ระวังข่าวปลอมไวรัสโคโรนาบนโซเชียลมีเดีย

NEWS: เช็คก่อนเชื่อ ระวังเป็นเหยื่อข่าวปลอม จนท.รัฐนิวเซาท์เวลส์เตือนติดตามข่าวสารอย่างรอบคอบ หลังพบข้อมูลเท็จ-ข่าวปลอม-ทฤษฎีสมคบคิด เผยแพร่ว่อนโลกโซเชียล

Fake coronavirus news is spreading on social media.

There has been claim that fake coronavirus news is spreading on social media. Source: Getty

เจ้าหน้าที่เตือนประชาชนให้ระมัดระวังข้อมูลข่าวสารปลอมเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

นางเคอร์รี แชนท์ (Kerry Chant) หัวหน้าหน่วยงานด้านสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ชาวออสเตรเลียควรใช้ความระมัดระวังในการมีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย

“ดิฉันได้รับโพสต์บนโซเชียลมีเดียจำนวนมากที่มีข้อมูลผิด ๆ เช่น กินอาหารบางชนิดแล้วจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือแม้กระทั่งไปบางสถานที่ สิ่งนี้มีแต่จะสร้างความวิตกกังวลกับชุมชน ในช่วงเวลาเดียวกับที่เรากำลังทำให้แน่ใจว่าเราดำเนินการอย่างระมัดระวังในทุกขั้นตอน” นางแชนท์กล่าว

 “เราต้องการให้ผู้ที่เพิ่งเดินทางมาจากจีน โดยเฉพาะในมณฑลหูเป่ย์รู้สึกสบายใจที่จะมารับการตรวจเชื้อ พร้อมกับให้ความมั่นใจกับบุคคลเหล่านั้นว่าระบบสาธารณสุขของเราจะดูแลอย่างดี ทั้งการกักแยกดูอาการ รวมถึงปกป้องคนทำงานด้านสุขภาพ และปกป้องชุนชนในวงกว้าง”
Dr Kerry Chant talks to reporters.
Dr Kerry Chant talks to reporters. Source: AAP
ทั้งนี้ การแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังมีการแชร์ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ทั้งในออสเตรเลีย และทั่วโลก เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลผิดพลาดที่มีการแชร์บนโซเชียลมีเดีย

โพสต์อาหารปนเปื้อนโคโรนา-ย่านอันตรายในซิดนีย์

ในออสเตรเลีย มีโพสต์บนเฟซบุ๊กที่ได้รับการแชร์นับร้อยครั้งที่อ้างว่า มีอาหารบางประเภทและสถานที่บางแห่งในนครซิดนีย์ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งมีการค้นพบการแพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ของจีน เมื่อปลายเดือนธันวาคมปีก่อน

โพสต์หนึ่งที่เผยแพร่มาตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ระบุข้าวชนิดต่าง ๆ ขนมคุกกี้ และหัวหอมชุบแป้งทอด เป็นอาหารที่มีไวรัสปนเปื้อนอยู่ภายใน นอกจากนี้ ยังมีการอ้างว่า สำนักโรคติดต่อ หรือ Bureau of Diseasology (ชื่อปลอม) ได้ทำการตรวจสอบ และพบเชื้อไวรัสในเมืองต่าง ๆ ในนครซิดนีย์

ด้านหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นรัฐนิวเซาท์เวลส์กล่าวยืนยันว่า สถานที่ซึ่งมีการระบุไว่ในโพสนั้นไม่พบอันตรายใด ๆ ต่อผู้เยี่ยมเยือน และรายชื่ออาหารที่กล่าวอ้างก็ไม่ได้ปรากฎในคำแนะนำและรายการอาหารเรียกคืนของรัฐนิวเซาท์เวลส์

คลิปตลาดอู่ฮั่น

มีคลิปวิดีโอบนเฟซบุ๊กที่ได้รับการเข้าชมมากถึง 88,000 ครั้ง บันทึกภาพที่ระบุว่าเป็นตลาดในเมืองอู่ฮั่น โดยอ้างว่า โคโรนาไวรัสได้แปรสภาพกลายเป็นรูปทรง แต่ความจริงแล้ว คลิปดังกล่าวถูกถ่ายที่ตลาดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นสัตว์ที่ตายแล้ว เช่น หนู งู และค้างคาว ถูกนำมาวางขายในตลาด 

โพสต์เฟซบุ๊กที่สร้างความเข้าใจผิดนี้ เผยแพร่โดยผู้ใช้งานเฟซบุ๊กในประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา
Dead bats in the video.
Dead bats in the video. Source: Facebook
อย่างไรก็ตาม จากการค้นหาย้อนกลับโดยเทียบเคียงจากภาพนิ่งช่วงหนึ่งในวิดีโอ พบว่า มาจากคลิปวิดีโอบนเว็บไซต์ยูทูป ที่มีการอัพโหลดไว้เมื่อ 20 ก.ค.2019 ที่ตลาดลังโกวัน ในจังหวัดซูลาเวซีตอนเหนือ ในประเทศอินโดนีเซีย

คาดการณ์ตัวเลขผู้เสียชีวิตปลอม

ในประเทศศรีลังกา มีโพสต์เฟซบุ๊กที่ได้รับการแชร์ไปนับพันครั้งที่อ้างว่า แพทย์ได้คาดคะเนการเสียชีวนในเมืองอู่ฮั่นว่า ประชากรทั้งหมด 11 ล้านคนจะเสียชีวิตทั้งเมืองจากไวรัสโคโรนา โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นของปลอม โดยรัฐบาลจีนยังไม่เคยคาดการณ์ตัวเลขผู้เสียชีวิตมาก่อน นอกจากนี้ยังมีการอ้างว่า การรับประทานเนื้องูจงอางจีนสามารถทำให้ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาได้ ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่มีพบความเชื่อมโยง 

ถึงแม้จะยังไม่มีวัคซีนในการรักษา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่า ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถฟื้นฟูอาการให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง

น้ำเกลือกลั้วปาก (ไม่) ฆ่าไวรัสโคโรนา

มีโพสต์เป็นจำนวนมากในเหวยโบ๋ โซเชียลมีเดียของจีน รวมถึงในทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก ที่มีผู้คนแชร์ในช่วงเดือนมกราคม ที่อ้างว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจชาวจีนได้บอกให้ผู้คนกลั้วปากด้วยน้ำเกลือเพื่อป้องกันการระบาดของไวรันสโคโรนา แต่เรื่องดังกล่าวเป็นการหลอกลวง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า น้ำเกลือจะไม่ฆ่าเชื้อไวรัส และขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อและหยุดแชร์ข้อมูลทางการแพทย์ผิด ๆ ที่มีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์
1.png
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกได้กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า น้ำเกลือนั้นสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้

ทฤษฎีสมคบคิด

มีโพสต์จำนวนมากบนโซเชียลมีเดีย ทั้งในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ที่อ้างว่าเชื้อไวรัสโคโรนาถูกสร้างขึ้นอย่างมีจุดประสงค์ บางแนวคิดอ้างว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) เป็นผู้สร้างไวรัสชนิดนี้ขึ้นมา
A post shared last week.
A post shared last week. Source: Facebook
ในบางโพสต์ พบว่ามีชุดข้อมูลด้านสิทธิบัตรมาสนับสนุน แต่ทั้งนี้ชุดข้อมูลเหล่านั้นมาจากการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาต่างสายพันธุ์ เช่น สิทธิบัตรเกี่ยวกับการผลิตวัคซีน

ภาพตัดต่อสถานการณ์โคโรนาในฝรั่งเศส

ในประเทศฝรั่งเศส มีหลายโพสต์ในโซเชียลมีเดียที่กระจายอย่างแพร่หลาย โดยอ้างว่า มีผู้ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาในเขต วาล โดอิส (Val D’Oise), ซาวา (Savoie), โล ออง กาโรน (Lot-en-Garonne) และเขตปีเรเน-โอริองตัล (Pyrenees-Orientales) โดยข้อมูลดังกล่าวมีภาพประกอบเพื่อทำให้เหมือนมาจากแหล่งข่าวในฝรั่งเศส

Image

แต่อย่างไรก็ตาม ภาพดังกล่าเป็นภาพตัดต่อ และยังไม่มีการยืนยันผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาจากฝรั่งเศสจนถึงขณะนี้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

รู้ทันกลโกงแก๊งพิศวาสออนไลน์


Share
Published 30 January 2020 12:31pm
Updated 30 January 2020 12:36pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends