ศรัทธาที่เลือนหาย: ทำไมเยาวชนออสเตรเลียจึงปฏิเสธศาสนา

Losing Our Religion: ผู้คนอายุน้อยจำนวนมากเป็นประวัติการณ์หันหลังให้กับศาสนา เอสบีเอสนิวส์ติดตามว่าเพราะเหตุใด

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ห้าตอนเกี่ยวกับศาสนาตลอดทั้งสัปดาห์นี้ทางเอสบีเอสนิวส์

คุณซาบีนา โมซาฟฟาร์ เติบโตในประเทศปากีสถานและถูกเลี้ยงดูให้เป็นชาวมุสลิมที่เคร่งครัด

ตลอดมา เธอมีข้อสงสัยเกี่ยวกับศาสนาของเธอ แต่ก็ไม่รู้สึกสะดวกใจพอที่จะแบ่งปันในเรื่องนี้จนกระทั่งเธอย้ายมาเข้ามหาวิทยาลัยในนครซิดนีย์

ตอนนี้ เธอจัดเป็นบุคคล อเทวนิยม หรือ ผู้ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า

“แค่ถามว่า: ‘หากพระเจ้าเป็นผู้รับผิดชอยต่อสิ่งที่เป็นบวกทั้งหลายในโลกนี้ ทำไมเขาจึงไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่เป็นลบทั้งหลายด้วย?’ พ่อแม่ของฉันก็จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรง เพราะว่าพวกเขากลัวว่าฉันจะออกจากศาสนาไป” คุณโมซาฟฟาร์ซึ่งมีอายุ 23 ปี กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“เมื่อสุดท้ายแล้วฉันตระหนักว่า ใช่ ฉันเป็นคนอเทวนิยม หรือคนที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า ฉันรู้สึกโล่งอก ฉันก็รู้สึกโกรธด้วย เพราะว่าฉันเสียเวลา 21 ปีของชีวิตฉันเชื่อในหลักความคิดที่ตอนนี้ฉันตระหนักแล้วว่าไม่เป็นความจริง และฉันก็ไม่เคยมีส่วนออกความเห็นว่าฉันจะเชื่อเกี่ยวกับอะไร” เธอกล่าว

คุณโมซาฟฟาร์ไม่ใช่คนเดียว ข้อมูลสำมะโนประชากร (Census data) เผยให้เห็นว่า มีชาวออสเตรเลียอายุน้อย จำนวนมากเป็นประวัติการณ์หันหลังให้กับศาสนาของพวกเขา

ในปี ค.ศ. 2001, 19 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนอายุต่ำกว่า 24 ปี ระบุว่าไม่มีศาสนา ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016
คุณซาบีนา โมซาฟฟาร์ เติบโตในประเทศปากีสถานในครวบครัวมุสลิมที่เคร่งครัด
คุณซาบีนา โมซาฟฟาร์ เติบโตในประเทศปากีสถานในครวบครัวมุสลิมที่เคร่งครัด (Source: supplied) Source: Source: supplied
นักศึกษามหาวิทยาลัย คุณลิซ่า ชิว เติบโตขึ้นมาในครอบครัวคริสต์ ขณะนี้เธอเป็นนักกิจกรรมด้านอเทวนิยมและเป็นประธานของกลุ่มผู้ไม่มีศาสนา, อเทวนิยม และมานุษยนิยม แห่งมหาวิทยลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW Agnostics, Atheists and Humanists)

“ดิฉันเริ่มต้นจากการใช้วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นในการตอบคำถามต่างๆ ไม่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องชี้นำในการทำความดี แต่ใช้สัญชาตญาณของตัวเอง ดิฉันมีจิตใจที่ค่อนข้างจะเป็นอิสระมากกว่า” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“ศาสนาไม่ใช่ส่วนหนึ่งของตัวตนของฉัน เพราะฉันคิดว่าพ่อแม่ของฉันและปู่ย่าตายายได้ตั้งมั่นว่าศาสนาจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ฉันเป็นคนที่ดีขึ้น”

เธอกว่าวว่าอินเทอร์เน็ต มีอิทธิพลที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของเธอที่จะไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า
คุณลิซ่า ชิว เป็นนักกิจกรรมอเทวนิยม (ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า) ที่มหาวิทยาลัยของเธอ
คุณลิซ่า ชิว เป็นนักกิจกรรมอเทวนิยม (ผู้ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า) ที่มหาวิทยาลัยของเธอ (Source: supplied) Source: Source: supplied

ศรัทธาที่เลือนหาย

คุณแคโคล คูแซ็ค ศาสตราจารย์ด้านศาสนศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่าว ศาสนานั้นไม่ได้เป็นแรงดึงดูดอย่างที่เคยเป็น

“คนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน สร้างตัวตนของพวกเขาเป็นปัจเจกบุคคล มากกว่าที่จะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนต่างๆ และพวกเขาก็สนใจที่จะแสดงออกถึงความเป็นปัจเจกบุคคลของพวกเขา มากกว่าที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันต่างๆ ซึ่งได้สร้างกฎที่ไม่ยืดหยุ่นหรือสร้างแบบแผนสำหรับพฤติกรรมไว้” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“วัฒนธรรมทางโลก ได้ค่อยๆ กัดกร่อนวัฒนธรรมศาสนาและผู้คนก็สามารถดำเนินชีวิตของพวกเขาไปได้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมกับหน้าที่ทางศาสนาใดๆ เลย”
SBS
(SBS) Source: SBS

การปรับตัวเข้ากับยุคสมัยใหม่

การตื่นตัวของฆราวาสนิยม (การเป็นอิสระจากศาสนา) ได้กระตุ้นให้ผู้นำของศาสนาต่างๆ เปลี่ยนแปลงวิธีที่พวกเขาพูดคุยกับคนอายุน้อยเกี่ยวกับศาสนา

คุณอเดล ซาลมาน จากสภาอิสลามแห่งรัฐวิกตอเรียกล่าวว่า การเข้าถึงทุกพื้นที่ของอินเทอร์เน็ตนั้น ทำให้มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิมที่ผู้นำศาสนาต่างๆ นั้นจะมีส่วนร่วมกับผู้มีอายุน้อย

“ที่เรากำลังพบเจอนั้นคือ อิหม่ามและชีคหลายๆ ท่านนั้น ไม่พร้อมในการที่จะรับมือกับปรากฏการณ์นี้ แต่ข่าวดีก็คือ พวกเขากำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อมีส่วนร่วมอย่างทันสมัยมากขึ้น และให้ข้อมูลซึ่งเยาวชนนอกจากจะเข้าใจแล้วยังยอมรับว่าน่าเชื่อถือ” เขากล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“เรากำลังเปลี่ยนไปจากเพียงแค่มุ่งเน้นในหลักพื้นฐานต่างๆ ของศาสนา และเสาหลักของอิสลาม และอะไรถูกอะไรผิด ไปเป็นการสนทนาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ และพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาจริงๆ ที่ผู้คนประสบ"

“เยาวชนมุสลิมในออสเตรเลียกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของพวกเขาในฐานะชาวมุสลิมคนหนึ่ง และความยากลำบากต่างๆ สำหรับพวกเขานั้นน่าจะเป็นสิ่งที่พิเศษเฉพาะพวกเขา ถ้าจะว่าอย่างนั้น”

อัครมุขนายกแองกลิคันแห่งซิดนีย์ (Sydney Anglican Archichop) เกล็นน์ เดวีส์ กล่าวว่า ลัทธิแองกลิคันนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนคำสอนของพระเจ้า เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจต่อเยาวชนรุ่นหลัง

“วัยรุ่นนั้นมักจะตื่นสายในวันอาทิตย์ นั่นก็เป็นจากประสบการณ์ของผมนะ ฉะนั้นโบสถ์ของเราเกือบทั้งหมดจะมีช่วงพิธีทางศาสนาในตอนเย็นหรือตอนบ่ายด้วย เพื่อให้พวกเขาได้มารวมตัวกัน” เขากล่าว

“เรายังคงมีโปรแกรมเข้าค่ายโดยผ่านทางโรงเรียนของรัฐบาลและโรงเรียนแองกลิคันของเราเองด้วย”

Share
Published 17 May 2018 2:27pm
Updated 19 May 2018 1:44am
By Lydia Feng
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News

Share this with family and friends