โพลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดเผยว่าชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่คำนึงถึงความสามารถของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานในการหางานทำ ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ยิ่งกว่าศาสนาหรือประเทศต้นทาง
เอสบีเอสนิวส์ ได้ว่าจ้างเอสเซนเชียลรีเสิร์ช ให้สอบถามความคิดเห็นเรื่องนี้โดยเฉพาะ และพบว่าสามในสี่ของผู้ตอบระบุว่า “การมีทักษะและคุณวุฒิซึ่งจะทำให้พวกเขาหางานทำได้” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาว่าใครควรจะได้รับอนุญาตให้ย้ายมายังประเทศออสเตรเลีย
ในผู้ตอบจำนวนดังกล่าว เกือบหนึ่งในสามจัดอันดับให้ปัจจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดจากเกณฑ์ทั้งหมดแปดประการ
Q: Which of the following criteria do you think should be the most important for deciding whether a migrant should be allowed to move to Australia? Source: Essential Research
ความเข้าใจต่อค่านิยมแบบออสเตรเลียและความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวเลือกที่แพร่หลายรองลงมา โดยถูกระบุให้เป็นหนึ่งในความสำคัญสามประการแรก ที่ 65 เปอร์เซ็นต์ และ 51 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในหมู่ผู้ตอบ
เกือบหนึ่งในห้าของผู้ถูกสำรวจเชื่อว่า ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายใหม่
อ่านเพิ่มเติม
ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่สนับสนุนรับผู้อพยพ
มีผู้ถูกสอบถามจำนวน 1,079 คนในการทำสำรวจความคิดเห็นครั้งดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ศาสนาและประเทศต้นทางเป็นประเด็นซึ่งสำคัญน้อยที่สุด โดยมี 18 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่าประเทศที่มาของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายใหม่ ถือว่าเป็นหนึ่งในสามประการแรก และ 11 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าศาสนานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ
ศาสนาไม่ใช่อุปสรรค
คุณอินาซ จานิฟ จากเครือข่ายต่อต้านการเกลียดชังอิสลาม (Islamophobia Network) รู้สึกประหลาดใจที่ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงว่าศาสนานั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ในการประเมินว่าผู้ใดควรเข้ามาในประเทศออสเตรเลีย
“ฉันถูกบอกเมื่อฉันสมัครงานตำแหน่งแรกของฉัน ว่าฉันจะได้งานตราบใดที่ฉันหยุดสวมฮิญาบ... ในตอนนี้ฉันไม่เห็นว่าศาสนาจะเป็นอุปสรรคอย่างมากมายอะไร ดังนั้นมันก็ทำให้มีกำลังใจ” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์เธอยังผลักดันให้ชาวออสเตรเลียเปิดใจกว้างในเรื่องระดับคุณวุฒิของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน
คุณอินาซ ชาริฟ กล่าวว่าเธอได้กำลังใจจากการที่ศาสนาไม่ได้ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับชาวออสเตรเลีย ในการประเมินว่าใครควรจะเข้าประเทศ (Image source: SBS News) Source: SBS
“ทักษะและคุณวุฒินั้นสำคัญ แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่าบางคนนั้นไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาขึ้นไปได้เลยจนกว่าสถานการณ์แวดล้อมของพวกเขานั้นเปลี่ยนแปลงเสียก่อน”
สส. พรรคลิเบอรัลของเขตเลือกตั้งเบนเนลอง (Bennelong) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ นายจอห์น อเล็กซานเดอร์ ก็รู้สึกคลายใจที่ชาวออสเตรเลียนั้นไม่ได้คำนึงว่าศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญ
“ผมหวังว่าเราจะไม่แบ่งแยกกันด้วยพื้นฐานทางศาสนา” คุณอเล็กซานเดอร์กล่าว
นักการเมืองจำนวนหนึ่งรวมถึงตัวเขาด้วย ได้ขึ้นเป็นองค์ปาฐกในการอภิปรายที่ย่านพารามัตตาซึ่งจัดโดยเอสบีเอสเมื่อวันอังคาร (7 พ.ค.) โดยรัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองนายเดวิด โคลแมนก็เข้าร่วมการอภิปรายดังกล่าว แต่ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับเอสบีเอสนิวส์
ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเขตแบงส์ (Banks) จากพรรคแรงงาน นายคริส แกมเบียน กล่าวว่า จำเป็นจะต้องมีการ “ถกกันอย่างจริงจัง” เกี่ยวกับค่านิยมและระดับที่เหมาะสมของการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศ
“เราจำเป็นต้องรับเข้ามาในจำนวนที่เหมาะสม ซึ่งควรถูกกำหนดโดยผู้คนที่มีสติปัญญาและอยู่บนพื้นฐานที่เป็นรูปธรรม ผู้ที่ทราบดีว่าอะไรคือการผสมผสานอย่างพอเหมาะ ณ เวลานั้นๆ” คุณแกมเบียนกล่าว
การอพยพย้ายถิ่นฐานและการปรับตัวทางสังคม
โพลสำรวจความคิดเห็นอีกโพลหนึ่งซึ่งจัดทำโดยเอสบีเอสนิวส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นว่า
เมื่อเดือนกรกฎาคม นายมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นกล่าวว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะเริ่มให้มี “การทดสอบค่านิยม” สำหรับผู้ยื่นขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร เพื่อพยายามเพิ่มพูนการปรับตัวทางสังคมให้ดียิ่งขึ้น
“หนึ่งในเหตุผลที่เราทำเช่นนั้นเพราะที่ออสเตรเลียนี้เราทุ่มเทความพยายามอย่างมหาศาลให้กับการปรับตัวทางสังคม ทุ่มเทให้กับการพยายามเพื่อให้แน่ใจว่า(สังคม)พหุวัฒนธรรมในแบบของเรานั้นเป็นสังคมที่พวกเราทุกคนสามารถได้ประโยชน์จากความหลากหลายของวัฒนธรรม ศาสนา และพื้นเพชาติพันธุ์ของชาวออสเตรเลีย” เขากล่าวไว้ในขณะนั้นมีการชงแนวคิดดังกล่าวหลังจากที่วุฒิสภาปัดตักข้อเสนอของรัฐบาลที่จะให้เกณฑ์การได้สัญชาตินั้นยากขึ้นกว่าเดิม โดยรัฐบาลต้องการจะให้ผู้ยื่นขอต้องอาศัยอยู่ในออสเตรเลียอย่างน้อยสี่ปีเสียก่อนและผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษระดับสูง
นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันถ่ายภาพเซลฟีกับพลเมืองออสเตรเลียซึ่งเพิ่งสาบานตน ในพิธีมอบสัญชาติวันออสเตรเลียเดย์ (Image source: AAP) Source: AAP
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลยืนยันว่าจะลดเพดานการรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายปีลงจาก 190,000 รายเหลือ 160,000 ราย โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “แก้ปัญหาความแออัด”
ฝ่ายค้านสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งก็สอดคล้องกับตัวเลขตามจริงของจำนวนผู้ที่ได้รับสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรในปีการเงินนี้
ในขณะเดียวกัน จำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่ถือวีซ่าชั่วคราวกลับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ทักษะภาษาอังกฤษ
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ รัฐบาลยังเพ่งเล็งถึงประเด็นความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน ท่ามกลางการอภิปรายเรื่องการตรวจคนเข้าเมืองที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
สถิติต่างๆ นั้นไม่ชัดเจนเท่าไรนักเกี่ยวกับจำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งมีทักษะภาษาอังกฤษอ่อนด้อยเมื่อเดือนกรกฎาคม รัฐมนตรีด้านประชากร นายอลัน ทัดจ์ อ้างถึง “ความถดถอยลงอย่างน่าหนักใจ” ของทักษะภาษาอังกฤษ เมื่อเขาเผยแผนการทดสอบภาษาอังกฤษรายบุคคล สำหรับผู้ยื่นขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรด้วยเช่นกันมิใช่เฉพาะเพียงผู้ขอสัญชาติเท่านั้น
ครอบครัวชาวอินเดียในพิธีมอบสัญชาติที่นครแอดิเลด (Supplied) Source: Supplied
“เราวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนั้น เรามีคนจำนวนหนึ่งล้านคนแล้วในตอนนี้ที่ไม่พูดภาษาอังกฤษในประเทศออสเตรเลีย” นายทัดจ์ชี้แจงกับเอสบีเอสนิวส์ในขณะนั้น
เขากล่าวว่า สัดส่วนของชาวออสเตรเลียซึ่งพูดภาษาอังกฤษไม่คล่องหรือไม่ได้เลยนั้น ได้เพิ่มสูงขึ้นจาก 18.6 เปอร์เซ็นต์ในหมู่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรายใหม่เมื่อปี 2006 ขึ้นเป็นกว่าหนึ่งในสี่ หลังเวลาผ่านไปหนึ่งทศวรรษ
แต่ศาสตราจารย์อิงกริด พิลเลอร์ นักภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมคควอรีโต้แย้งว่าตัวเลขดังกล่าวนั้นใกล้เคียงกับที่ 16.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปี ค.ศ. 2016
รัฐบาลมีข้อกำหนดด้านภาษาอังกฤษสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานบางรายอยู่แล้ว ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า โดยผู้ถือวีซ่าทักษะและวีซ่านักเรียนก็จำเป็นจะต้องแสดงทักษะทางภาษามาตลอด ในขณะที่คู่สมรสหรือครอบครัวนั้นไม่จำเป็น
ส่วนโครงการกลับมาอยู่ร่วมกันของครอบครัว (Family reunion scheme) และโครงการด้านมนุษยธรรม (Humanitarian scheme) สำหรับผู้ลี้ภัยนั้นไม่มีข้อกำหนดด้านภาษาอังกฤษ
รัฐบาลมีชั่วโมงเรียนให้ไม่เกิน 510 ชั่วโมงสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและผู้เข้าประเทศด้วยช่องทางมนุษยธรรมที่มีสิทธิเรียนภาษาอังกฤษฟรี เมื่อเดินทางมาถึงออสเตรเลียแต่ยังไม่เก่งภาษาอังกฤษ ทว่าผู้อพยพย้ายถิ่นเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เลือกใช้ชั่วโมงเรียนเหล่านี้
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
การคิดแต้มคะแนนวีซ่าทักษะออสฯ แบบใหม่ ปี 2019