เผยผู้มาทำงานชั่วคราวในออสฯ และนักเรียนต่างชาติสูญค่าแรง $1 พันล้าน
รายงานฉบับใหม่พบแบคแพคเกอร์และผู้มาทำงานชั่วคราวในประเทศออสเตรเลียถูกฉกฉวยผลประโยชน์ผ่านระบบอัน “แตกหัก” และแทบไม่มีโอกาสได้รับเงินคืน
เมื่อผู้ที่มาทำงานในระหว่างการท่องเที่ยว (เวิร์คกิงฮอลิเดย์) นายรูดอล์ฟ ลาฟงต์ ทราบว่าเขานั้นได้รับค่าจ้างเพียง $5 ต่อชั่วโมงจากการเก็บเกี่ยวผลไม้ที่ฟาร์มแห่งหนี่งในรัฐวิกตอเรีย เขาก็ทำได้เพียงเท่าที่หลายๆ คนในสถานการณ์เดียวกันจะทำได้: ก็คือทำอะไรแทบไม่ได้เลย
“ผมเป็นนักท่องเที่ยวสะพายเป้แบคแพคเกอร์ และผมก็ไม่ต้องการที่จะมีทนายหรืออะไรเช่นนั้น” ชายชาวฝรั่งเศสคนดังกล่าวชี้แจงกับเอสบีเอสนิวส์ “มันยากลำบากและเสียเวลาเป็นอย่างมาก”
ในทางตรงข้าม การฟันฝ่าระยะเวลาหลายสัปดาห์ด้วยสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ณ ฟาร์มแห่งหนึ่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์กลับผลักดันให้แบคแพคเกอร์ชาวเยอรมัน นายยานนิก ลาสส์ชลอตต์ เข้าขอความช่วยเหลือจากผู้ตรวจการแผ่นดินด้านความเป็นธรรมในการว่าจ้างงาน หรือแฟร์เวิร์คโอมบัดส์มัน (Fair Work Ombudsman)
แต่ทว่ามันทำให้เขานั้นตกงาน
“เขาไล่ผมออกในวันรุ่งขึ้นเลย สักเจ็ดคนเห็นจะได้” เขากล่าว “คนที่เขารู้ว่าไปหาแฟร์เวิร์ค – ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้น”ขณะนี้นายลาฟงต์และนายลาสส์ชลอตต์พักอยู่บนถนนที่เป็นศูนย์รวมของเหล่าแบคแพคเกอร์ในย่านคิงส์ครอส โดยพวกเขาได้สรุปภาพความเป็นจริงของผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวจำนวนมากในประเทศออสเตรเลีย: เกือบทั้งหมดนั้นไม่อยากจะไล่ติดตามค่าแรงอันน้อยกว่าที่ควร ส่วนผู้ที่ลงมือกระทำนั้นบ่อยครั้งกลับพบว่ามันไม่คุ้มค่ากับความยากลำบาก
French backpacker Rodolphe Lafont was being paid as little as $5 an hour. Source: SBS News
เรื่องดังกล่าวเป็นผลสรุปตรงกันกับรายงานฉบับใหม่ซึ่งอธิบายถึงระบบ “อันแตกหัก” ที่ทำให้เหล่านายจ้างผู้ไม่ซื่อตรงนั้นสามารถเอารัดเอาเปรียบเหล่าแบคแพคเกอร์ นักเรียนนานาชาติ และผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวอื่นๆ และในความเป็นจริงก็มีหนทางเพียงน้อยนิดที่จะทวงค่าจ้างของพวกเขาซึ่งสูญไปคืนมาได้
อาจารย์อาวุโสด้านกฎหมายและผู้ร่วมประพันธ์รายงานชิ้นดังกล่าว คุณบาสสินา ฟาร์เบนบลัม กล่าวว่า “มันชัดเจนว่าขณะนี้ประเทศออสเตรเลียมีชนชั้นล่างซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานจำนวนหลายแสนคนที่ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าที่ควรจะเป็น”
“ระดับของเงินค่าจ้างซึ่งไม่ถูกทวงคืนนั้น น่าจะอยู่ที่กว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์”รายงาน “การลักขโมยเงินค่าจ้างอย่างเงียบๆ” (“The Wage Theft Silence”) ซึ่งถูกเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 ต.ค.) นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลจากการทำสำรวจระดับชาติขนาดใหญ่ต่อผู้ถือวีซ่าชั่วคราวต่างๆ โดยมีผู้ตอบกลับเป็นจำนวนกว่า 4,300 คนจาก 107 ประเทศ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นตัวแทนที่อาจถึง 11 เปอร์เซ็นต์ของตลาดแรงงานในประเทศออสเตรเลีย
German backpacker Jannik Lasschlott sought out the help of the Fair Work Ombudsman. Source: SBS News
รายงานดังกล่าวพบว่า ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวจำนวนต่ำกว่าหนึ่งใน 10 ลงมือดำเนินการเพื่อตามคืนค่าจ้างที่สูญไป - ทั้งๆ ที่พวกเขาทราบว่ากำลังถูกจ่ายเงินน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
“ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวจำนวนน้อยกว่าหนึ่งใน 10 ลงมือดำเนินการเพื่อตามคืนค่าจ้างที่สูญไป”
และที่สำคัญ ลูกจ้างชั่วคราวเกือบทั้งหมดได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่ควร โดยอ้างอิงตามงานวิจัยชิ้นก่อนหน้านี้โดยคุณ ฟาร์เบนบลัมและผู้ร่วมประพันธ์ คุณลอรี เบิร์ก ซึ่งเป็นอาจารย์อาวุโสจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์
ข้อมูลส่วนแรกของการทำสำรวจดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว โดยเปิดเผยให้เห็นว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบการสำรวจได้รับค่าแรง $15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงหรือต่ำกว่า โดยหนึ่งในสามนั้นได้รับค่าแรง $12 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงหรือต่ำกว่า ซึ่งภาคส่วนการเกษตรและงานฟาร์มนั้นได้รับการระบุว่าเป็นภาคส่วนที่จ่ายค่าจ้างต่ำที่สุด โดยค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายนั้นอยู่ที่ $18.93 ต่อชั่วโมง
“เป็นไปได้ว่า 80 เปอร์เซ็นต์นั้นผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายจากที่ฟาร์ม” ผู้จัดการที่พักโฮสเทล ปีเตอร์ แมนเซียร์ กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ โดยเขาเสริมว่าทุกๆ คนที่ผ่านมาที่โฮสเทลนั้น “มีเรื่องจะเล่า”
แต่ข้อมูลล่าสุดซึ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเน้นย้ำให้เห็นว่า สำหรับหลายๆ คนนั้นการหาหนทางเยียวยาเป็นความพยายามที่เปล่าประโยชน์รายงานดังกล่าวชี้ว่า สำหรับทุกๆ 100 คนที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็นนั้น มีลูกจ้างเพียงสามคนที่ไปหาแฟร์เวิร์คโอมบัดส์มัน - ซึ่งเป็นหนทางหลักสำหรับลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานซึ่งต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่ควร โดยในจำนวนนี้ กว่าครึ่งไม่ได้รับเงินคืนแต่อย่างใด
“It's clear that Australia now has a large, silent underclass of hundreds of thousands of underpaid migrant workers,” said report co-author Bassina Farbenblum. Source: SBS News
อุปสรรคสำคัญต่อการริเริ่มลงมือนั้นรวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจต่อขั้นตอน (42 เปอร์เซ็นต์) ความยากลำบาก (35 เปอร์เซ็นต์) ความหวาดกลัวต่อผลกระทบด้านการตรวจคนเข้าเมือง (25 เปอร์เซ็นต์) และความหวาดกลัวต่อการสูญเสียการว่าจ้างงาน (22 เปอร์เซ็นต์)
“ระบบนั้นแตกหัก” คุณเบิร์กกล่าว “มันสมเหตุสมผลที่ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่นั้นจะเงียบเฉย เพราะความพยายามและความเสี่ยงในการลงมือนั้นไม่คุ้มค่า เมื่อมีโอกาสเพียงน้อยนิดที่พวกเขาจะได้รับค่าจ้างคืนมา”
“ระบบนั้นแตกหัก… มันสมเหตุสมผลที่ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่นั้นเงียบเฉย” - ลอรี เบิร์ก อาจารย์ด้านกฎหมาย
ทนายความด้านการว่าจ้างงานจากศูนย์กฎหมายเรดเฟิร์น คุณชาร์มิลลา บาร์กอนกล่าวว่า นักเรียนนานาชาติที่ทางศูนย์ฯ ดำเนินงานด้วยนั้นมักจะชั่งน้ำหนักว่าการทวงคืนค่าจ้างนั้นจะคุ้มกับการเอาปริญญามูลค่า $300,000 เข้าไปเสี่ยงหรือไม่
คุณบาร์กอนกล่าวว่า “พวกเขาจำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนักเทียบกันกับการติดตามเงินค่าจ้างที่เรียกร้องว่าต่ำกว่าความเป็นจริง จำนวน $5,000” โดยเธอเสริมว่า ในบางกรณีนั้น นายจ้างได้ข่มขู่ที่จะรายงานผู้ร้องเรียนไปยังกระทรวงมหาดไทยเรื่องการฝ่าฝืนเงื่อนไขวีซ่าต่างๆ ของพวกเขา
“ดังนั้น สำหรับบางคนมันก็เป็นคำตอบที่ง่ายดาย และพวกเขาก็จะไม่ลงมือทำอะไร ซึ่งมันก็สามารถเข้าใจได้”
แม้งานวิจัยดังกล่าวจะยืนยันความเข้าใจต่างๆ ที่คาดกันไว้อยู่แล้วในเรื่องดังกล่าว มันก็ได้ค้นพบเรื่องที่กลับตาลปัตรอื่นๆ ด้วยรายงานฉบับดังกล่าวพบกว่าระดับภาษาอังกฤษที่ต่ำนั้นไม่ใช่อุปสรรคสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานหลายๆ คนในการที่จะลุกขึ้นร้องเรียนอย่างที่คาดกัน และก็ปรากฏว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้นก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ โดยผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวชาวเอเชียนั้นเป็นกลุ่มที่เต็มใจที่สุดที่จะพยายามทวงค่าจ้างคืน
Sharmilla Bargon from Redfern Legal Centre says requests for help from international students have increased. Source: SBS News
รายงานดังกล่าวชี้ว่า การปฏิรูปทางโครงสร้างนั้น “จำเป็นอย่างเร่งด่วน” เพื่อจัดการกับแรงขับเคลื่อนหลักของการเอารัดเอาเปรียบ และ “วัฒนธรรมการไม่ถูกลงโทษ” ซึ่งตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ว่าลูกจ้างที่ได้รับค่าแรงต่ำกว่าที่ควรนั้นจะเงียบเฉย
การปรับปรุงบริการช่วยเหลือต่างๆ สำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวและการเพิ่มความแข็งแกร่งของการประกันความปลอดภัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของข้อแนะนำต่างๆ ของรายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงการจัดตั้งกำแพงกีดขวางไม่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินด้านการว่าจ้างงานอย่างเป็นธรรมนั้นแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดวีซ่ากับทางมหาดไทย
โฆษกคนหนึ่งกล่าวว่าทางผู้ตรวจการแผ่นดินฯ กำลังพิจารณารายงานฉบับดังกล่าว
โดยเธอชี้แจงว่า “เป็นความสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับแฟร์เวิร์คโอมบัดส์มันในการช่วยเหลือลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานซึ่งมีความหวั่นวิตกเรื่องค่าจ้างที่พวกเขาควรจะได้รับ”
ท่านทราบข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ หากท่านต้องการแบ่งปันเรื่องราวของท่านกับเอสบีเอสนิวส์ ส่งอีเมล์ไปได้ที่:
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย
ลูกจ้างแคชวลเฮมีสิทธิขอตำแหน่งประจำได้แล้ว