ประเด็นสำคัญ
- นายกฯของไทย ได้ขอให้นำมาตรฐานประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ ไปใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- อัลบานีซีปฏิเสธสิ่งที่ทางการไทยได้เผยแพร่ออกไป โดยระบุว่า ไม่มีการร้องขอเรื่องการชะลอกำหนดมาตรฐาน
- มาตรฐานประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 369 ล้านตัน
ในห้วงการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ที่เมลเบิร์น ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม ซึ่งปิดฉากลงไปแล้ว
รัฐบาลไทย นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าพบหารือทวิภาคีกับนายแอนโทนี แอลบานีซี ต่อมาเว็บไซต์ได้มีการเผยแพร่ขอหารือ โดยหนึ่งในนั้นคือ ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยระบุว่าไทยคำนึงถึงร่างกฎหมายกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ (New Vehicle Efficiency Standard: NVES) ของรัฐบาลออสเตรเลีย
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม Leaders Plenary Photograph by Penny Stephens/ASEAN Credit: Penny Stephens Credit: Penny Stephens
ซึ่งปัจจุบันไทยส่งออกรถยนต์ไปยังออสเตรเลียมากกว่า 200,000 คันต่อปี และมีรถกระบะเป็นสินค้าส่งออกหลัก
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ไทยหารือทวิภาคีกับนายกฯ ออสเตรเลียในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย
ต่อมานายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นายแอนโทนี แอลบานีซี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เมื่อวันพุธที่6 หลังการปิดฉากการประชุม ซึ่งมีสื่อหลายสำนักอาทิ ได้เผยแพร่ข่าวโดยระบุว่า นายกฯออสเตรเลียออกมาปฏิเสธสิ่งที่ทางการไทยได้เผยแพร่ออกไป โดยระบุว่า ไม่มีการร้องขอเรื่องการชะลอกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ (New Vehicle Efficiency Standard: NVES) แต่อย่างใด
นายกรัฐมนตรี แอนโทนี อัลบานีซี ผู้นำออสเตรเลีย Source: Supplied / Penny Stephens/ ASEAN-Australia Special Summit
มาตรฐานนี้ถูกประกาศออกมาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ซึ่งคาดว่าจะมอบทางเลือกมากขึ้นให้กับผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ โดยการสนับสนุนให้บริษัทรถยนต์นำตัวเลือกการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ที่มีราคาไม่แพงมากขึ้นออกสู่ตลาด
กฎของออสเตรเลียมีความคล้ายคลึงกับมาตรฐานการปล่อยก๊าซของสหรัฐอเมริกา โดยจะบังคับให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามงบประมาณประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง และสร้างสมดุลระหว่างการขายรถยนต์ที่สันดาปกับรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษต่ำหรือเป็นศูนย์
“มาตรฐานนี้เพิ่มทางเลือก” รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม แคทเธอรีน คิง กล่าว
รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม แคทเธอรีน คิง กล่าวว่ามาตรฐานประสิทธิภาพยานพาหนะใหม่จะเพิ่มทางเลือกรถยนต์ของผู้ซื้อชาวออสเตรเลีย Source: AAP / Lukas Coch
รถยนต์ใหม่ในสหรัฐอเมริกาใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่ารถยนต์ในออสเตรเลียโดยเฉลี่ยถึง 20 เปอร์เซ็นต์
โมเดลที่รัฐบาลเสนอมานี้จะช่วยประหยัดเงินผู้ขับขี่ได้ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ฯ ต่อคันต่อปี และ 17,000 ดอลลาร์ฯตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์ โดยการนำออสเตรเลียไปสู่มาตรฐานของสหรัฐฯ ภายในปี 2028
นอกจากนี้ยังจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 369 ล้านตัน และมอบประโยชน์ด้านสุขภาพจากการปรับปรุงคุณภาพอากาศมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2050
ภาคการขนส่งคิดเป็นร้อยละ 21 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของออสเตรเลีย และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคไฟฟ้าเริ่มมีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโมเดลและทางเลือกอื่นๆ จะใช้เวลาหนึ่งเดือนโดยมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจำเป็นต้องมีกฎหมายมากำหนด โดยมีแนวโน้มว่าจะมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2025
ข้อเสนอของรัฐบาลกลางจะช่วยผู้ขับขี่ประหยัดเงินได้ประมาณ 17,000 เหรียญตลอดอายุการใช้งานของยานพาหนะ โดยการนำออสเตรเลียไปสู่มาตรฐานของสหรัฐอเมริกาภายในปี 2028 Source: Getty / Getty Images
สภารถยนต์ไฟฟ้ากล่าวว่าแผนดังกล่าวหมายความว่าในที่สุดออสเตรเลีย "จะเข้าร่วมกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่เหลือในมาตรฐานประสิทธิภาพของยานพาหนะใหม่"
“ออสเตรเลียมักจะอยู่แลวหลังเสมอเมื่อพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีที่สุดและถูกที่สุด เพราะผู้ผลิตรถยนต์ได้รับแรงจูงใจให้เสนอรถยนต์ไฟฟ้าไปที่อื่นก่อน” ผู้บริหารระดับสูง Behyad Jafari กล่าว
“นั่นควรจะยุติลงทันทีด้วยนโยบายนี้ และผู้ซื้อรถยนต์ชาวออสเตรเลียควรสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
NRMA (องค์กรด้านดารดูแลบนท้องถนน) สนับสนุนให้ปฏิบัติตามแนวทางที่สหรัฐฯยึดถือ โดยกล่าวว่าออสเตรเลียไม่สามารถดำเนินตามแนวทางของการกำหนดเป้าหมายโดยสมัครใจต่อไปได้
“แนวทางการดำเนินธุรกิจตามปกติหมายความว่าครอบครัวและธุรกิจชาวออสเตรเลียไม่ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่ออกแบบมาเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง” โรฮาน ลุนด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ NRMA Group กล่าว
มาตรฐานการปล่อยมลพิษเกิดขึ้นหลังจากการห้ามยานพาหนะที่มีมลพิษสูงตั้งแต่เดือนธันวาคม 2025
ผู้ผลิตรถยนต์จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการปล่อยมลพิษ Euro 6d ที่ช่วยลดมลพิษ ซึ่งตลาดรถยนต์หลักๆ ส่วนใหญ่ รวมถึงยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย นำมาใช้