เชื้อสายพันธุ์เดลตากำลังสร้างความท้าทายใหม่ให้แก่ออสเตรเลีย เช่นเดียวกับประเทศอื่นหลายประเทศทั่วโลก
เชื้อสายพันธุ์เดลตา ที่ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ B.1.617.2 ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การระบาดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มทวีคูณหลายเท่าตัว
จากข้อมูลของ โครงการริเริ่มเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูลด้านผลของเชื้อไวรัสโคโรนาและเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้น เชื้อสายพันธุ์เดลตา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์นี้ ถูกตรวจพบใน 78 ประเทศ และกำลังพบมากในสหราชอาณาจักร อินเดีย และรัสเซีย
ขณะนี้ที่มีการล็อกดาวน์ในหลายส่วนของประเทศออสเตรเลีย เราจึงได้สอบถามนพ.สัญจาญา เสนานายาเค (Sanjaya Senanayake) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของโรงพยาบาลแคนเบอร์รา และเป็นรองศาสตราจารย์ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) อธิบายว่า เชื้อสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้อย่างไร และไขความกระจ่างเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน
A health worker is seen in a medical centre in Lakemba which offers COVID-19 vaccines on July 22, 2021 in Sydney, Australia. Source: Jenny Evans/Getty Images
เชื้อสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดได้อย่างไร และผู้คนต้องพบปะกันนานเพียงใดเชื้อถึงจะแพร่กระจาย
รศ.นพ.เสนานายาเค: สายพันธุ์เดลตายังคงเหมือนเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ดั้งเดิม ที่ก่อนให้เกิดโรคติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ต้นของการระบาด เพียงแต่เป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดได้มากขึ้น
ตั้งข้อสังเกตว่า เชื้อไวรัสนี้แพร่ระบาดได้ผ่านช่องทางหลักๆ 3 ช่องทางคือ
หายใจเอาอากาศเข้าไป โดยอากาศที่หายใจเข้าไปนั้นมีละอองเสมหะขนาดเล็กจิ๋วและละอองฝอยที่แขวนลอยในอากาศ ซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ ความเสี่ยงจะมีมากที่สุดหากอยู่ห่างจากผู้ติดเชื้อที่มีอาการที่แพร่เชื้อได้ ในระยะ 1-2 เมตร ซึ่งเป็นระยะห่างที่มีอนุภาคที่มีเชื้อกระจุกตัวอยู่มากที่สุด ความเสี่ยงมักเกิดขึ้นในสถานที่อับอากาศ ซึ่งมีการถ่ายเทอากาศไม่ดี
ละอองเสมหะและอนุภาคที่มีเชื้อปนเปื้อนกระเด็นออกมา และไปตกลงบนจมูก ปาก หรือตาของคุณ เมื่อผู้ติดเชื้อไอหรือจามออกมา
จับหรือสัมผัสปาก จมูก หรือตาของคุณเอง ด้วยมือที่ไม่สะอาด ซึ่งมีเชื้อไวรัสติดอยู่ เช่น ไปจับพื้นผิวของสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่
สำหรับประเด็นที่ว่า ผู้คนต้องพบปะกับผู้ติดเชื้อนานเท่าไรจึงมีความเสี่ยงติดเชื้อได้ มีคำอธิบายจากกระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย ดังนี้
- การพบปะกันซึ่งหน้าไม่ว่าจะเป็นเวลานานเท่าไร หรือใช้พื้นที่ปิดร่วมกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมงกับผู้ติดเชื้อในระหว่างที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อได้
- ไปยังสถานที่หรืออยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงแพร่เชื้อได้สูง เช่น เหตุการณ์ที่แพร่เชื้อสู่ผู้คนได้จำนวนมากพร้อมๆ กัน (super-spreading event)
เชื้อสายพันธุ์เดลตานั้นติดต่อกันได้ง่ายกว่าเชื้อสายพันธุ์ที่พบก่อนหน้านี้
เช่น บุคคล 2 คนที่มีเชื้อสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมอาจสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ 5 คน แต่ 2 คนที่มีเชื้อสายพันธุ์ เดลตาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ 10 คน
พูดอีกอย่างคือ เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายได้มากเป็นสองเท่า เรายังได้เห็นตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้มีเชื้อสายพันธุ์เดลตาอาจสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ แม้เพียงอยู่ในสถานที่เดียวกันเป็นช่วงสั้นๆ โดยไม่ได้พบหน้ากันด้วยซ้ำ
เราจะสามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์เดลตาแพร่กระจายได้อย่างไร
รศ.นพ.เสนานายาเค: มีหลายวิธีด้วยกันที่คุณจะสามารถสร้างความแตกต่างได้
- หากคุณมีอาการใดๆ ที่อาจเป็นอาการของเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าอาการเหล่านั้นจะเล็กน้อยเพียงใด ขอให้ไปรับการตรวจเชื้อและแยกตัวจากผู้อื่นจนกว่าจะได้รับผลการตรวจเชื้อเป็นลบ ดูเหมือนว่าเชื้อสายพันธุ์เดลตาจะก่อให้เกิดอาการเบื้องต้นที่ไม่รุนแรงเท่าเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ดังนั้น บางครั้งอาการที่เล็กน้อยเช่น น้ำมูกไหล เจ็บคอ หรือปวดศีรษะอาจะเป็นอาการของเชื้อสายพันธุ์เดลตาได้ แน่นอนว่า อาการมีไข้ ไอ และอาการของโควิด-19 อื่นๆ สามารถเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
- ใช้แอปพลิเคชีนเช็กอินด้วยระบบคิวอาร์โค้ด เมื่อคุณไปยังสถานที่ต่างๆ นี่จะช่วยให้ง่ายขึ้นที่เจ้าหน้าที่ติดตามหาตัวผู้พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อสามารถหาคุณพบ หากมีการระบาดเกิดขึ้น และทำให้มีความเป็นไปได้น้อยลงที่คุณจะแพร่เชื้อโควิด-19 ไปสู่ผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มของผู้คนจำนวนมากหากเป็นไปได้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพในพื้นที่ของคุณเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัย
- รักษาระยะห่างทางกายภาพกับผู้อื่น หากทำได้
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร หรือใช้ห้องน้ำ ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หากสามารถล้างมือได้ด้วยน้ำและสบู่
- ไปรับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อโควิด-19
Staff are seen preparing Pfizer vaccine doses inside the Melbourne Showgrounds COVID-19 Vaccination Centre on July 20, 2021 in Melbourne. Source: Daniel Pockett/Getty Images
ผลกระทบของโควิด-19 ต่อสุขภาพ
คนที่อายุน้อยและสุขภาพแข็งแรงสามารถป่วยหนักได้จากโควิด-19 หรือไม่
รศ.นพ.เสนานายาเค: สามารถเกิดขึ้นได้ คนที่อายุน้อยและสุขภาพแข็งแรงดีสามารถป่วยหนักได้ และแม้แต่ตายได้จากโควิด-19
การระบาดของโควิด-19 ในนิวเซาท์เวลส์ขณะนี้ มีการเปิดเผยว่า ผู้คนอายุน้อยจำนวนหนึ่ง (รวมทั้งวัยรุ่นผู้หนึ่ง) ต้องรับการรักษาตัวในห้องผู้ป่วยวิกฤต เนื่องจากพวกเขาป่วยหนักจากโควิด-19
ที่วิเคราะห์การเสียชีวิตของผู้คน 601,124 รายจากโควิด-19 พวกเขาพบว่า การเสียชีวิต 28,354 ราย (4.75) เกิดขึ้นในผู้คนอายุระหว่าง 18-49 ปี ดังนั้น ขณะที่อาจไม่พบบ่อยเท่าใดนัก แต่คนอายุน้อยสามารถตายได้จากโควิด-19
มีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่คนอายุน้อยที่มีสุขภาพแข็งแรงดีจะลงเอยที่โรงพยาบาลเพราะโควิด และเข้าห้องไอซียู
รศ.นพ.เสนานายาเค: คนในสหรัฐที่อายุระหว่าง 20-54 ปีมีจำนวนร้อยละ 38 ของผู้ที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19
จากข้อมูลของ ซีดีซี กรณีของผู้ป่วยหนัก ผู้ที่อายุ 20-44 ปีมีจำนวนร้อยละ 12 (1 ใน 8) ต้องรับการรักษาตัวในแผนกดูแลผู้ป่วยหนัก หรือห้องไอซียู เพราะโควิด
มีการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้หรือไม่สำหรับความเสี่ยงที่จะต้องลงเอยในโรงพยาบาลเพราะโควิดสำหรับคนในกลุ่มอายุต่างๆ
รศ.นพ.เสนานายาเค: ที่วิเคราะห์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและความเสี่ยงเสียชีวิต ที่เกี่ยวเนื่องกับคนอายุ 18-19 ปี
โควิด-19 สามารถสร้างความเสียหายในระยะยาวแก่ร่างกายคนเราได้หรือไม่
รศ.นพ.เสนานายาเค: แม้จะดูเหมือนว่าโควิด-19 อยู่กับเราเป็นเวลานานมากแล้ว แต่ความจริงแล้วมันอยู่กับเรามาได้เพียงหนึ่งปีครึ่ง ดังนั้นเราจึงยังคงเรียนรู้กับเกี่ยวผลกระทบระยะยาวของโควิด-19 อยู่
แต่มีปรากฎการณ์ที่เรียกกันว่า ลองโควิด (Long Covid) หรือโพสต์-แอคิวต์ โควิด-19 ซินโดรม (Post-acute COVID-19 Syndrome หรือกลุ่มอาการหลังเกิดโควิด-19 เฉียบพลัน)
นี่อาจเชื่อมโยงกับอาการหลากหลายทางจิตใจและร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดข้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใจสั่น มีวิตกกังวล/ซึมเศร้า ในบางคนอาการเหล่านี้นั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายเดือน หลังจากมีอาการของโควิด-19 แบบเฉียบพลันเกิดขึ้นไปแล้ว
ชี้ว่า คุณไม่จำเป็นต้องป่วยโดยมีอาการของโควิด-19 แบบเฉียบพลันจึงจะมีอาการของลองโควิด ลองโควิด (Long Covid)
แม้คนร้อยละ 19 ที่ไม่มีอาการเลยขณะติดเชื้อ (ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการป่วยใดๆ) และร้อยละ 27 ของผู้ที่มีอาการป่วยจากโควิด-19 แบบเฉียบพลันเพียงแค่ปานกลาง ก็สามารถเกิดอาการเรื้อรังในเวลาต่อมาได้
Health care workers wait in observation after receiving their COVID-19 vaccinations at the Westmead Hospital Vaccination Hub on March 1, 2021 in Sydney. Source: Dean Lewins - Pool/Getty Images
วัคซีน -อาการข้างเคียง
มีความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนแอสตราเซเนกา และอาการที่พบได้ยากของลิ่มเลือดอุดตัน thrombosis with thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) มันคืออะไรและมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะเกิดอาการข้างเคียงเหล่านี้
รศ.นพ.เสนานายาเค: ขณะนี้ จากกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งออสเตรเลีย (Australian Technical Advisory Group on Immunisation หรือ ATAGI) ความเสี่ยงนี้คือ
- 2.6 คนใน 100,000 คน ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 60 ปี, และ
- 1.7 คนใน 100,000 คน ในกลุ่มผู้อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี
- 1 คนใน 1,200,000 ที่เสียชีวิต (มีผู้เสียชีวิต 5 รายจากการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาโดสแรก 6.1 ล้านคน)
มีรายงานการพบได้ไม่บ่อยนักของอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์โดสที่สอง มีโอกาสมากน้อยเพียงไรที่จะเกิดอาการข้างเคียงเหล่านี้
รศ.นพ.เสนานายาเค: มีการสงสัยกันว่าวัคซีนไฟเซอร์อาจเชื่อมโยงกับอาการข้างเคียงเหล่านี้
มันดูเหมือนว่าจะพบได้ยาก โดยมี จากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์อย่างน้อยหนึ่งโดสให้ประชาชนกว่า 177 ล้านคน อาการนี้นั้นมักเกิดในวัยรุ่นเพศชายและคนวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเพศชาย ที่อายุ 16 ปีและมากกว่า กรณีเหล่านี้มักเกิดขึ้นชั่วคราวและอาการดีขึ้นได้ด้วยการพักผ่อน บางคนอาจจำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องจำไว้ว่า โควิด-19 มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ได้มากกว่าการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
ประโยชน์ของวัคซีนแอสตราเซเนกาและไฟเซอร์มีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงที่จะป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโควิด-19 หรือไม่ มีสถิติใดเกี่ยวกับประเด็นนี้
รศ.นพ.เสนานายาเค: ATAGI เป็นคณะผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนที่ให้คำแนะนำแก่รัฐบาล พวกเขากล่าวว่า สำหรับชาวออสเตรเลียที่อายุ 60 ปีหรือมากกว่าทุกคน ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของแอสตราเซเนกามีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงอย่างมาก ATAGI ได้วิเคราะห์สามสถานการณ์ ที่มีความแตกต่างกันของอัตราการเกิดโควิด-19 ในชุมชน
พวกเขาสรุปว่าประโยชน์ของการได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการป่วยหนักจากโควิด-19 นั้นมีมากกว่าความเสี่ยงใดๆ สำหรับคนวัยผู้ใหญ่ทุกคน (ไม่เพียงแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น) ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อในระดับกลางและระดับสูง
หรือกล่าวได้ว่า ในระหว่างการระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งการเข้าถึงวัคซีนไฟเซอร์มีจำกัด ATAGI ย้ำว่า คนวัยผู้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 60 ปีจำเป็นต้องประเมินประโยชน์ของการได้รับวัคซีนต้านโควิดของแอสตราเซเนกา กับความเสี่ยงที่พบได้น้อยมากของผลข้างเคียงที่รุนแรงจากวัคซีน นั่นหมายความว่า ให้ปรึกษากับแพทย์ของคุณ
อะไรคืออาการข้างเคียงแบบปกติธรรมดาและเกิดขึ้นชั่วคราวจากวัคซีนสองตัวนี้
รศ.นพ.เสนานายาเค: อย่างที่ระบุใน อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดที่มีรายงานเข้ามาจากวัคซีนเหล่านี้นั้นไม่รุนแรงและเป็นไปตามที่คาดไว้ อาการเหล่านั้นได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น และมีปฏิกิริยาในบริเวณที่ฉีดวัคซีน
วัคซีนทั้งสองตัวนี้ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์หรือไม่
รศ.นพ.เสนานายาเค: ขณะนี้ในออสเตรเลีย จากคำแนะนำของทีจีเอ วัคซีนไฟเซอร์ได้รับการแนะนำให้ฉีดได้สำหรับสตรีมีครรภ์ ขณะตั้งครรภ์นั้น มีความเสี่ยงสูงกว่าจะที่ป่วยหนักจากโควิด-19 และมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะคลอดก่อนกำหนด
Emergency services and health workers receive their COVID-19 vaccine at the Olympic Park Vaccination Centre on May 10, 2021 in Sydney. Source: Nick Moir - Pool/Getty Images
วัคซีน -ประสิทธิภาพ
ประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตราเซเนกาและไฟเซอร์คิดเป็นอัตราส่วนเท่าไรต่อการติดเชื้อแบบแสดงอาการของเชื้อสายพันธุ์เดลตา หลังฉีดวัคซีนโดสแรกและโดสที่สอง
รศ.นพ.เสนานายาเค: ข้อมูลจากสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนครบสองโดสสำหรับวัคซีนแอสตราเซเนกา มีประสิทธิภาพร้อยละ 74.5 ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการ ส่วนการรับวัคซีนไฟเซอร์ครบสองโดสมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อโควิดร้อยละ 88
ที่สำคัญคือ ฉีดวัคซีนไฟโดสเดียวไม่ว่าจะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกาหรือวัคซีนไฟเซอร์ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้เพียงร้อยละ 30.7 หรือพูดอีกอย่างคือ สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนสองโดสไม่ว่าจะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกาหรือวัคซีนไฟเซอร์ แค่โดสเดียวนั้นยังไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร
วัคซีนแอสตราเซเนกาและไฟเซอร์มีประสิทธิภาพเพียงใดในการป้องกันการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา
รศ.นพ.เสนานายาเค: ข้อมูลของสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนครบสองโดสไม่ว่าจะเป็นแอสตราเซเนกาหรือไฟเซอร์จะสามารถช่วยปกป้องได้มากกว่าร้อยละ 90 จากการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลจากโควิด-19 นี่เป็นสถิติที่สำคัญอย่างมาก และช่วยแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการมีภูมิคุ้นกันอย่างเต็มที่จากวัคซีนแอสตราเซเนกา หรือจากวัคซีนไฟเซอร์
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้
หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่