มีการพบว่ายาปลอม (placebos) นั้นสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทางร่างกายได้ แล้วถ้าหากว่ามีการบาดเจ็บทางจิตใจเนื่องจากอกหักล่ะ?
การทดลองยาปลอมของคุณไมเคิล โมส์ลีย์ (Michael Mosley’s Placebo Experiment) เป็นรายการตอนหนึ่งทางโทรทัศน์ ที่ฉีกตัวออกจากการค้นคว้าหลักๆ ในเรื่องการบริหารจัดการความเจ็บปวดทางร่างกาย เพื่อดูว่ายาปลอมนั้นจะสามารถใช้สำหรับสิ่งที่ไม่ใช่ปัญหาทางการแพทย์ เช่นการอกหักได้หรือไม่
ในโอกาสวันวาเลนไทน์ของปีนี้ เราจะมาดูกันว่าจริงๆ แล้วจะเป็นไปได้หรือไม่
อย่างแรกเลย หัวใจสลาย นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
(Image source: SBS Guide) Source: (Image source: SBS Guide)
คำตอบก็คือใช่ มันเกิดขึ้นได้จริง และในบางกรณีก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สภาวะดังกล่าวได้รับการตั้งชื่ออย่างน่าสนใจว่า “กลุ่มอาการหัวใจสลาย” และสามารถเกิดขึ้นได้จากความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่นการเลิกราหรือหย่าร้าง การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยหากอ้างอิงจาก เรื่องดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้คู่ครองจำนวนถึงครึ่งหนึ่ง เสียชีวิตเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ฝ่ายใดอีกฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตลง
ชื่อที่เป็นทางการกว่านั้นคือ ทาคตสึโบะ คาร์ดิโอมัยโอพาธี (Takotsubo cardiomyopathy) หรือ เนื่องจากความเครียด ซึ่งก็คือการที่กล้ามเนื้อหัวใจนั้นอ่อนแรงลงและไม่สามารถที่จะสูบฉีดเลือดได้อย่างเพียงพอได้ โดยทั่วๆ ไปแล้วจะ ซึ่ง 90 เปอร์เซ็นต์ของกรณีที่เกิดขึ้นเป็นสตรีวัย 58 ถึง 75 ปี แต่ทว่าในขณะนี้ก็กำลังพบมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ป่วยจากกลุ่มอาการหัวใจสลายนั้นจะมีอาการของหัวใจวาย (จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ) โดยทั่วๆ ไปได้แก่การหายในไม่อิ่ม เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนความเครียด เช่น อะดรีนาลิน
อย่างไรก็ตาม แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ ดร. สัตยจิต ภูศรี จากโรงพยาบาลเลนอกซ์ในมหานครนิวยอร์กก็กล่าวกับเอ็นบีซีว่า ผู้ป่วยเหล่านี้นั้นมี “หลอดเลือดหัวใจที่สะอาดเอี่ยมอ่อง” และ “ปัญกาการสูบฉีดของหัวใจก็จะหายไปในระยะเวลาแปดชั่วโมงถึงสองเดือน”
ถึงแม้ว่าเกือบทุกคนจะหายจากกลุ่มอาการดังกล่าว ผู้ป่วยบางรายก็เสียชีวิตลงในกรณีที่รุนแรง
แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเพราะเหตุใดอารมณ์และความเครียดทางจิตใจจึงก่อให้เกิดกลุ่มอาการหัวใจสลาย คุณหมอแซคารี โกลด์เบอร์เกอร์ แพทย์โรคหัวใจและรองศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ก็กล่าวว่า มี “การเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างสมองและหัวใจ”
“หัวใจนั้นมีตัวรับสัญญาณ (receptors) ซึ่งรับคำสั่งโดยตรงจากสมอง” เขากล่าวกับเอ็นบีซี “แม้ว่าเรากำลังทำความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะดังกล่าว สมมติฐานโดยทั่วๆ ไปก็คือ หากตกอยู่ในความเครียดหรือได้รับความกระทบกระเทือน ระบบประสาทอัตโนวัติซิมพาเธติกก็จะหลั่งสารสื่อประสาทออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีฤทธิ์เหมือนอะดรีนาลิน”
“ฮอร์โมนต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นพิษต่อหัวใจ และอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบาดเจ็บ”
ถ้าหากว่าท่านอกหักหัวใจสลายตามคำอุปมาอุปไมย ยาปลอมจะช่วยได้หรือไม่?
Left and right: a subject reacts to seeing a friend and an ex respectively. Middle: the placebo nasal spray. Source: SBS
มี ซึ่งซับซ้อน ในสารคดีเรื่องดังกล่าวข้างต้น ที่แนะว่าหนทางแก้อาจเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดยงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Neuroscienceเมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยมหาวิทยาลัยโคโลราโด ได้ทดสอบอาสาสมัครเป็นจำนวน 40 คน ผู้ซึ่งในระยะเวลาหกเดือนที่ผ่านมาได้ผ่าน “การเลิกราซึ่งตนไม่ต้องการให้เกิดขึ้น” โดยมีรายงานว่างานวิจัยนี้นั้นเป็นครั้งแรกที่มีการวัดว่ายาปลอมจะสามารถเปลี่ยนแปลงความเจ็บปวดทางจิตใจของใครสักคนซึ่งประสบกับการเลิกรากันได้หรือไม่
มีการแสดงภาพของอดีตคนรักให้ผู้มีส่วนร่วมได้เห็น และก็ขอให้พวกเขานั้นจำเหตุการณ์เมื่อเลิกร้างกัน หลังจากนั้นก็จะมีการแสดงภาพของเพื่อนสนิทเพศเดียวกันคนหนึ่ง แล้วพวกเขาก็จะถูกกระทำให้เจ็บปวดทางร่างกาย โดยมีถูกประคบด้วยความร้อนที่ท่อนแขนด้านล่างฝั่งซ้าย ทั้งหมดนี้ก็ฟังดูน่าสับสนใช่ย่อยทีเดียว การตอบสนองทางระบบประสาทของพวกเขาถูกวัดโดยเครื่องสร้างภาพการใช้งานด้วยการเกิดเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (functional magnetic resonance imaging, fMRI) และให้ผู้เข้าร่วมจัดระดับว่าในแต่ละครั้งนั้น พวกเขารู้สึกอย่างไร จาก 1 (แย่มากๆ) จนถึง 5 (ดีมากๆ)
นักวิจัยพบว่า เมื่อเกิดความเจ็บปวดทางอารมณ์หรือทางร่างกายส่วนของสมองที่ทำงานนั้นเป็นส่วนที่คล้ายคลึงกัน ทำให้อาจกล่าวได้ว่าภาวะหัวใจสลายนั้น “มีจริง ในแง่สารเคมีสื่อประสาท” โดยผู้เข้าร่วมนั้นจะได้เห็นภาพของอดีตคนรักและรับความเจ็บปวดทางร่างกาย แต่ก่อนที่พวกเขาจะเข้าเครื่อง fMRI พวกเขาจะได้รับยาพ่นจมูก โดยครึ่งหนึ่งถูกบอกให้เชื่อว่าเป็นน้ำเกลือ ในขณะที่อีกครึ่งถูกบอกว่าเป็น “ยาลดความเจ็บปวดที่มีฤทธิ์แรง และมีประสิทธิผลในการลดความเจ็บปวดทางอารมณ์”
และนี่เองที่ผลลัพธ์ของการทดสอบว่ายาปลอมนั้นรักษาภาวะที่ไม่ใช่ภาวะทางการแพทย์ได้หรือไม่ ซึ่งน่าประหลาดใจเป็นอย่างมาก: ผู้เข้าร่วมกลุ่มนี้ประสบกับความเปลี่ยนแปลงของสมองส่วน เพริอะควิดักตอลเกรย์ (periaqueductal gray, PAG) ย่านใจกลางสมองซึ่งควบคุมความเจ็บปวด โดยมีกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นในบริเวณนี้ ดังนั้นในกลุ่มที่ได้รับยาปลอม ความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจก็ได้จะรับการบรรเทาในระดับหนึ่งเนื่องจากยาปลอมพ่นจมูก
ผู้ช่วยการวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ลีโอนี โกบาน กล่าวว่า “การเลิกกับคู่รักนั้นเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เป็นลบอย่างมากที่สุดอย่างหนึ่งที่บุคคลหนึ่งจะประสบ และมันก็อาจะเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ทางจิตวิทยาขึ้น”
“ในการศึกษาค้นคว้าของเรา เราพบว่ายาปลอมนั้นมีผลที่ค่อนข้างรุนแรง ในการลดความเลวร้ายของความเจ็บปวดทางสังคม”
คงจะดีไม่น้อย หากมียาแก้ที่ทำให้หายสนิทไปเลย...
ท่านสามารถชมรายการ การทดลองยาปลอมของคุณไมเคิล โมส์ลีย์ (Michael Mosley’s Placebo Experiment) ได้ทาง
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
ผู้หญิงเก่งที่ทำให้คำปรึกษาสุขภาพจิตใกล้แค่เอื้อม