตอเรียมาร์เกต
ในขณะเดียวกันในนครหลวงของรัฐนิวเซาท์เวลส์นั้น นครซิดนีย์ได้ประกาศการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์ในเขตไชน่าทาวน์ พร้อมกับการปรับปรุงสวนสาธารณะเบลมอร์ (Belmore Park) ใกล้สถานีรถไฟเซนทรัล ด้วยงบประมาณ 10 ล้านดอลลาร์
แต่ความคิดริเริ่มเหล่านี้เพียงพอที่จะช่วยให้ย่านซีบีดีฟื้นคืนชีพได้หรือไม่?
“ช่วยได้” คุณมาร์ก แม็กครินเดิล นักประชากรศาสตร์และนักวิจารณ์ด้านสังคม กล่าว “เงินดำเนินโครงการต่างๆ บัตรกำนัลเหล่านี้จำนวนมาก และสิ่งจูงใจอื่นๆ จะกระตุ้นให้ผู้คนกลับไปยังย่านซีบีดี”
“นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ใจกลางเมืองของเราได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เราได้เห็นมันเกิดขึ้นมาแล้วหลังจากวิกฤตการณ์การเงินโลก (หรือ GFC) ย่านธุรกิจด้านการเงินในซิดนีย์และเมลเบิร์นก็โบ๋กลวงไปเลย เราได้เห็นมันเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงเศรษฐกิจถดถอยต้นทศวรรษ 90 ในแต่ละครั้ง พื้นที่เมืองจะฟื้นตัวกลับมาและพื้นที่เหล่านี้จะฟื้นตัวในครั้งนี้เช่นกัน”
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ใจกลางเมืองของเราได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
Empty streets in the Sydney CBD during the lockdown months. Source: Moment RF
พื้นที่ซีบีดีจะต้องสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่หรือนำเสนอตัวเองในรูปแบบใหม่
“เราจะได้เห็นผู้คนจำนวนมากขึ้นทำงานจากที่บ้านและมีคนมาทำงานที่ย่านซีบีดีเพียงอย่างเดียวน้อยลง”
“ดังนั้น พื้นที่ใจกลางเมืองต่างๆ จึงจำเป็นต้องกลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม โดยมีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ศูนย์กลางการค้าปลีกที่เป็นจุดหมายปลายทางให้คนอยากมา และมีที่พักอาศัยระดับพรีเมียม เพื่อให้พื้นที่ซีบีดีเป็นมากกว่าสถานที่ทำงาน”
แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่คุณพาพาซาวาสหวังเต็มเปี่ยมว่า ผู้คนในซิดนีย์และเมลเบิร์น รวมทั้งผู้มาเยือนจากต่างรัฐ จะช่วยกันให้การสนับสนุนย่านศูนย์กลางธุรกิจใจกลางเมืองเหล่านี้
มีร้านอาหารหลายแห่งในย่านซีบีดีที่มีโต๊ะว่างและกำลังรอคอยผู้คนให้กลับมา
“ดูเหมือนจะมีความเข้าใจผิดในหมู่นักชิมว่าร้านอาหารในย่านเหล่านี้นั้นเต็มทุกร้าน” คุณพาพาซาวาส กล่าว
“แต่นั่นไม่ใช่เลย มีร้านอาหารหลายแห่งในย่านซีบีดีที่มีโต๊ะว่างและกำลังรอคอยผู้คนให้กลับมา”
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่