องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุข้อแนะนำใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยแนะนำว่า เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปีไม่ควรที่จะใช้เวลาอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าจอ สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-4 ปีนั้น ควรกำหนดเวลาที่อยู่หน้าจอที่วันละ 1 ชั่วโมง หรือยิ่งน้อยลงก็จะยิ่งดีกว่า ซึ่งเวลาหน้าจอ (Screen time) ที่กล่าวถึงนั้น รวมไปถึงการดูโทรทัศน์ การใช้งานสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตข้อแนะนำใหม่นี้ได้เน้นไปที่ความจำเป็นที่เด็กๆ จะต้องมีความตื่นตัวทางร่างกาย และนอนหลับอย่างเพียงพอ
New WHO recommendations on screen time Source: AAP
“การมีสุขภาวะที่ดีให้ทุกด้าน คือการทำสิ่งที่สร้างเสริมการมีสุขภาพที่ดีตั้งแต่เริ่มตันของการใช้ชีวิต” นายแพทย์เทโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกล่าว
“ช่วงที่เด็กยังเล็กนั้น เป็นช่วงเวลาที่พวกเขามีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การปรับรูปแบบการใช้ชีวิตในครอบครัวนั้นจะช่วยเพิ่มผลดีที่มีต่อสุขภาพเด็กได้” นายแพทย์กีบรีเยซุสกล่าว
ข้อแนะนำดังกล่าวนี้เป็นพฤติกรรมที่มุ่งผลแบบทางอ้อม โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า พฤติกรรมที่สร้างสุขภาพที่ดีนั้น สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างโรคอ้วน และโรคอื่นๆ ได้ในอนาคต
“สิ่งที่เราจำเป้นต้องทำนั้น คือนำการเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลับมา นี่จะเป้นการเปลี่ยนจากเวลาที่เด็กอยู่กับที่ ไปเป็นเวลาเล่น ในขณะเดียวกันก็จะทำให้พวกเขานอนหลับได้อย่างเพียงพอ” Dr Juana Willumsen จากองค์การอนามัยโลกกล่าว ซึ่งมุ่งเป้าไปที่เรื่องโรคอ้วนและการออกกำลังกาย กล่าว
Girl playing outside Source: The New York Times
ผลกระทบจากเวลาหน้าจอ
ข้อแนะนำดังกล่าวได้มีการกำหนดขึ้น หลังจากมีงานวิจัยที่สุกงอมที่ชึ้ให้เห็นถึงผลกระทบของเวลาหน้าจอกับเด็ก
มีบางส่วนที่กังวลว่า เวลาหน้าจอที่มากจนเกินไปนั้น จะลดเวลาที่เด็กๆ จะได้พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ให้การดูแล ซึ่งเป้นส่วนสำคัญของการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคม ในขณะที่บางส่วนนั้น มองว่า อาจมีผลในแง่ลบต่อการพัฒนาสมอง
ด้านตัวแทนจากสหประชาชาติได้แนะนำว่า เมื่อเด็กๆ อยู่กับที่ การมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กๆ กับผู้ให้การดูแลด้วยการอ่านและการเล่าเรื่องร่วมกันจะเป็นแรงส่งเสริม
องค์การอนามัยโลกยังเน้นย้ำว่า เด็กที่มีอายุระหว่าง 1-3 ปี ควรที่จะมีเวลาในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างน้อย 3 ชั่วโมง และไม่ควรนั่งอยู่กับที่ในรถเข็นเด็ก หรือคาร์ซีท เป็นเวลานานเกิน 1 ชั่วโมงนอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำว่า เด็กอายุ 1-2 ขวบ ควรนอนหลับเป็นเวลาอย่างน้อย 11-14 ชั่วโมงต่อวัน และเด็กที่มีอายุ 2-4 ปี ควรที่จะนอนหลับอย่างน้อย 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
เวลาที่เด็ก ๆ จ้องอยู่ที่หน้าจอ สามารถส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการประสานงาน (Source: SBS) Source: SBS
คำแนะนำอื่น ๆ
ในออสเตรเลีย เวลาหน้าจอที่แนะนำสำหรับเด็กนั้น คือไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีนั้น ไม่ควรใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ
สถาบันกุมารศาสตร์แห่งสหรัฐฯ (The American Academy of Pediatrics) ไม่ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อหน้าจอในเด็ก ยกเว้นการคุยกันผ่านวิดิโอ (Video chat) สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 18-24 เดือน นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำว่า เด็กอายุระหว่าง 2-5 ปีนั้น ควรรับชมรายการที่มีคุณภาพเป็นเวลา 1 ชั่วโมงต่อวัน
สำหรับในแคนาดานั้น ไม่แนะนำให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีใช้เวลาหน้าจอ
ในสหราชอาณาจักร ไม่มีข้อแนะนำใดๆ ในเรื่องเวลาหน้าจอที่เหมาะสมสำหรับเด็ก แต่สถาบันกุมารศาสตร์และสุขภาพเด็กในพระองค์ (Royal College of Paediatrics and Child Health) ระบุว่า มีหลักฐานของผลกระทบของเวลาหน้าจอกับเด็กที่น้อยมาก
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ sbs.com.au/thai ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
เวลาหน้าจอ ‘อาจทำให้เด็กพัฒนาช้า’