ออสเตรเลีย อาจเป็นที่รู้จักสำหรับบางคนว่าเป็นประเทศแห่งความโชคดี แต่รายงานฉบับใหม่ได้เผยให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งที่กำลังกระจายไปทั่วประเทศ
รายงานร่วมระหว่างสภาสังคมสงเคราะห์ของออสเตรเลีย (Australian Council of Social Service) และมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ระบุว่า มีชาวออสเตรเลียร้อยละ 1 ที่มีรายได้ในสองสัปดาห์ เท่ากับรายได้ตลอดปีของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่สุดของออสเตรเลีย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด
ซึ่งนั่นหมายความว่า กลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดในออสเตรเลีย จะมีรายได้ราว $11,682 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่สุด จะมีรายได้เพียง $436 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์
รายงานความเหลือมล้ำของออสเตรเลียปี 2018 (Inequality in Australia 2018) ซึ่งมีบทวิเคราะห์ล่าสุด จากข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian Bureau of Statistics) ระบุว่า ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในออสเตรเลียได้แผ่กระจายออกไปตั้งแต่ตัวเลขเพิ่มสูงช่วงปี 2000 - 2008 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของวิกฤตเศรษฐกิจโลกทั้งนี้ ตัวเลขจากรายงานดังกล่าวไม่สามารถชี้ชัดถึงช่องว่างความมั่งคั่งในระดับครัวเรือน ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในช่วงปี 2003 - 2015
ความเหลื่อมล้ำกำลังเพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย มีคน 1% ที่มีรายได้มากกว่าชาวออสเตรเลียทั้งประเทศ (flicket) Source: Flickr
ค่าเฉลี่ยความมั่งคั่งภาคครัวเรือนในเวลานั้น ร้อยละ 20 ของครัวเรือนที่ร่ำรวยที่สุด มีค่าเฉลี่ยนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 ส่วนร้อยละ 20 ของครัวเรือนที่ร่ำรวยน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยนี้หล่นลงคิดเป็นอัตราร้อยละ 9
โดยภาคครัวเรือนที่ร่ำรวยที่สุดนั้นมีความมั่งคั่งสูงถึง $2.9 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ภาคครัวเรือนที่ร่ำรวยน้อยที่สุดอยู่ที่ $30,000 ดอลลาร์
ดร. แคซแซนดรา โกลดีย์ (Dr Cassandra Goldie) ประธานบริหารสภาสังคมสงเคราะห์ของออสเตรเลีย ระบุว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ สถานการณ์ความเหลื่อล้ำในออสเตรเลียนั้นย่ำแย่ลงในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต และทรุดลงเมื่อเศรษฐกิจเติบโตช้า
แต่ทั้งนี้ เธอยังระบุอีกว่า ออสเตรเลียไม่ควรยอมรับความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่เงินสวัสดิการสังคมที่เพิ่มขึ้น และช่องโหว่ทางภาษีสำหรับผู้มีรายได้มากที่ลดน้อยลงสามารถช่วยลดช่องว่างความเหลือมล้ำ“มันเป็นโชคไม่ดี ที่กฎหมายเรื่องการลดภาษีเงินได้ที่ประกาศใช้เมื่อเร็วๆ นี้ และการขาดแนวปฏิบัติในการยกระดับเงินสวัสดิการรัฐ ซึ่งรวมถึงเงินช่วยเหลือผู้ที่กำลังหางาน (Newstart Allowance) ทั้งสองอย่างนี้พาเราเดินไปผิดทาง” ดร. โกลดีย์กล่าว
Australian Council of Social Service CEO Cassandra Goldie. Source: AAP
“เมื่อการเติบโตของรายได้กลับคืนมา เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า ความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มขึ้นไปอีก จนกว่ารัฐบาล ภาคธุรกิจ สหภาพ และกลุ่มต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันปัญหานี้ไม่ให้เกิดขึ้น” ดร. โกลดีย์กล่าวเสริม
นอกจากนี้ รายงานฉบับดังกล่าวยังพบว่า ความมั่งคั่งภาคครัวเรือนของกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่อายุน้อยนั้นเพิ่มขึ้น โดยความมั่งคั่งภาคครัวเรือนของผู้ที่มีอายุมากกว่า 64 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 57 ระหว่างปี 2003-2015 เทียบกับอัตราเติบโตที่ร้อยละ 22 ในกลุ่มผู้มีอายุน้อยกว่า 35 ปี
โดยออสเตรเลีย เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรที่มีความมั่งคั่งเกิน $65 ล้านดอลลาร์ มากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกที่ 3,000 คน
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ชุมชนไทยคิดอย่างไรกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ