ปัจจัยที่ชลอการเพิ่มขึ้นของค่าแรง
*การทำงานแบบแคสชวลที่เพิ่มมากขึ้น (casualisation) โดยการทำงานไม่เต็มเวลาหรือพาร์ทไทม์ (part-time) และการทำงานแบบแคสชวล (casual work) นั้น แม้จะช่วยให้มีความยืดหยุ่นและทำให้พนักงานมีอำนาจในการเลือกมากขึ้น แต่ทว่ากลับทำให้การเพิ่มขึ้นของค่าแรงก่อนหักค่าใช้จ่ายนั้นลดลง (reducing aggregate wage growth)
*ความไม่มั่นคงของงาน การเข้าแทนที่ของระบบอัตโนมัติ ทำให้ตำแหน่งงานและงานบางประเภทว่างลง ซึ่งบีบให้หลายๆ คนจำเป็นจะต้องหางานทำในอาชีพที่มีรายได้น้อยกว่า และอาศัยระดับทักษะที่ต่ำกว่า
*การรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานที่ถดถอยลง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้นจะได้รับค่าแรงที่สูงกว่า รวมทั้งพนักงานซึ่งมีทักษะที่เท่ากันและอยู่ในภาคส่วนเดียวกัน หากอ้างอิงจากงานวิจัยนานาชาติชิ้นหนึ่ง เมื่ออัตราการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานลดลงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ จะทำให้การเติบโตของค่าแรงลดลงหนึ่งในสี่เปอร์เซ็นต์ในปีถัดไป
*ความล่าช้าของการปรับค่าแรงตามความเป็นจริง (real wage overhang) เมื่อมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของการทำเหมืองแร่ ก็ส่งผลให้ค่าแรงนั้นเพิ่มขึ้นตาม แต่เมื่อราคาของโภคภัณฑ์ (เช่นแร่ต่างๆ) เริ่มลดต่ำลง ก็จะมีการปรับตัว(ของค่าแรง)เกิดขึ้นตามมาเช่นกัน โดยมีการเติบโตของค่าแรงตามตัวเลข (nominal wage) และค่าแรงตามความเป็นจริง (real wage) ที่ต่ำ ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวก็ยังคงทยอยเกิดขึ้นอยู๋ในขณะนี้
(ที่มา งานวิจัยของธนาคารกลางแห่งออสเตรเลีย)
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย
สิทธิอะไรบ้างที่ลูกจ้างควรได้รับ