คนเที่ยวออสฯ ในหลายประเทศรอวีซ่านาน คนไทยขอผ่านยากขึ้น

ปีนี้ นักท่องเที่ยวจะมาออสเตรเลียต้องรอนานถึง 3 เท่ากว่าจะได้รับการอนุมัติวีซ่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดระบาด ขณะที่มีรายงานฉบับใหม่ที่เปิดเผยผลกระทบจำเพาะต่อผู้มาเยือนออสเตรเลียจากประเทศหนึ่ง

A composite image of a woman holding a passport and a plane taking off

Visa processing times for tourists and business travellers blew out this year. Source: SBS

ประเด็นสำคัญในบทความ
  • รายงานฉบับใหม่แสดงให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวจากจีนต้องรอวีซ่านานถึง 4 เดือนกว่าจะได้มาเที่ยวออสเตรเลีย
  • จำนวนผู้มาเที่ยวออสเตรเลียลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • อัตราการอนุมัติวีซ่าท่องเที่ยวให้คนไทยร่วงเหลือ 66% ขณะที่อัตราอนุมัติสูงสุดคือพลเมืองจากสหรัฐฯ
รายงานล่าสุดชี้ว่า ผู้ที่มีความประสงค์จะเดินทางมาเยี่ยมเยือนออสเตรเลียในปีนี้ต้องรอหลายเดือนกว่าวีซ่าจะได้รับการอนุมัติ โดยพบผู้สมัครวีซ่าสัญชาติจีนส่วนมากต้องรอการอนุมัตินานถึง 4 เดือน

ได้แสดงให้เห็นถึงภาพที่ชัดเจนของความล่าช้าในระบบ หลังพรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลียได้เปิดอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2021

รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอันมีนัยยะสำคัญหลายอย่าง ในส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวและผู้มาเยี่ยมเยือนทางธุรกิจที่สมัครวีซ่าเพื่อเดินทางมายังออสเตรเลีย รวมถึงข้อมูลประเทศต้นทางที่เดินทางมาถึงเทียบเคียงกับข้อมูลในช่วงก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19

รายงานล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ได้เปิดเผยรายละเอียดของระยะเวลาดำเนินเอกสารระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย.2022 พบว่า
  • ร้อยละ 75 ของคำร้องขอวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว (tourist visa [subclass 600 และ 676]) ได้รับการดำเนินการภายใน 59 วันตามปฏิทิน นานขึ้นร้อยละ 269 เมื่อเทียบกับระยะเวลา 16 วันปฏิทินเมื่อปี 2019
  • การดำเนินเอกสารในส่วนของวีซ่าธุรกิจแบบพำนักระยะสั้น (business visa [short stay, subclass 456]) และวีซ่าเพื่อการเยี่ยมเยือนทางธุรกิจ (business visitor, subclass 600) ยังได้เพิ่มขึ้นเป็น 15 วัน เมื่อเทียบกับเวลาดำเนินเอกสาร 7 วัน ก่อนการอุบัติขึ้นของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการปิดพรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลียในวันที่ 20 มี.ค.2020
ทั้งนี้ ระยะเวลาดำเนินเอกสารที่ล้าช้านั้นเกิดขึ้น แม้ว่าจำนวนเอกสารขอวีซ่าจะมีน้อยกว่าเมื่อช่วงก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ โดยเมื่อปี 2019 มีจำนวนการยื่นเอกสารสมัครวีซ่าเพื่อการเยี่ยมเยือนระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนประมาณ 1.3 ล้านฉบับ (ทั้งวีซ่านักท่องเที่ยว และวีซ่าธุรกิจ) เมื่อเทียบกับ 695,343 ฉบับในช่วงเวลาเดียวกันในปีนี้
Bar graph showing 75 per cent of tourist visas processed in less than 20 days
ประมาณ 75% ของวีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลียไดัรับการดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 59 วันตามปฏิทิน Source: SBS
รายงานดังกล่าวได้เปิดเผยข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาส่วนใหญ่ก่อนที่รัฐบาลของ แอนโทนี อัลบานิซี จะชนะการเลือกตั้งสหพันธรัฐในวันที่ 21 พฤษภาคม 2022

โฆษกหน่วยงานกิจการภายในออสเตรเลีย ได้กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ ผ่านแถลงการณ์ว่า “จะใช้เวลาสักระยะในการปรับปรุงระยะเวลาดำเนินเอกสาร ขณะที่เรากำลังจัดการกับแบบคำร้องเก่าที่คั่งค้าง”

โฆษกฯ ระบุอีกว่า ทางหน่วยงานฯ กำลังปรับใช้การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการวีซ่ามีความคล่องตัวมากขึ้น

“ทางหน่วยงานกำลังจัดการความเสี่ยงอย่างระมัดระวัง โดยกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้สมัครที่ประกันความเหมาะสม ขณะที่ทำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับคนอื่น ๆ”

หน่วยงาน ฯ ระบุอีกว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีวีซ่าชั่วคราวและวีซ่าเพื่อการอพยพย้ายถิ่นที่ได้รับการดำเนินการแล้วเกือบ 2.8 ล้านฉบับ หนึ่งในนั้นรวมถึง
  • ใบสมัครวีซ่าผู้มาเยือนเกือบ 1.5 ล้านฉบับ
  • ใบสมัครวีซ่านักเรียน 199,000 ฉบับ
  • ใบสมัครวีซ่าชั่วครามสำหรับผู้มีทักษะอาชีพ 43,000 ฉบับ
รัฐบาลอัลบานิซีได้ประกาศว่าจะให้ โดยเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีผู้เข้ามาเติมเต็มตำแหน่งงานเหล่านี้แล้วประมาณร้อยละ 20 จากทั้งหมด

ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หน่วยงานกิจการภายในออสเตรเลียยังรับสมัครพนักงานเพิ่มเติมอีก 260 ตำแหน่ง ในส่วนงานสนับสนุนการดำเนินเอกสารขอวีซ่าชั่วคราวและวีซ่าอพยพย้ายถิ่น ขณะที่เจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้รับมอบหมายให้มุ่งดำเนินการเอกสารยกเว้นการเดินทางในช่วงที่มีมาตรการปิดพรมแดน ก็ได้เปลี่ยนมามุ่งเน้นการดำเนินเอกสารในส่วนของวีซ่าแทน

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าจำนวนพนักงานของทางหน่วยงาน ฯ ได้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 หรือไม่
A woman pulling a suitcase on wheels is silhouetted against a window showing planes outside
ผู้เดินทางบางส่วนที่ต้องการมาเที่ยวออสเตรเลียต้องรอนานขึ้นกว่าวีซ่าจะได้รับการอนุมัติ
อะบู ริซวี (Abul Rizvi) อดีตเลขาธิการหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง มองว่าจะยังไม่มีการฟื้นฟูในส่วนของเวลาดำเนินเอกสารไปจนถึงการรายงานในรอบถัดไปเป็นอย่างน้อย ซึ่งจะครอบคลุมช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน

“พวกเขาควรจะดำเนินเอกสารได้เร็วขึ้นแล้วในตอนนี้ แต่ผมคาดว่าการปรับปรุงจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป มันจะไม่เกิดขึ้นในทันที” คุณริซวี กล่าว

ซึ่งปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้แนะผู้เดินทางว่าเวลาในการดำเนินเอกสารสำหรับวีซ่านักท่องเที่ยว (tourist visa subclass 600) จะอยู่ที่ประมาณ 63 วัน สำหรับผู้ยื่นสมัครร้อยละ 75 จากทั้งหมด ซึ่งนานขึ้นกว่าเวลารอดำเนินเอกสารเฉลี่ยที่พบเมื่อช่วงต้นปีนี้

บางประเทศต้องรอการอนุมัติวีซ่านานขึ้น

ระยะเวลาในการดำเนินเอกสารสำหรับพลเมืองในบางประเทศถูกขยายออกไปนานขึ้นอีก ประมาณร้อยละ 75 ของวีซ่าท่องเที่ยวจากจีนใช้เวลาดำเนินเอกสารนาน 120 วันจนกระทั่งรู้ผลในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนปีนี้ แต่ในช่วงเดียวกันเมื่อปี 2019 ผู้สมัครส่วนใหญ่รอดำเนินเอกสารจนแล้วเสร็จภายในเวลาเพียง 9 วัน

อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงาน ฯ ไม่ได้ให้คำตอบในคำถามที่ว่า ทำไมวีซ่าเหล่านี้จึงใช้เวลานานกว่าที่จะผ่านไปยังขั้นตอนต่าง ๆ ในระบบ

คุณริซวี กล่าวว่า มาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการใช้มาตรการล็อกดาวน์เป็นวงกว้าง อาจทำให้การดำเนินเอกสารเพื่อขอวีซ่าเป็นไปได้ยากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังอาจต้องมีทัศนคติที่ระมัดระวังมากขึ้นในการดำเนินเอกสารขอวีซ่าจากจีน พร้อมชี้ให้เห็นถึงการสอบสวนล่าสุดโดยเครือข่ายโทรทัศน์ช่อง 9 ออสเตรเลีย ในการเปิดโปงการฉ้อโกงการขอวีซ่าซึ่งมีความเชื่อมโยงกับองค์กรอาชญากรรมต่าง ๆ

คุณริซวี กล่าวอีกว่า มีแนวโน้มที่รัฐบาลออสเตรเลียจะรับรู้ถึงการหลอกลวงที่เกิดขึ้นในประเทศจีน เช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ และกำลังพิจารณาวีซ่านักท่องเที่ยวอย่างระมัดระวังมากขึ้น
A line of people wearing face masks with luggage at an airport
รัฐบาลออสเตรเลียอาจพิจารณาผู้เดินทางจากประเทศจีนอย่างระมัดระวังมากขึ้น Source: AAP
ส่วนเรื่องวีซ่าธุรกิจนั้น ประมาณร้อยละ 75 ของพลเมืองสหรัฐฯ ใช้เวลารอดำเนินเอกสาร 52 วัน ซึ่งนานกว่าเวลารอเฉลี่ยที่ 15 วัน แต่ถือว่าดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนปีที่ผ่านมา ซึ่งวีซ่าท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้เวลาดำเนินการถึง 160 วัน และนานถึง 342 วันสำหรับวีซ่าธุรกิจ

จำนวนผู้เดินทางมาถึงยังคงห่างไกลช่วงก่อนโควิดมาก

  • จำนวนผู้มาเยือนที่เดินทางมาถึงออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึงนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางด้วยจุดประสงค์ทางธุรกิจ ยังคงน้อยกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
  • ในปีการเงิน 2021/22 มีผู้เดินทางมาเยือนออสเตรเลียประมาณ 699,725 คน ซึ่งน้อยกว่า 6.5 ล้านคนเมื่อปีการเงิน 2018/19 คิดเป็น 9 เท่า
  • ประมาณร้อยละ 17 ของผู้เดินทางมาถึงมาจากอินเดีย
  • ร้อยละ 15 มาจากสหราชอาณาจักร
  • ร้อยละ 12 มาจากสิงค์โปร์
สำหรับผู้เดินทางจากจีน ซึ่งเคยเป็นอันดับ 1 เมื่อปีงบประมาณ 2018/19 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2.3 มีผู้เดินทางมาถึงเพียง 15,855 คน เทียบกับประมาณ 1 ล้านคนเมื่อ 3 ปีก่อน

ย้อนกลับไปเมื่อปีการเงิน 2018/19
  • ร้อยละ 17 มาจากจีน
  • ร้อยละ 11 มาจากสหรัฐ ฯ
  • ร้อยละ 10 มาจากสหราชอาณาจักร
A graph showing visitor visa arrivals to Australia has dropped.
จำนวนผู้ถือวีซ่าเยี่ยมเยือนที่เดินทางมายังออสเตรเลียลดน้อยลงอย่างมาก Source: SBS
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขล่าสุดในส่วนผู้เดินทางมาถึงจากประเทศต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นว่าภาคการท่องเที่ยวอาจเริ่มฟื้นตัว โดยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ถือวีซ่าเยี่ยมเยือนในออสเตรเลีย 219,607 คน ซึ่งน้อยกว่าสถิติในช่วงเดียวกันเมื่อปี 2019 (316,469 คน) ไปประมาณ 100,000 คน

โดยจำนวนผู้ถือวีซ่าเยี่ยมเยือนในออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 396 ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2021 ช่วงสัปดาห์ที่พรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลียเปิดให้สำหรับผู้เดินทางที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดส ถึงวันที่ 14 ตุลาคมในปีนี้

ประเทศที่การขอวีซ่าเริ่มยากขึ้น

ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนปีนี้ ออสเตรเลียได้อนุมัติแบบคำร้องขอวีซ่าเพื่อการเยี่ยมเยือนไปร้อยละ 91.9 (ซึ่งรวมถึงวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่าธุรกิจ) เมื่อเทียบกับร้อยละ 94.6 ในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2019

เป็นที่เข้าใจว่า การดำเนินการเอกสารสมัครวีซ่าที่ยื่นก่อนหรือระหว่างการแพร่ระบาดใหญ่ให้แล้วเสร็จ อาจมีผลต่ออัตราการอนุมัติวีซ่า ขณะที่ผู้ยื่นสมัครวีซ่าบางรายอาจต้องเปลี่ยนแปลงสถานภาพ และอาจไม่ต้องการเดินทางมาออสเตรเลียอีกต่อไป

มาตรการจำกัดการเดินทางที่เกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 อาจยังคงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเดินทางของพลเมืองจีน ในการเดินทางไปยังต่างประเทศเพื่อจุดประสงค์ในการท่องเที่ยว

อัตราการอนุมัติวีซ่าอาจแตกต่างไปอย่างกว้างขวางในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน มีเอกสารสมัครวีซ่าท่องเที่ยว (tourist visa 600 และ 676) ที่ได้รับการอนุมัติเพียงร้อยละ 66 เมื่อเทียบกับร้อยละ 95 สำหรับพลเมืองของสหรัฐ ฯ

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2019 ในช่วงเดือนเดียวกัน อัตราการอนุมัติวีซ่าของไทยในส่วนของวีซ่าท่องเที่ยวอยู่ที่ร้อยละ 82 ส่วนประเทศฟิจิน้อยสุดที่ร้อยละ 76 ขณะที่อัตราอนุมัติสูงสุดคือประเทศชิลี ร้อยละ 96 โดยในจำนวนนี้ไม่รวมถึงตัวเลขจากวีซ่าท่องเที่ยวแบบ eVisitor (subclass 651) ซึ่งเป็นวีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยื่นขอได้จากบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร และประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป
Table showing visa approval rates for different countries
ออสเตรเลียอนุมัติวีซ่าท่องเที่ยวให้ผู้ยื่นสมัครวีซ่าประมาณ 83% ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2022 แต่อัตราการอนุมัติวีซ่าให้คนไทยอยู่ในระดับต่ำมากเพียง 66% Source: SBS
ในขณะเดียวกัน อัตราการอนุมัติวีซ่าธุรกิจ (business visa 600) ก็ได้ลดลงไปอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้ ประเทศส่วนมากมีอัตราการอนุมัติวีซ่านี้ในระดับสูง (มากกว่าร้อยละ 90) ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2019 และมีอัตราอนุมัติโดยรวมที่ร้อยละ 94 ซึ่งล่าสุดหล่นลงมาอยู่ที่ร้อยละ 91 โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งอัตราการอนุมัติวีซ่าดังกล่าวลดลงมาจากร้อยละ 93 ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2019 เหลือเพียงร้อยละ 83 ในช่วงเดียวกันปีนี้

ในทางกลับกัน อัตราการอนุมัติวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยวแบบมีผู้สปอนเซอร์ (sponsored tourist visa 600) ได้ปรับปรุงขึ้นมาจากร้อยละ 81 ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2019 เป็นร้อยละ 88 ในช่วงเดียวกันของปีนี้ อินโดนีเซียครองตำแหน่งอัตราอนุมัติสูงที่สุดที่ร้อยละ 94 เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2019 ที่มีอัตราอนุมัติเพียงร้อยละ 78

เลบานอน มีอัตราการอนุมัติวีซ่าชนิดนี้ต่ำที่สุดที่ร้อยละ 71 แต่ก็ถือว่าเป็นการปรับปรุงจากปี 2019 ที่มีอัตราการอนุมัติเพียงร้อยละ 55 ก่อนหน้านี้ ประเทศที่มีอัตราการอนุมัติสูงสุดในปี 2019 คือบังกลาเทศที่ร้อยละ 92



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 3 November 2022 3:19pm
By Charis Chang
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends