ความเสี่ยงจากทั้งไฟป่าและจากเชื้อไวรัสโคโรนา ส่งผลให้ออสเตรเลีย กำลังเผชิญภาวะการขาดแคลนหน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่าน หัวหน้าวิทยาลัยการแพทย์ รอยัล ออสเตรเลียน คอลเลจ ออฟ เจเนรัล แพรกทิชันเนอส์ หรืออาร์เอซีจีพี (RACGP) ประกาศว่า แพทย์ทั่วไปต่างๆ ต้องการหน้ากากอนามัยอย่างเร่งด่วน ส่งผลให้รัฐบาลจัดการปัญหานี้ด้วยการนำหน้ากากอนามัย 1 ล้านชิ้นออกมาให้จากคลังสินค้าอุปกรณ์ด้านการแพทย์แห่งชาติ
หน้ากากอนามัยเหล่านั้น จะถูกแจกจ่ายไปยังแพทย์ทั่วไป และร้านขายยาต่างๆ ในพื้นที่ที่ไฟป่าได้ทำให้สต็อกหน้ากากอนามัยลดลง
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ไวรัสโคโรนา: มีกลไกการทำงานและแพร่เชื้ออย่างไร?
หากคุณกำลังประสบปัญหาไม่สามารถหาซื้อหน้ากากอนามัยในพื้นที่ของคุณได้ในขณะนี้ ก็ไม่ต้องตื่นตกใจ ความจริงแล้ว หากคุณกำลังพยายามป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโคโรนา คุณอาจไม่จำเป็นต้องมีหน้ากากอนามัยด้วยซ้ำ
ใครจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยในตอนนี้?
ขณะนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ผู้ที่ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยได้แก่ ผู้ที่กำลังมีอาการของเชื้อไวรัสโคโรนา รวมทั้ง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
นั่นคือ หากคุณได้ไปยังประเทศจีนในช่วง 14 วันที่ผ่านมา และคุณกำลังมีอาการ ที่ได้แก่การมีไข้ ไอ เจ็บคอ หรือหายใจลำบาก มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญให้บุคคลเหล่านี้ต้องสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสไปสู่บุคคลอื่น และให้พบแพทย์ประจำตัวของคุณ
บุคลากรทางการแพทย์ ที่ให้การรักษาผู้คนที่สงสัยว่าอาจมีเชื้อไวรัสโคโรนา ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน
สำหรับคนอื่นๆ ทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องรีบไปซื้อหน้ากากอนามัยมาสวมใส่
“ไม่จำเป็นที่ประชาชนทั่วไปในออสเตรเลียจะต้องสวมหน้ากากอนามัย คนกลุ่มเดียวที่ควรสวมหน้ากากอนามัยในกรณีที่เกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ คือผู้ที่ไม่สบาย และมีประวัติการเดินทางที่เกี่ยวข้อง” นายเบรนเดน เมอร์ฟี หัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ของออสเตรเลีย กล่าวเมื่อวันอังคาร (28 ม.ค.)
นายแพทย์ แฮร์รี เนสโพลอน ประธานวิทยาลัยการแพทย์ รอยัล ออสเตรเลียน คอลเลจ ออฟ เจเนรัล แพรกทิชันเนอส์ หรืออาร์เอซีจีพี (RACGP) บอกกับ เดอะ ฟีด (The Feed) ว่า ไม่จำเป็นที่คนส่วนใหญ่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยในขณะนี้ นอกจากว่าพวกเขาต้องการสวมใส่เอง
“ขณะนี้ คำแนะนำคือ แค่เดินไปตามท้องถนนจะไม่ทำให้คุณติดเชื้อไวรัสโคโรนา คุณจำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนที่ทั้งมีอาการ และเคยไปเมืองจีนมาในช่วง 14 วันที่ผ่านมา จึงจะมีความเสี่ยง” นพ. เนสโพลอน ย้ำ
“หากคุณสบายดีในตอนนี้ คุณก็ควรใช้ชีวิตตามปกติ”
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ออสเตรเลียเพาะไวรัสโคโรนาสำเร็จ เปิดทางคิดค้นวัคซีน
หน้ากากอนามัยประเภทไหนที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาได้?
หากคุณมองหาหน้ากากอนามัยที่จะซื้อมาใช้ พยายามทำให้แน่ใจว่าเป็นหน้ากากที่เหมาะสำหรับสถานการณ์ของคุณ
ทั้งหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และหน้ากากอนามัย P2 (หรือที่รู้จักกันว่าหน้ากากอนามัย N95) สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ แต่อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัย P2 จะครอบที่บริเวณจมูกและปากได้อย่างแน่นหนากว่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ธรรมดา
หากคุณกำลังมองหาหน้ากากอนามัยเพื่อกรองฝุ่นจากควันไฟป่า คุณต้องใช้หน้ากากอนามัย P2 เนื่องจากหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ธรรมดาไม่สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กของฝุ่นที่มากับควันไฟป่าได้
วิธีใดดีที่สุดในการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา?
คำแนะนำล่าสุดในการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโคโรนา คือเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงด้านสุขภาพของออสเตรเลียคือ
ขณะนี้ กระทรวงแนะนำให้เราล้างมือของเราบ่อยๆ ให้ปิดปากเมื่อไอหรือจาม และให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าหรือสัตว์ในฟาร์ม
"ประชาชนที่ติดเชื้อไวรัส หรือมีอาการของการติดเชื้อไวรัส ควรทำตามคำแนะนำทั่วไป ที่เราแนะนำประชาชนทุกปีเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัส" นพ. เนสโพลอน บอกกับ เดอะ ฟีด
“ก็เช่นว่า หากคุณไอ ให้ไอใส่ที่บริเวณข้อศอกของตนเอง หรือก็คือให้ปิดปากเมื่อไอ และพยายามทำให้แน่ใจว่าคุณล้างมือของคุณหลังจากนั้น หากคุณจับบริเวณใบหน้าของคุณบ่อยๆ เพราะคุณสั่งน้ำมูล ก็เช่นเดียวกัน คือต้องล้างมือของคุณหลังจากนั้น”
“ให้ใช้กระดาษทิชชูใหม่ทุกครั้ง และให้โยนมันทิ้งไปทุกครั้ง และหากคุณไม่สบายมาก ก็ให้อยู่บ้าน อย่างแพร่เชื้อไปยังเพื่อนร่วมงานของคุณในที่ทำงาน”
“หลายอย่างเกี่ยวกับความรับผิดชอบ และเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนของเรา ดังนั้น หากคุณมีความเสี่ยง และเรารู้ว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงคืออะไร คุณก็ควรไปพบแพทย์ประจำตัวของคุณ”
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ไทยครองอันดับ 2 จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
สถิติเผยผู้หญิง 1 ใน 6 เคยเป็นเหยื่อความรุนแรงจากคู่ครอง