แฮร์รี เออร์วีน นั้นกระฉับกระเฉงและมีสุขภาพดี เขาชอบวิ่งไตรกีฬาและช่วยคุณแบรนดอน บิดาของเขาในการทำงาน
แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไป แฮร์รีนั้น เกิดมาพร้อมกับซาโครคอคซิเจียลเทอราโตมา (Sacrococcygeal teratoma) อันเป็นก้อนเนื้องอกที่พบได้บ่อยในทารกแรกคลอด ซึ่งขัดขวางพัฒนาการของไตทั้งสองข้างของเขา
หลังจากผ่านการตรวจพิสูจน์เป็นจำนวนหลายครั้ง ก็พบว่าถึงแม้บิดาของเขานั้นจะไม่ใช้ผู้บริจาคที่เหมาะสมที่สุดก็ตาม เขาก็สามารถที่จะเป็นผู้บริจาคให้กับแฮร์รีได้
”มันยากนะ ไม่ต้องสงสัยเลยในเรื่องนั้น แต่ว่าความรู้สึกที่ตามมาภายหลังนั้นอธิบายไม่ถูก” คุณเออร์วีนกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์
“มันเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่คุณสามารถจะให้ได้ นั่นคือการให้ชีวิต”จากตัวเลขล่าสุดของระเบียนการบริจาคอวัยวะแห่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ มีชาวออสเตรเลียกว่า 500 คนที่บริจาคอวัยวะในปี ค.ศ. 2018 – และโดยเฉลี่ยแล้ว การบริจาคครั้งหนึ่งนั้นจะช่วยได้สามชีวิต
Harry Irvine received a kidney from his father. Source: SBS News
ดร. อแมนดา มาเทอร์ เป็นแพทย์โรคไตที่โรงพยาบาลรอยัลนอร์ทชอร์ และเธอก็เชื่อว่า การขาดความตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังคงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับอวัยวะ
เธอกล่าวว่า “ดิฉันไม่คิดว่าผู้คนทราบว่ามันจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้มากขนาดไหนกับชีวิตของคนหลายๆ คน”
รายชื่อผู้รอคอยสำหรับบางอวัยวะนั้นอาจกินเวลาหลายปี – ไตข้างใหม่เป็นอวัยวะซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดสำหรับผู้รับบริจาค ตามมาด้วยปอด ตับ หัวใจ และตับอ่อนผู้บริหารสูงสุดของโดเนทไลฟ์ (Donate Life) องค์กรสูงสุดเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ คุณลูซินดา แบร์รี กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและทักษะการทำผ่าตัดนั้นส่งผลให้มีอวัยวะต่างๆ เป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่จะไม่ถูกใช้งาน โดยมีเหตุผลทางการแพทย์
Muaj neeg Australia coob heev tseem tos thiab xav tau tej khoom nrog cev li raum, ntsws, siab, plawv thiab po coj mus hloov rau lawv Source: SBS News
แต่เธอก็เชื่อว่ายังมีช่องทางที่จะสามารถพัฒนาในเรื่องนี้ต่อไปได้ ประเทศออสเตรเลียนั้นยังเป็นผู้ตาม สำหรับการจัดอันดับการบริจาคอวัยวะทั่วโลก โดยอยู่ที่อันดับที่ 17 ของโลก
“เราทราบว่าชาวออสเตรเลีย 70 เปอร์เซ็นต์นั้นกล่าวว่าพวกเขายินดีที่จะเป็นผู้บริจาค แต่กลับมีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ที่ลงทะเบียนตนเองอยู่บนระเบียนเอาไว้” เธอกล่าว
ดร. นีรา ภาเดีย จากมหาวิทยาลัยดีกินกล่าวว่า การเพิ่มจำนวนของผู้บริจาคที่ขึ้นทะเบียนไว้นั้นเป็นสิ่งที่จะต้องอาศัยหนทางซึ่งทั่วถึงในทุกวัฒนธรรม
อาจารย์ด้านกฎหมายท่านดังกล่าวได้พุ่งเป้างานวิจัยของเธอไปยังการตัดสินใจเมื่อกำลังจบชีวิตลง รวมไปถึงการบริจาคอวัยวะและข้อขัดแย้งต่างๆ ด้านจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้น
“วิถีปฏิบัติ ความเชื่อ และค่านิยมของวัฒนธรรมต่างๆ นั้นจำเป็นจะต้องได้รับความเคารพ แต่เราก็จำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันกับผู้สูงอายุในบางชุมชน และคนรุ่นหลังด้วยเช่นเดียวกัน” เธอกล่าว
“เราจำเป็นจะต้องถามตัวเอง ว่าเราจะกำจัดความเชื่อผิดๆ หรือความหวาดกลัวได้อย่างไร เพื่อให้ชุมชนต่างๆ เหล่านั้นก็อาจทำได้เช่นเดียวกัน รวมถึงชุมชนของชาวพื้นเมืองด้วย และนั่นก็จะเป็นปัญหาระดับรุ่นสู่รุ่น”ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
(Supplied) Source: Supplied
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
กาชาดออสฯ ต้องการเลือดหลังเกิดพายุฝนและไฟป่า