โรคไอกรน หรือ Whooping Cough (หรือที่เรียกว่า Pertussis) นั้นเป็นโรคทางเดินหายใจชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่าย และเป็นหนึ่งในโรคที่อันตรายมากที่สุดสำหรับเด็กทารก
ออสเตรเลียกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไอกรน ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจชนิดดังกล่าวมากถึง 2,799 ราย
โดยมีรายงานการติดเชื้อมากที่สุดในทางสถิติล่าสุดคือปี 2556 ในรัฐควีนส์แลนด์กว่า 1,000 รายในระยะสามเดือนแรกของปี
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดธรรมดา จะบอกความแตกต่างได้อย่างไร
โรคไอกรนคืออะไร? เราสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง?
โรคไอกรนนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Bordetella Pertussis ซึ่งนับว่าเป็นโรคทางเดินหายใจที่อันตรายมากที่สุดสำหรับเด็กทารก อีกทั้งยังเป็นโรคที่ติดต่อและแพร่เชื้อได้ง่าย
อาการเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้คืออาการไอคล้ายไข้หวัดทั่วไป รวมไปถึงอาการอื่นร่วม เช่น มีน้ำมูกไหล จาม และมีไข้
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อโรคชนิดนี้จะเริ่มออกอาการอย่างชัดเจนเมื่อครบสองสัปดาห์ โดยอาการไอจะรุนแรงยิ่งขึ้น และเมื่อหลังหรือระหว่างไอ จะมีการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียงวู้บที่ต่างจากอาการไอทั่ว ๆ ไป
ในบางครั้ง โรคไอกรนที่มาจากการติดเชื้อโรคชนิดดังกล่าวนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าอาการ “ไอร้อยวัน (100-day cough)” เนื่องจากอาการอาจต่อเนื่องยาวนานถึง 12 สัปดาห์ อีกทั้งยังเป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตให้แก่เด็กแรกเกิดได้หากยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกัน
ถึงแม้ว่าโรคไอกรนจะไม่รุนแรงนักในวัยผู้ใหญ่ก็ตาม แต่ก็มีรายงานว่าการไอรุนแรงเช่นนี้ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บซี่โครง หรือซี่โครงหักได้เช่นกัน
The initial symptoms of whooping cough resemble other cold and flu-like symptoms. Source: Getty / FatCamera
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือได้รับวัคซีนป้องกันที่จะช่วยลดความรุนแรงของอาการ อีกทั้งช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ชิดได้อีกด้วย
การฉีดวัคซีนโรคไอกรนให้ครบหกโดส จึงเป็นอีกหนึ่งวีคซีนที่แนะนำให้ฉีดในเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 2 เดือนถึง 13 ปี
เรื่องอื่นที่น่าสนใจ
ประกันสุขภาพเอกชน ทำไว้คุ้มค่าหรือไม่
ทำไมถึงมีการระบาดในช่วงนี้?
โรคไอกรนนั้นจะมีการกลับมาระบาดในทุก ๆ 3-4 ปี และในช่วงที่มีมาตรการป้องกันโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นกักตัว การเว้นระยะห่าง หรือการใส่หน้ากากอนามัยนั้นก็ช่วยให้จำนวนผู้ติดเชื้อโรคไอกรนนั้นลดลงอย่างมีชัดเจนในช่วงปี 2563-2566
นั่นอาจหมายถึง ชาวออสเตรเลียจำนวนมากได้ขาดการรับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนตามกำหนดในช่วงที่มีโรคโควิด-19 ระบาด จึงทำให้คนส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะติดเชื้อโรคชนิดนี้ได้ง่ายกว่าปกติ
ภูมิคุ้มกันที่ลดลงในประชากรส่วนใหญ่นั้นอาจเป้นสัญญาณเตือนได้ว่าเราอาจจะได้รับรายงานที่เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโรคไอกรนในออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในออสเตรเลียเป็นกลุ่มเด็กในวัย 10-14 ปี
As the disease progresses into the second week, the coughing fits become worse and more frequent. After or between bouts of coughing, patients may gasp for air and produce the characteristic “whoop” noise Source: Getty / BSIP/Universal Images Group
วัคซีนป้องกันโรคไอกรนนับเป็นอีกหนึ่งบริการของรัฐที่ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ฟรีภายใต้ สำหรับเด็กและสตรีตั้งครรภ์
การฉีดวัคซีนให้แก่ผู้หญิงขณะตั้งครรภ์นั้นนับเป็นการให้การป้องการเด็กแรกเกิดช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด
โดยฤทธิ์ของวัคซีนนั้นจะลดลงตามเวลา ดังนั้นการได้รับเข็มกระตุ้นด้วยการฉีดซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์นั้นเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติ โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ที่มีการติดต่อหรือสัมผัสกับเด็กเล็กเป็นประจำ
ถึงแม้ในปัจจุบัน โรคไอกรนยังไม่ได้มีการระบาดจนน่าเป็นห่วงมากนัก และสายพันธุ์ของเชื้อโรคชนิดดังกล่าวยังสามารถป้องกันได้ดีด้วยวัคซีนที่มีให้บริการในปัจจุบัน
ดังนั้น การเข้ารับวีคซีนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันการลดโอกาสระบาดของโรคไอกรนนั้นเป็นสิ่งที่คุณก็สามารถทำได้ เพื่อช่วยป้องกันตัวเอง คนที่คุณรัก เด็กเล็ก และชุมชนที่คุณอยู่ได้เช่นกัน